
หลายท่านหรือส่วนใหญ่ คงเคยได้ยินคำฮิตอย่าง
If you’ve
Many millennials
When you’re
Nearly 18 percent of
Life after
Agricultural BioTechnology หรือ AgBiotech หรือ เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร… ในทางปฏิบัติจะเป็นการนำเอาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ BioTechnology มาพัฒนา “วิทยาศาสตร์การเกษตร หรือ Agricultural Science” โดยใช้เครื่องมือ และ เทคนิคชั้นสูงในวิทยาการด้านชีวภาพ เช่น Genetic Engineering หรือ พันธุวิศวกรรม… Molecular Markers หรือ เทคโนโลยีการระบุและทำเครื่องหมายโมเลกุล… Molecular Diagnostics หรือ เทคโนโลยีการทดสอบและวินิจฉัยโมเลกุล… Vaccines หรือ วัคซีน และ Tissue Culture หรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ… รวมทั้งการปรับปรุง และหรือ ตัดแต่งสิ่งมีชีวิตให้มีคุณสมบัติตามต้องการ หรือ ให้แตกต่างไปจากเดิมทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร… โดยพิจารณายกระดับวงจรการผลิตอาหารจากพันธุ์พืช และ สัตว์แบบดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูง
ข่าวการจัดงาน TEP Forum 2022 โดย ภาคีเครือข่ายเพื่อการศึกษาไทย หรือ Thailand Education Partnership หรือ TEP ปีนี้มีเวทีสัมนาที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น… โดยได้มีการนำเสนอสรุปผลการระดมสมอง 5 โจทย์สำคัญเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทยของภาคีเครือข่าย ต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ… คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
ประเด็นก็คือ… การลงทุนทางเทคโนโลยี รวมทั้งการลงทุนกับงานค้นคว้าวิจัยอาจไม่ได้ให้ผลลัพธ์เป็น Competitive Advantage หรือ ความได้เปรียบในการแข่งขันเสมอไป… เพราะบางองค์กรอาจรุ่งโรจน์โดดเด่นอย่างชัดเจนเมื่อได้ลงทุนกับเทคโนโลยี แม้จะเป็นเพียงการลงทุนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำธุรกิจเท่านั้นก็ตาม ในขณะที่บางองค์กร หรือ แม้แต่ทีมทำงานเล็กๆ แบบ Two-pizza Team หรือ ทีมที่มีคนแค่แบ่งพิซซ่ากันกินสองถาดก็อิ่มหมด… กลับมีปัญหามากมายเมื่อต้องพยายามกับการลงทุนและนำใช้เทคโนโลยี ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นแล้ว ยังกลายเป็นอุปสรรคให้หงุดหงิดติดขัดไปหมดก็มี
แนวทางการใฝ่หาองค์ความรู้ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายๆ เพียงแค่เริ่มต้นจากปัญหาในธุรกิจและหาทางแก้ไขปัญหาโดยวางเป้าหมายที่จะทำให้ปัญหาที่พบ ถูกจัดการในแนวทางใหม่… ตั้งคำถามเพื่อการค้นคว้าให้ครอบคลุม… หาคนที่สามารถเติมเต็มช่องว่างจากปัญหาถึงคำตอบหรือทางออกตามแนวคำถามที่สร้างนำทาง… พัฒนาต้นแบบ… ศึกษาวิจัยต้นแบบใหม่จนได้ผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมสู่ตลาด… อย่าหยุดค้นคว้าและพัฒนาต่อจนกว่าผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมจะทำกำไร… จนเพียงพอที่จะจัดสรรกำไรบางส่วนมาค้นคว้าวิจัยต่อยอดไปอีก
Pininfarina Battista เป็น HyperEV อีกคันหนึ่งของโลกที่ถูกผลิตแบบจำกัดจำนวนเพียง 150 คัน และ ถูกยกย่องว่าเป็นเจ้าของสถิติความเร็วที่ไม่เป็นรองตัวแรงจากรถแบรนด์ไหน หรือ รถสัญชาติอะไร และ ใช้พลังงานแบบไหน หรือ วิ่งด้วยเทคโนโลยีอะไร… ถึงแม้จะไม่ได้ครองสถิติ EV ที่มีแรงม้าสูงที่สุดอย่าง Lotus Evija เจ้าของสถิติ 1972 แรงม้าก็ตาม
PenTest หรือ Penetration Test คือการจำลองการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ หรือ การทดสอบแฮกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อหาช่องโหว่ในระบบทั้งหมดว่าถูกจัดการอย่างเหมาะสมแล้ว และถ้ายังพบจุดอ่อนที่แฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์เพื่อก่อกวน รุกล้ำ และ เข้าครอบครองระบบด้วยวิธีการ หรือ เทคนิคใดๆ ได้… เครื่องมือ Penetration Test ก็จะรายงานจุดอ่อนทั้งหมดที่พบให้ทราบ เพื่อให้เจ้าของ และ ผู้ดูแลเครือข่ายสามารถนำข้อมูลที่พบไปดำเนินการต่อ
Kids Know It Network ถูกซื้อกิจการทั้งหมดโดย Education.com ในช่วงปลายปี 2018… ซึ่งถือเป็นข่าวใหญ่ในวงการ EdTech… เพราะ Education.com ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่สุดในฐานะแพลตฟอร์มสื่อ และ ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน หรือ Users มากกว่า 20 ล้านบัญชีทั้งใน และ นอกสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว… การซื้อ KKI จาก Hiram J. Bertoch ในคราวนั้นจึงไม่ได้เป็นการซื้อเอาทีมพัฒนา หรือ ซื้อเอาจำนวน Users จาก KKI อย่างที่ StartUp ส่วนใหญ่ทำ Growth Hacking ด้วยการซื้อกิจการเอาทีมทำงาน หรือ ไม่ก็ซื้อเอาตลาดซึ่งก็คือจำนวน Users เพื่อเอามาต่อยอดให้การขยายกิจการให้สามารถทำได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลามาทำตลาดหาสมาชิก หรือ ลูกค้าใหม่… ซึ่งก็อาจจะต้องใช้เงินทุนไม่ต่างจากการทุ่มซื้อกิจการที่มี Users อยู่แล้วมาทำธุรกิจ
ปัญหาพลังงานที่ซับซ้อนอยู่กับวิถีชีวิตของทุกคนควรถูกพูดถึงและจัดการผ่านแนวคิดที่ยั่งยืนจริงๆ ได้แล้ว โดยเฉพาะแนวคิด Energy Mix หรือ Energy Diversification หรือ แนวคิดบูรณาการเชื้อเพลิงพลังงาน ที่โลกนี้ควรมี “คำอธิบายที่ถูกต้อง” สำหรับความเชื่อเรื่องพลังงานที่ยั่งยืน ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อที่พูดถึงโซล่าฟาร์มแปลงเดียวก็โฆษณาเรื่องความยั่งยืนกันเป็นตุเป็นตะ
ReSkills / UpSkills / NewSkills