พาราควอต!

กระแสการต้านพาราควอต ซึ่งเป็นเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้า ดังกระหึ่มขึ้นเมื่อโซเชี่ยลมีเดียจับกระแสได้ ไล่ตามทัน และนำข้อเท็จจริงหลายอย่างของเคมีทางการเกษตร ลอกคราบแบ่งปันบนโซเชี่ยลพิจารณา

และเหตุการณ์ยิ่งปะทุซ้ำเมื่อคณะกรรมการวัตถุมีพิษอันตราย ที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน มีมติไม่ยกเลิกการใช้วัตถุอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ด้วยเหตุผลว่า… รายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพยังไม่เพียงพอ

เป็นเรื่องซิครับ!…

เครือข่ายสนับสนุนการห้ามใช้สารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรง กับสมาชิกกว่า 600 องค์กรภาคประชาสังคม มีการเคลื่อนขบวนประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นแถลงการณ์ขอให้มีทบทวนมติและกระบวนการพิจารณาเพื่อยกเลิกการใช้สารอันตรายดังกล่าว จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องออกมารับข้อเสนอ และแจ้งว่าจะใช้กรอบพิจารณาใหม่ภายใน 60 วัน

ย้อนกลับที่การตีพิมพ์งานวิจัยของวารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 7 เล่มที่ 2 กค.-ธค. 2558 โดยกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ข้อมูลและตัวเลขจากงานวิจัยชิ้นนี้เองที่เป็นกระแสตั้งต้นของการเคลื่อนไหวจนกลายเป็นกระแสอย่างที่ปรากฏ

สารเคมีอันตรายที่เกษตรกรใช้เหล่านี้ มีการการปนเปื้อนและสะสม ทั้งในร่างกายเกษตรกรที่สัมผัสโดยตรง ปนเปื้อนสู่พื้นที่ทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม รวมทั้งพืชอาหารที่เกษตรกรผลิตได้ด้วย

ข้อเท็จจริง 2 เรื่องเกี่ยวกับเคมีอันตรายทั้ง 3 ชนิดก็คือ

เรื่องแรก… ยาฆ่าหญ้าใช้ฆ่าตัวตายได้ด้วยการกิน… มีคนใช้ยาฆ่าหญ้าฆ่าตัวตายสำเร็จทุกปี และมีจำนวนหนึ่งถูกส่งมาล้างท้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวนหนึ่งทุกปีเช่นกัน… กินแล้วตายได้ แปลว่าอันตรายครับ!

เรื่องที่สองคือ… ยาฆ่าหญ้าพวกนี้ตกค้างและสะสมเป็นบริเวณกว้าง… แปลตรงๆ ว่าถึงปริมาณยาที่ปนเปื้อนจะไม่มากหรือน้อยนิดแค่ไหน ก็สามารถสะสมจนส่งผลต่อสุขภาพคนในบริเวณที่ใช้สารเคมีอันตรายเหล่านี้อยู่ดี

ผศ.ดร.นพดล กิตนะ  หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า มีการปนเปื้อนพาราควอต 24–56 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมในปูนา และ 12.6–1,233.8  ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมในกบหนอง… ตัวเลข MRL (Maximum Residue Limit) กำหนดไว้ว่าต้องมีการปนเปื้อนในสัตว์ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเท่านั้นเองครับ

ตัวเลข MRL กำหนดโดย Codex Alimentarius Commission เกิดจากการร่วมมือกันของหน่วยงานองค์การอาหารการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กับองค์การอนามัยโลก (WHO) พูดถึงว่าสารเคมีทางการเกษตรเมื่อใช้เสร็จแล้วควรมี Good Agricultural Practice (GAP) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้แบบแผนที่ดีในการทำเกษตรกรรม

ยาฆ่าหญ้าเหล่านี้  มีค่าครึ่งชีวิตมากกว่า 10 ปี… แปลว่า ผ่านไป 10 ปี สารเคมีที่อยู่ในดินจะลดไปแค่ครึ่งเดียว… ถ้าใช้ต่อเนื่องทุกปี… คงยากที่สารเคมีเหล่านี้จะลดลง 

ระหว่างค้นข้อมูลประกอบบทความ… ผมเปิดคลิปคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเผยแพร่ทางรายการคำต่อคำและ mgronline.com ถึงเรื่องนี้ไปด้วย… ผมเห็นด้วยกับคุณสนธิที่ท้าคนขวางการแบนยาฆ่าหญ้าให้ไปพ่นยาด้วยตัวเองพิสูจน์ความปลอดภัยให้ดูหน่อย… โดยเฉพาะคณะกรรมการวัตถุมีพิษอันตรายที่ยังไม่ยอมยกเลิกการใช้สารพิษอันตรายเหล่านี้ในเมืองไทย ทั้งๆ ที่อำนาจเรื่องนี้เป็นของท่านโดยตรง และคนอื่นไม่มีสิทธิ์ไปดำเนินการอะไรได้ (ในตอนนี้)

…แบกถังยาฆ่าหญ้าไปพ่นเล่นซักคนละถังสองถังโชว์คุณสนธิหน่อยมั๊ยครับ!!!

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts