Ozone Depletion เมื่อชั้นโอโซนบางลง กลายเป็นหลุมและรูรั่ว #FridaysForFuture

โอโซน หรือ O3 เป็นก๊าซซึ่งประกอบด้วยธาตุออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเกาะป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ต หรือ UV ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก 

โอโซนไม่ใช่ก๊าซที่มีเสถียรภาพสูง มีอายุอยู่ในอากาศเพียง 20-30 สัปดาห์ก็สลายตัว โอโซนเกิดจากก๊าซออกซิเจน หรือ O2 ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว หรือ O จากนั้นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว ก็รวมตัวกับก๊าซออกซิเจน กลายเป็นโอโซนหรือ O3 โดยมีโมเลกุลชนิดอื่นทำหน้าที่เป็นตัวกลางด้วย… โอโซนจึงเป็นก๊าซพิษสำหรับสิ่งมีชีวิต ในขณะเดียวกัน โอโซนในชั้นบรรยากาศ ก็มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสี UV ที่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งมีชีวิตบนโลก กลายเป็นเกราะปกป้องดาวสีฟ้าของเราเอาไว้… แต่อีกด้านหนึ่ง โอโซนในชั้นบรรยากาศก็ดูดกลืนรังสีอินฟาเรดเอาไว้ด้วย ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องคุณสมบัติอีกเรื่องหนึ่งที่ชั้นโอโซนของโลก กลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สะสมความร้อนใต้เปลือกโอโซนให้ร้อนขึ้น

นักวิทยาศาสตรอธิบายและแบ่งก๊าซโอโซนเป็น 2 บทบาท คือ

  1. โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere Ozone) เกิดจากการเผาไหม้มวลชีวภาพ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ เครื่องจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนอยู่ในหมอกควัน เมื่อโอโซนอยู่ในบรรยากาศชั้นล่างหรือเหนือพื้นผิว มันจะให้โทษมากกว่าให้คุณ เนื่องจากเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นคำพูดที่ว่า “ออกไปสูดโอโซนให้สบายปอด” จึงเป็นความเข้าใจผิด

  2. โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere Ozone) ในธรรมชาติโอโซนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซนส่วนใหญ่ในชั้นสตราโตสเฟียร์รวมตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ระยะสูงประมาณ 20 – 30 กิโลเมตร ทำหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย จะถูกฆ่าตาย

ประเด็นการลดลงของชั้นโอโซน หรือจะเรียกว่าชั้นโอโซนบางลง หรือ Ozone Depletion เป็นประเด็นพูดกันมานานหลายสิบปี… ปรากฏการณ์ชั้นโอโซนบางลง บนชั้นบรรยากาศระดับชั้นสตราโตสเฟียร์ มีการศึกษาอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 1970 และพบอัตราการบางลงในระดับ 4% ต่อทศวรรษ… และพบว่าช่วงฤดูใบไม้ผลิจะมีการลดลงหรือบางลงของชั้นโอโซนมากในบริเวณขั้วโลก ลักษณะการเกิดการบางลงหรือลดลงบางบริเวณของชั้นโอโซน เรียกว่า หลุมโอโซน… ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน

การเกิดหลุมโอโซนจะมีความแตกต่างไปแต่ละพื้นที่ โดยพื้นแถบขั้วโลกพบว่ามีการถูกทำลายของชั้นโอโซนมากที่สุดและแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของค่าละติจูด สาเหตุการทำลายชั้นโอโซนนั้นเกิดจากการทำปฏิกิริยาแฮโลเจนกับแก๊สโอโซน หรือการทำปฏิกิริยาระหว่างโอโซนในชั้นบรรยากาศกับ สารทำความเย็นจำพวกแฮโลคาร์บอนหรือสาร CFC ในชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยสารทั้งสองชนิดนี้เป็นสาเหตุหลักของการเกิด หลุมโอโซน แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆได้อีก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนด้วย

NASA ได้เผยแพร่ภาพและข้อมูลหลุมโอโซนบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา ณ ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ระดับต่ำ… ที่แสดงให้เห็นระดับของโอโซนลดลง 33% จากการวัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1975 หลุมโอโซนเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ณ ทวีปแอนตาร์กติกาในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนธันวาคม เกิดลมทิศตะวันตกกำลังแรงพัดหมุนเวียนทั่วทวีปและสร้างความปั่นป่วนในชั้นบรรยากาศ การทำลายโอโซนในแต่ละปีนั้นพบว่า 50% เกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิของทวีปแอนตาร์กติกา

โอโซนในชั้นบรรยากาศมีบทบาทสำคัญเรื่องการช่วยดูซับรังสี UVB…  เมื่อชั้นโอโซนบางลงหรือลดลงก็จะทำให้ปริมาณรังสี UV-B มีมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายและยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง จนนำไปสู่การลงนามในพิธีสารมอนทรีออล หรือ Montreal Protocol on Substances That Deplete the Ozone Layer ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสากลที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุม, ยับยั้ง และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนหลายชนิด

อย่างไรก็ตาม… กรณีผลกระทบของ UVB ที่เพิ่มขึ้นชั้นโอโซนที่บางลง หรือแม้แต่เกิดรูรั่วขึ้น… ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าการลดลงของโอโซนเป็นผลทำให้เกิดโรงมะเร็งผิวหนังและโรคทางตาในมนุษย์ ซึ่งข้อถกเถียงนี้ก็ยังไม่มีฝ่ายใดแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน “ความเชื่อของฝ่ายตน” ในประเด็นโลกร้อนและผลกระทบเชิงสุขภาพได้

#FridaysForFuture 

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts