Organization Culture Shaping… การปรับวัฒนธรรมองค์กร #ExtremeLeadership

ท่านคงเคยได้ยินประโยคในทำนองที่ว่า… คนที่นี่เขาเป็นแบบนี้! หรือ คนที่นี่เขาทำกันแบบนี้! หรือ คำพูดคล้ายกันนี้มาบ้าง… ประโยคทำนองนี้จะมีนัยยะของการพูดถึง “Culture หรือ ธรรมเนียม หรือ วัฒนธรรม” ซึ่ง “กลุ่มคน” ที่รวมตัวกันอยู่ในที่นั้น จะมีนิสัยและพฤติกรรมแบบเดียวกัน หรือ คล้ายๆ กันตามความเชื่อ และหรือ กฏเกณฑ์ และหรือ แนวปฏิบัติที่เป็นค่าเริ่มต้น หรือ ค่ามาตรฐานแบบเดียวกัน… ซึ่งทั้งหมดที่เป็นอยู่นั้นจะถูกนิยามว่าเป็น Culture หรือ วัฒนธรรม ของที่แห่งนั้นนั่นเอง

ประเด็นเป็นแบบนี้คือ… การพูดถึงวัฒนธรรมในระดับองค์กรที่ประกอบขึ้นจาก “กลุ่มคน” ที่มารวมตัวเพื่อทำงานด้วยกันก็จะมีความเชื่อ กฏเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติเดียวกันเอาไว้ถือปฏิบัติ เพื่อจะได้อยู่ร่วมงานกันแบบมืออาชีพ หรือ อยู่ร่วมกับแบบคนโตๆ กันแล้วที่รู้ว่าต้องรับผิดชอบอะไร–อย่างไร

ในตำราการจัดการยุคใหม่จะถือว่า “วัฒนธรรมองค์กร” เป็นเรื่องใหญ่ที่สามารถใช้ทำนายอนาคตขององค์กรได้เลยทีเดียว… เพราะ “วัฒนธรรมองค์กร” หลายรูปแบบจะส่งเสริมให้ “กลุ่มคน” ในองค์กรสามารถผลิตนวัตกรรม และ ความสำเร็จตามเป้าหมายได้ตลอดเวลาก็มี… ในขณะที่ “วัฒนธรรมองค์กร” บางรูปแบบกลับทำให้ “กลุ่มคน” ในองค์กรทำงานและเลี้ยงชีพจากงานได้อย่างยากลำบาก จน “ไม่เหลือเวลาและใจ” จะไปไขว่คว้าเป้าหมายยากๆ เกินกว่างานรายวันที่ต้องทนทำให้พ้นๆ วันไปก่อนเท่านั้น

คำถามเกี่ยวกับ “วัฒนธรรมองค์กร” ที่คนส่วนใหญ่รู้ดีว่าสำคัญจึงมีว่า… ถ้าให้ทำนายอนาคตขององค์กรในอีก 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้าจะมีความสำเร็จ–ล้มเหลวที่เกิดจาก “กลุ่มคน” ในองค์กรอย่างไร… และ ทำไม?

บทความจากสถาบันฝึกอบรมผู้นำ CCL หรือ Center for Creative Leadership ได้เสนอแนวคิดในการปรับแต่งวัฒนธรรมองค์กร หรือ การทำ SOC หรือ Shaping Organizational Culture… ซึ่งผู้นำองค์กรจะมีบทบาทนำในการแต่งเติมวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ให้มากที่สุด โดยผู้นำองค์กรจำเป็นจะต้อง…

  1. ลงไปสัมผัสวัฒนธรรมขององค์กรที่ตนนำให้รู้จักและเข้าใจ “ความเชื่อ กฏเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติ” ที่ทุกคนในองค์กรสะท้อนออกมา
  2. เปิดเวทีเพื่อ “ถกแถลง และ วิพากษ์” ถึงวัฒนธรรมองค์กรได้เลยถ้าพบว่า “ความเชื่อ กฏเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติ” ที่เกิดขึ้นจริงกำลังบ่อนทำลายทุกคนจนปรากฏปัญหา และ ความบอบช้ำในการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่จากองค์กร หรือ ที่ทำงาน
  3. ผู้นำต้องประพฤติตนด้วย “ความเชื่อ กฏเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติ” ที่เด่นชัดเรื่องคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต และ ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร
  4. ผู้นำต้องกล้าเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมองค์กรที่ขัดขวางเป้าหมายส่วนรวม รวมทั้ง “ความเชื่อ กฏเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติ” ที่มีมานานแต่ให้ประโยชน์กับบางคนเป็นการเฉพาะ
  5. ผู้นำต้องกล้าเผชิญหน้ากับความยุ่งยากในการสนับสนุน “ความเชื่อ กฏเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติ” ที่สามารถร่วมงานกันได้ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำลง ขับเคลื่อนเป้าหมายได้มากขึ้น และ บรรลุเป้าหมายได้สูงขึ้น… โดย “กลุ่มคน” ส่วนใหญ่ในองค์กรมีความสุขขึ้น

คำแนะนำมีอยู่ประมาณนี้ครับ… ซึ่งก็เป็นเพียงคำแนะนำพื้นฐานที่ห่างไกลจากโลกความจริงขององค์กรเก่าแก่ที่มี และ อยู่มานานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะองค์กรที่อยู่มานานจนต้องมีใครเข้าไปจัดการปรับแต่ง “ความเชื่อ กฏเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติ” กันใหม่ ทั้งเพื่อความอยู่รอด และ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน… โดยมากก็จะมีปัญหาภายในซับซ้อนที่ไม่ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก… แต่ก็ไม่ยากเกินความพยายามของผู้นำเก่งๆ ที่กล้าขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างถูกวิธี… โดยคำแนะนำจาก Harvard Business Review ให้เริ่มต้นที่… แผนภาพการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ที่พึงปราถนา และ แผนภาพการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรเดิมทั้งในภาพรวม และ ในระดับบริหาร… ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรในระดับบริหารสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในองค์กรอย่างมาก… โดยเฉพาะ Organization Culture หรือ วัฒนธรรมองค์กร

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts