การพัฒนาเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์เชิงลึก หรือ Deep Science หรือ Deep Knowledge ซึ่งถ้าสามารถพัฒนา “นวัตกรรม” บนฐานของ Deep Knowledge ให้ใช้ “แก้ปัญหา” ที่ไม่เคยแก้ได้มาก่อน ก็จะถูกเรียกว่า DeepTech หรือ Deep Technology
ประเด็นก็คือ… DeepTech ส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมที่สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ Competitive Advantage โดยปริยาย และ สามารถขอรับสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้จากนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนั้น… บางท่านที่สนใจนวัตกรรมขั้นสูง หรือ Advanced Innovation ซึ่งได้จากวิทยาศาสตร์เชิงลึก จึงทักถามถึงแนวทางการสร้างนวัตกรรมบน DeepTech…
ก่อนอื่นต้องขอสารภาพก่อนว่า… ผมไม่เคยสร้างนวัตกรรมจาก Deep Knowledge มาก่อน… แต่เอกสาร และ งานวิจัยเท่าที่ผมมีอยู่ในมือจนถึงปี 2022 ชี้ตรงไปที่ Innovation Canvas… ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักประดิษฐ์ และ นวัตกรยุคดิจิทัลแทบจะไม่เหลือช่องว่างในการพัฒนานวัตกรรมด้วยฟิสิกส์และกลศาสตร์พื้นฐานอีกแล้ว… DeepTech Innovation จึงเป็นทางบังคับผ่านของคนที่จะได้ชื่อว่าเป็นนักประดิษฐ์ และ นวัตกรนับจากนี้ไป… ถึงแม้จะต้องประยุกต์องค์ความรู้ทั้งหมดบนความซับซ้อนยุ่งเหยิง และหรือ ใหม่หมดจนหาผู้เชี่ยวชาญ หรือ หาสถานที่ดูงานเป็นตัวอย่างไม่ได้เลยก็ตาม…
Innovation Canvas เป็นแผ่นภาพรวบรวมแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเอาไว้บนภาพๆ เดียวผ่านแนวคิดการนำเสนอแบบ Visual Presentation แบบเดียวกับ BMC หรือ Business Model Canvas สำหรับสื่อสารโมเดลธุรกิจ และ Empathy Canvas สำหรับทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อใช้พัฒนาแผนการตลาด
ความจริง… Innovation Canvas มีอยู่หลายรูปแบบที่ถูกคิดขึ้นทั่วโลก แต่บทความนี้ขออ้างอิง Open Innovation Canvas ซึ่งจะถือว่าเป็นความชอบส่วนตัวก็ไม่ผิด แต่ก็มี Ideator ที่ผมรู้จักสองสามท่านงัด Open Innovation Canvas มาช่วยคลี่ไอเดียออกดูจนเห็นส่วนประกอบต่างๆ ทั้งที่มีอยู่ และ ขาดหายไปด้วยแผนภาพเพียงชิ้นเดียว ซึ่ง Open Innovation Canvas จะเชื่อมโยงไอเดียการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อสร้างบางอย่างขึ้นใหม่… โดยเทคนิคการเขียน และ อ่าน Open Innovation Canvas จะเริ่มจากด้านนอกเข้าด้านใน และ เริ่มต้นด้วย “กลยุทธ์ หรือ Strategy” ในโครงสร้างด้านซ้ายซึ่งเป็นข้อมูลภายใน กับ “การตลาด หรือ Market” ในโครงสร้างด้านขวาซึ่งเป็นข้อมูลปัจจัยภายนอก… โดยมีตัวแปรที่จะเชื่อมโยงทั้งกลยุทธ์ และ การตลาดเข้าหากลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้ และหรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ People… ซึ่งทุกช่องบน Open Innovation Canvas จะถูกเติมข้อมูลลงไปจนสมบูรณ์ที่สุด โดย…
- Strategy And Strengths… ระบุกลยุทธ์ จุดแข็ง และ เป้าหมายของโครงการ
- Market… ระบุตลาดที่ผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมจะเข้าไปแข่งขัน
- Trends… ระบุแนวโน้ม และ กระแสที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การตลาด ฯลฯ ที่จะหนุนส่งกลยุทธ์และการบรรลุเป้าหมายให้ราบรื่นขึ้น
- Product… ระบุจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าคู่เปรียบเทียบ และ คู่แข่ง
- Network… ระบุพันธมิตร ทั้งในระหว่างจัดการด้านกลยุทธ์ และ เป้าหมายทางการตลาด
- Technology And Intellectual Property… ระบุถึงเทคโนโลยี และ ทรัพย์สินทางปัญญาที่จะใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ ขับเคลื่อนการตลาด
- Process… ระบุถึงกระบวนการทางนวัตกรรม และ เทคนิคการทำให้นวัตกรรมกลายเป็นจุดแข็งเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือการแข่งขัน
- Culture… ระบุถึงค่านิยม และ หลักคิดฐานของทีม
- People… ระบุถึงทุกคนที่เกี่ยวข้อง และ มีส่วนได้ส่วนเสีย
ส่วนการเขียนก็จะเหมือนการเขียน Visual Presentation แบบ Canvas อื่นๆ โดยการเขียนลง Post-It Note เป็นเรื่องๆ และ แปะขึ้นกระดานที่แบ่งช่องไว้ตามโครงสร้างของ Open Innovation Canvas หรือ จะลองใช้ Web-Based Tool ในการเขียนอย่าง Canvanizer ก็ได้…
ชอบก็ลองเล่นดู… ไม่มีผิดถูกหรอกครับ!
References…