องค์กร และ หน่วยธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่รายย่อยทุนน้อยไปจนถึงธุรกิจข้ามชาติ ที่ล้วนหลีกหนีการแข่งขันได้ยากนั้น การประคับประคองเป้าหมาย และ รักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเอาไว้ให้ดีที่สุด มักจะนำไปสู่การวางแผน และ การกำหนดกลยุทธ์ของธุรกิจเพื่อให้ได้เปรียบสูงสุดเหนือการแข่งขัน โดยมีกลยุทธ์ที่ประกันความสำเร็จให้ได้อย่างแท้จริงเพียงไม่กี่แนวทางให้เลือก… โดยหนึ่งในนั้นก็คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ การออกแบบบริการเสียใหม่… ซึ่งเนื้อในของผลิตภัณฑ์ และ บริการใหม่ๆ มักจะต้องพึ่งพา “สิ่งใหม่” ระดับนวัตกรรม หรือ Innovation เป็นหลัก…
ปัญหาก็คือ… นวัตกรรมในระดับที่สามารถสร้างความได้เปรียบเหนือการแข่งขันได้จริง มักจะหาเจอได้ไม่ง่าย เว้นแต่จะใช้ทางลัดเพื่อให้มี และ เข้าถึงนวัตกรรมผ่านความร่วมมือภายใต้ Concept หรือ แนวคิดที่เรียกว่า Open Innovation…
ประเด็นเป็นแบบนี้คือ… องค์กร และ หน่วยธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ได้มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมจากข้อจำกัดเรื่องเงินทุน และ องค์ความรู้ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ที่มีพรสวรรค์ด้านนวัตกรรม… ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการ “สร้างความร่วมมือ” เพื่อนำโอกาส ทุน และ องค์ความรู้ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมารวมกัน… ทั้งเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้… การกระจายความเสี่ยง… การร่วมมือสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือ แม้แต่การซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกัน
ความน่าสนใจของแนวคิด Open Innovation อยู่ที่การเป็นแนวคิดง่ายๆ ที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายที่มีองค์ความรู้ และหรือ มีนวัตกรรม สามารถร่วมมือกับฝ่ายที่มีเงินลงทุน และหรือ เครือข่ายสร้างโอกาส… ในแบบที่สามารถรวมตัวกันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทันที… ซึ่งในเบื้องต้นจะเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อเร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรมภายในองค์กร และหรือ ขยายตลาดให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นออกสู่ตลาดโดยเร็ว
การร่วมมือกันพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด หรือ Open Innovation จึงเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกันขององค์กรต่างๆ ที่ตกลงจะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เพื่อพัฒนานวัตกรรมผ่านการสร้างสรรค์… รวบรวม และ ใช้องค์ความรู้ร่วมกัน ทั้งที่เป็นนวัตกรรมจากภายในองค์กร หรือ Internal Innovation & Technology และ นวัตกรรมจากภายนอก หรือ External Innovation & Technology
อย่างไรก็ตาม… การสร้างนวัตกรรมผ่าน Open Innovation ยังมีรายละเอียดทางเทคนิคที่เป็นจุดด้อยมากมายที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ… ไม่ว่าจะเป็น “Inbound Open Innovation หรือ การสร้างนวัตกรรมเปิดขาเข้า” ซึ่งปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกที่เป็นแหล่งความรู้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี… เทคนิค และหรือ ขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรมขององค์กร… หรือจะเป็น “Outbound Open Innovation หรือ การสร้างนวัตกรรมเปิดขาออก” ซึ่งปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกเพื่อผลักดันการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และหรือ องค์ความรู้ที่องค์กรมีอยู่ โดยเฉพาะเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
ในทางปฏิบัติ… Open Innovation หรือ OI เป็นกรอบความร่วมมือแบบคู่ค้า หรือ พันธมิตรทางธุรกิจที่เชื่อมโยงกันด้วย “ผลประโยชน์ร่วมจากนวัตกรรม” ทั้งในมิติของมูลค่า… ต้นทุน และ การแบ่งปันทรัพยากร โดยทั้งหมดจะถูกพิจารณาร่วมมือผ่าน RBV หรือ Resource Based View และ พิจารณาร่วมมือผ่าน KBV หรือ Knowledge Based View… โดยมีคำทำนายของ Prof. Dr.Henry W. Chesbrough จาก Haas School of Business ใน University of California, Berkeley และ เจ้าของแนวคิด Open Innovation Model ที่บอกว่า… รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด จะทำองค์กรธุรกิจสามารถทำการค้าด้วยแนวคิดของตนร่วมกับนวัตกรรมจากองค์กรธุรกิจอื่นจากภายนอก และ ยังแสวงหาวิธีที่จะนำแนวคิดของตน ออกสู่ตลาดภายนอกโดยปรับใช้เส้นทางนอกธุรกิจปัจจุบันด้วย
สุดท้าย… การขับเคลื่อนกลยุทธ์ผ่าน Open Innovation หรือ OI มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตาม RBV หรือ Resource Based View และ KBV หรือ Knowledge Based View ของแต่ละคู่ หรือ กลุ่มการพัฒนานวัตกรรม… โดยมีทฤษฎีฐานในการจัดการที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมากกว่าสิบหลักการ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีศูนย์กลางในการทำ Open Innovation โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA … ซึ่งท่านที่สนใจสามารถติดต่อ NIA เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา… แต่ถ้าท่านต้องการคำปรึกษาเป็นรายกรณี สามารถทักผมทาง Lin ID: dr.thum ก็ได้ครับ!
References…