การเป็นผู้บริหาร หรือ หัวหน้างานที่มีลูกทีมบางส่วนทำงานไปวันๆ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ต่อหน้าที่จนเห็นเป็นผลงานอย่างเดิม หรือ ถึงขั้นแย่กว่าเดิม… ไม่อยากเปลี่ยนแปลง… ขาดเป้าหมายอันเป็นปัจจัยการเติบโตก้าวหน้าและท้าทายทั้งส่วนตน และ ขององค์กร… ทำงานให้องค์กรเท่าที่จำเป็นต้องทำ… ไม่ใส่ใจชื่อเสียงภาพลักษณ์และการอยู่รอดขององค์กร… คิดลบต่อที่ทำงานและเพื่อนร่วมงานตลอดเวลา และ อะไรอื่นอีกมากที่พนักงานกลุ่มนี้อยู่ในองค์กรโดยไม่มีความสุข รวมทั้งการเป็นส่วนหนึ่งของความน่าเบื่อหน่ายและไร้สุขของเพื่อนร่วมงานอีกมาก
ตำราจิตวิทยาองค์กรจะพูดถึงปัญหาทำนองนี้ว่าเป็นเรื่อง “จิตสำนึกรักองค์กร หรือ Organization Awareness” ซึ่งพนักงานรู้สึกว่าตน หรือ พวกตนไม่มีส่วนร่วมใน “การเป็นเจ้าขององค์กร หรือ Sense of Business Ownership” โดยเฉพาะการรู้สึกว่าตนไม่ได้เป็น “เจ้าของงานของตนเอง หรือ Job Ownership” ซึ่งได้ทำลาย “จิตสำนึกรักองค์กร หรือ Organization Awareness” จนไม่เหลือ “แรงใจ” พอที่จะรวมพลังกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย
ข้อมูลจาก HR Exchange Network ชี้ว่า… ประเด็น “จิตสำนึกรักองค์กร หรือ Organization Awareness” ล้วนมาจากสภาพแวดล้อมเชิงสังคมขององค์กรเอง โดยเฉพาะ “กระแสสังคม หรือ Social Flow กับ ความตระหนักทางสังคม หรือ Social Awareness และ ความตระหนักทางการเมือง หรือ Political Awareness” ที่ปรากฏเป็นวัฒนธรรมองค์กร หรือ Organizational Culture… ซึ่งเกี่ยวพันยุ่งเหยิงจนไม่เห็นจุดเริ่มต้น และ หนทางจะสิ้นสุด
ประเด็นก็คือ… องค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบันล้วนปฏิรูปการทำงานเพื่อให้ “ตามทัน” ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งที่เป็นคู่ค้า และ ลูกค้า ซึ่งก็เปลี่ยนแปลงไปตามความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าของสังคม และ เทคโนโลยีที่ก้าวไปข้างหน้าไม่เคยหยุด… แต่ปัญหาจิตสำนึกรักองค์กรที่มาจากปัญหา “การเมืองในสำนักงาน” โดยส่วนใหญ่ก็ยังคงมีอยู่กับทุกองค์กรอย่างสม่ำเสมอ… และยังคงเป็นปฐมเหตุที่สำคัญของปัญหาภายในที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อความพยายามที่จะ “ตามทัน” ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ คู่แข่งอย่างสำคัญ
การจะพัฒนาองค์กรซึ่งต้องการจิตสำนึกรักองค์กร หรือ Organization Awareness จากทีม และ พนักงานทุกคนจึงควรโฟกัสไปที่ “การเมืองในสำนักงาน” อย่างเป็นระบบ… ซึ่งเครื่องมือที่มีการนำใช้เพื่อวิเคราะห์การเมืองในสำนักงานอย่างกว้างขวางก็คือ Baddeley and James Political Skills Model ของ Simon Baddeley และ Kim James… ซึ่งออกแบบไว้เพื่อแบ่งกลุ่มพฤติกรรมทางการเมืองของคนออกเป็น 4 กลุ่มหลักเพื่อให้ผู้นำสามารถจัดการความตระหนักทางการเมือง หรือ Political Awareness ของคนในองค์กรได้ดีขึ้น โดยคน 4 กลุ่มใน Political Skills Model ที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Owl, Fox, Donkey Or Sheep Model จะถูกแทนที่โดยใช้สัตว์ 4 ประเภทเป็นสัญลักษณ์… โดย
- Owl หรือ นกฮูก… แทนคนที่มีทักษะ และ จิตสำนึกทางการเมือง และ ใช้การเมืองในสำนักงานอย่างสร้างสรรค์ มีหลักการและเหตุผล ซึ่งจะดูเฉลียวฉลาดในหลายกรณี
- Fox หรือ จิ้งจอก… แทนคนที่เล่นการเมืองในสำนักงานด้วยเล่ห์เหลี่ยม และ ทำเพื่อตัวเองเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นคนหลักแหลม และ เชาว์ปัญญาดี
- Donkey หรือ ลา… แทนคนไม่ใส่ใจพลังและอำนาจในสังคมที่ทำงาน ไม่สนใจผู้อื่น แต่อยู่และทำงานโดยขาดหลักการจากจิตสำนึกที่สร้างสรรค์ และ ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งบางครั้งอาจจะดูซื่อเซ่อและโง่เขลาได้
- Sheep หรือ แกะ… แทนคนที่มีหลักการ และ ความรู้ความเข้าใจ แต่ไม่สนใจการเมือง หรือ ไม่สนใจกลุ่มก้อนฝักฝ่ายความเชื่อ แต่งมงายเชื่อมั่นอยู่กับหลักเกณฑ์ทางเทคนิค ซึ่งค่อนข้างไร้เดียงสาทางการเมือง
ในมุมมองของ Organizational Awareness หรือ จิตสำนึกรักองค์กรนั้น… กลุ่มคนที่ย่อย่อนถ่วงรั้ง และ ทำลาย “จิตสำนึกรักองค์กร หรือ Organization Awareness” โดยขาด “แรงใจ” จนไม่เหลือพอที่จะหนุนช่วยเพื่อนร่วมงานคนอื่น เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย มักจะเป็นกลุ่มคนที่เข้าข่าย “ลา กับ แกะ” ซึ่งความตระหนักทางการเมือง หรือ Political Awareness ในคนกลุ่มนี้จะมีอยู่ไม่มาก หรือ ไม่มีเลย
References…