Oppression Olympics… คนอวดลำบาก #SelfInsight

ความต้องการการยอมรับจากคนอื่น เพื่อเติมเต็มความมั่นคงทางจิตใจของสัญชาตญาณสัตว์สังคม ได้ทำให้ของมนุษย์เกือบทุกคนบนโลก ค้นหาวิธีแสดงออกเพื่อให้ได้การยอมรับจากคนอื่น หรือ ไปไกลถึงขั้นเพื่อให้ได้ความรักจากคนอื่น… โดยส่วนใหญ่มนุษย์มักจะแสดงพฤติกรรม “อวด” ในแบบของตนเพื่อเรียกร้องความสนใจ และ โน้มน้าวการยอมรับออกมา ซึ่งพฤติกรรมอวดที่แสดงออกมักจะเป็น “การเปรียบเทียบ” ให้คนอื่นเห็นความต่าง หรือ ความพิเศษของเรื่องที่ใช้อวด… ซึ่งมีแง่มุมที่น่าสนใจก็คือ คนบางกลุ่มจะอวดด้วยเรื่องในด้านดี หรือ เรื่องที่ตัวเองโดดเด่น ดูดี ดูพิเศษเพื่อรอรับการยอมรับ ในขณะที่คนบางกลุ่มกลับเลือกที่จะอวดเรื่องแย่ๆ หรือ เรื่องที่ตัวเองต้องเผชิญหน้าด้วยความยากลำบาก เหน็ดเหนื่อย และ ถูกกระทำ

ประเด็นก็คือ การอวดด้วยเรื่องดีๆ น่าอิจจฉา และ การอวดด้วยเรื่องแย่ๆ น่าหดหู่เจ็บช้ำ… ต่างก็หวังผลการยอมรับจากคนอื่น และหรือ การยอมรับจากคู่สนทนาในขณะนั้นเหมือนกันหมด ซึ่งหลายวงสนทนาจะเห็น “การคุยข่ม” เพื่ออวดความเหนือกว่าทั้งเพื่อสร้างบรรยากาศเฮฮาในวงสนทนา หรือ หนักหน่อยก็จะเป็นการคุยข่มคนอื่น เพื่อให้ตนรู้สึกเหนือกว่าแบบกล่อมตัวเองให้เชื่อ… ซึ่งไม่ว่าจะแบบไหนก็มักจะทำไปเพื่อให้ตนถูกเติมเต็มเป็นส่วนใหญ่… โดยเฉพาะการคุยข่มแบบที่เรียกว่า “อวดลำบาก หรือ Oppression Olympics”

คำว่า Oppression Olympics เป็นแสลงที่ปรากฏขึ้นครั้งแรกในเวทีสัมนาเกี่ยวกับ “สิทธิสตรีชิคานา หรือ Chicana Feminist” ที่ว่าด้วยประเด็นสิทธิสตรีเชื้อสายแม็กซิกันในอเมริกา แต่การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในยุค 60-70 กลับพัฒนาไปเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวเชิงสังคมที่อิงเชื้อชาติ สีผิว และ ศาสนาอย่างน่าสนใจ จนกลายเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมขนาดใหญ่ในรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา… ส่วนคำว่า Oppression Olympics ถูกพูดถึงโดย Elizabeth Martínez ซึ่งเป็นแกนนำการเคลื่อนไหว Chicana Feminist คนสำคัญ ที่ได้ขึ้นเวทีสัมนากับ Angela Davis ที่ University of California, San Diego ในปี 1993… ซึ่ง Elizabeth Martínez ได้พูดถึงการถกเถียงแบบแข่งกันอวดลำบาก และ การถูกกดขี่ว่า การพูดแบบ Oppression Olympics ว่าใครเจออะไรมาสาหัสกว่ากันนั้น… ไร้ประโยชน์ที่นำมาเป็นธีมในการเคลื่อนไหวต่อสู้… เพราะสิ่งที่ควรจะพูดถึงคือการมองลึกไปกว่าความลำบากและการกดขี่ที่พบเจอให้เห็น “สาเหตุ” เพื่อหาทางแก้ไข แทนที่จะมานั่งเล่าความลำบากแข่งกันที่ทำได้แค่ตีแผ่เรื่องราวโดยไม่คิดจะไปให้ถึงการแก้ไข

การวิพากษ์ของ Elizabeth Martínez จึงเป็นการอธิบายและให้ค่ารูปแบบการพูดอวดลำบากในทุกวงสนทนา และ ในทุกสถานการณ์ว่าเป็นเรื่องเล่าที่ไร้ค่า… เพราะการจะบอกคนอื่นว่าฉันลำบากมากว่าที่เธอเจอมาก… หรือ สมัยก่อนแย่ยิ่งกว่าที่พวกเธอเจอในตอนนี้เยอะ… หรือ ที่แกลำบากหน่ะเด็กๆ ข้าเจอมาก่อนเอ็งหน่ะปางตาย และ คำพูดคล้ายๆ แบบนี้อีกมาก ที่โยนตัวเองให้เป็นกรณีสุดโต่งกว่าในทางทุกข์ตรมขมขื่น และหรือ เหนื่อยยากลำบากแพงเพียงเพื่อจะรอการยอมรับ… ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย

ตัวอย่างกรณีที่เห็นบางคน “บ่นลงโซเซียล” ตอนมาทำงานวันอาทิตย์คนเดียว แถมถ่ายรูปออฟฟิศว่างเปล่าลงโซเชียลเพื่อยืนยันว่าตนขยัน รับผิดชอบ และ ควรมีคนมาชมและให้กำลังใจเยอะๆ ซึ่งเหตุผลจริงๆ ที่ต้องมาโหมทำงานวันหยุดคนเดียว อาจจะเป็นเรื่องน่าอายที่ตนไม่คิดจะบอกใครให้รู้ด้วยซ้ำก็มี… 

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… วงจรการอวดลำบากไม่ควรจะถูกแต่งเติมให้กลายเป็นประเด็น และ ไม่ควรมีคนมาเติมเรื่องราวเพื่อจะจัดอันดับความลำบากกว่าให้เรื่องน่าเวทนาของคนๆ เดียวกลายเป็นเรื่องแข่งขัน หรือ จัดอันดับ…ซึ่งหลายกรณีนำไปสู่ความขุ่นเคืองในสายสัมพันธ์ รวมทั้งการเพิกเฉยต่อปัญหาเล็กๆ ระดับบุคคลที่นานวันอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้… ที่สำคัญกว่านั้น การอวดลำบากเกือบทุกประเด็น “มักจะ” แฝงการเหยียดหยาม และหรือ การต่อว่ากันอยู่ในท่าที และ คำพูดเสมอ… ไม่เคยดีกับใคร หรือ อะไรเลย

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts