Outcome Mapping… แผนที่ผลลัพธ์เบื้องต้น #SaturdayStrategy

แผนที่ผลลัพธ์ หรือ Outcome Mapping… เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตาม และ ประเมินผลการทำงาน ที่จะมาเสริมวิธีการประเมินผลงานรูปแบบเดิม เพียงแต่ Outcome Mapping จะโฟกัส “การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้อง และ ผลกระทบ–สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น” โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของคนและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง 

คู่มือการจัดทำแผนที่ผลลัพธ์ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2001 โดยฝ่ายประเมินของ International Development Research Centre หรือ IDRC โดยพัฒนาจากโมเดลวิศวกรรมผลลัพธ์ หรือ Outcome Engineering Model ที่พัฒนาขึ้นใช้โดย Barry Kibel จาก Pacific Institute for Research and Evaluation คำศัพท์เฉพาะและขั้นตอนกระบวนการใน Outcome Mapping จึงเป็นศัพท์แสงจาก Outcome Engineering เป็นส่วนใหญ่

ความน่าสนใจของ Outcome Mapping อยู่ที่แนวคิดที่ “ไม่เน้น” การประเมินผลงานที่ส่งมอบได้ และ ผลกระทบของงานที่ส่งมอบต่อผู้รับประโยชน์หลัก… แต่จะวัดที่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้รับประโยชน์รอง และหรือ ผู้ได้รับผลกระทบ… ซึ่งจะได้ภาพการเปลี่ยนแปลงที่กว้างกว่าการโฟกัสเพียงเป้าหมายหลักและวัตถุประสงค์แรก ที่ความสำเร็จในหลายๆ กรณีสร้างผลกระทบมากมายจนคุณค่าความสำเร็จเบื้องต้นชดเชยและทดแทนไม่ได้ก็มี

แผนที่ผลลัพธ์ หรือ Outcome Mapping ในปัจจุบันจึงได้รับความสนใจในการนำใช้เพื่อวางแผน “การประเมิน” เพื่อให้เห็นภาพความยั่งยืนหลังการขับเคลื่อนเป้าหมายแรกจนถึงขั้นประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะเป้าหมายเชิงพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ซึ่งภาพรวมการเปลี่ยนแปลงควรถูกวางแผนให้ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ ผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบ” ได้มีส่วนในการควบคุมผลลัพธ์… ซึ่งโครงการที่ขับเคลื่อนผ่าน Outcome Mapping จึงโฟกัสการติดตามความคืบหน้าของโครงการน้อยลง โดยให้ความสำคัญกับ “อิทธพล หรือ ผลกระทบ” ของโครงการทั้งทางตรง–ทางอ้อม และ ที่ตั้งใจ–ไม่ตั้งใจจะให้เกิดผลกระทบในระหว่างการขับเคลื่อนแผนผลักดันโครงการ

ในทางปฏิบัติ… แผนที่ผลลัพธ์ หรือ Outcome Mapping เป็นรายงานฉบับหนึ่งที่รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ซึ่งแผนที่ผลลัพธ์ หรือ Outcome Mapping ที่ดีจะได้มาจากข้อเท็จจริงที่สำรวจพบ และ วิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่พบอย่างละเอียด… แผนที่ผลลัพธ์ หรือ Outcome Mapping จึงได้รับความสนใจจากนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม กับ นักพัฒนาชุมชน และ องค์กรที่ทำงานในระดับสาธารณะอย่างกว้างขวาง โดยโครงการเหล่านี้จะนำใช้แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ หรือ Outcome Mapping เป็นกลยุทธ์ในการจัดการเชิงประเมินระหว่างดำเนินโครงการ… ซึ่งการใช้งานจริงจะปรับแต่งเครื่องมือ และ ตัวแปรอย่างเหมาะสอดคล้องกับโครงการเป็นส่วนใหญ่ ท่านที่ทำแผนที่ผลลัพธ์แบบลอกงานมาปรับเนื้อหาตามตัวอย่างจึงไม่ง่ายเหมือนลอก OKRs หรือ Balanced Scorecard

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *