Student Led Learning

Pedagogical in Blending Course Design… ออกแบบการสอนอย่างไรให้ยืดหยุ่น #ReDucation

Google for Education หรือ Edu.Google.com ได้เผยแพร่เอกสารยาว 57 หน้า ชื่อ Future of the Classroom: Emerging Trends in K-12 Education Global Edition ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight หลายมิติเกี่ยวกับข้อเท็จจริง และ ขอบเขต หรือ Scopes โดยเป็นข้อมูลเชิงวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามสำคัญในประเด็น “รูปแบบ แนวทาง และ ขอบเขต การเรียนการสอนในอนาคต” ซึ่งเป็นอนาคตที่มาถึงเร็วกว่าที่คาดไว้อย่างน่าตกใจ

รูปแบบ แนวทาง และ ขอบเขต การเรียนการสอนในอนาคต หรือก็คือ รูปแบบ แนวทาง และ ขอบเขต การเรียนการสอนและการจัดการศึกษาที่จำเป็นต้องเปลี่ยน “เครื่องมือ และ วิธีการ” จากที่เคยใช้และมีใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไปใช้เครื่องมือ และ วิธีการที่สอดคล้องกับ “ความสำเร็จจากการเรียนการสอนและการศึกษา” ที่ผู้เรียนในปัจจุบันจะเติบโตแก่เฒ่าไปใช้ชีวิต ทำงาน และ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและทุกหน่วยสังคมที่ตัวเขาสามารถ “พาการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า” ไปใช้เปลี่ยนปัจจุบันขณะนั้นไปสู่อนาคตลำดับถัดไป

ผมขออนุญาตที่จะไม่ลงรายละเอียดในเอกสาร เพราะว่าถ้าลงก็ต้องลงทั้งหมดจนเป็น Literature Review ซึ่งท่านที่ต้องใช้ข้อมูลจริงๆ ก็เอาไปทำอะไรไม่ได้ ส่วนท่านที่อ่านประดับความรู้ก็ไม่จำเป็นต้องดู หรือ ใช้ตัวเลขสถิติอะไร บอกอะไร และ ได้มาจากที่ไหนหรอก… ผมแนบลิงค์เอกสารไว้ใต้ References ให้แล้วถ้าท่านสนใจลึกขั้นนั้น

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… เอกสารชิ้นนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจ และ นำทางไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติมจากคำว่า “Student-Led Learning หรือ การเรียนรู้โดยผู้เรียน” ซึ่งเป็น Keyword ทางการศึกษาที่กำลังจะมาเติม Student Center หรือ Child Center… ซึ่งการศึกษานับจากนี้จะไม่มีภาพอะไรเป็นศูนย์กลางเพื่อให้อะไรๆ มาโคจรรอบอีกแล้ว

เพราะ Student-led Learning จะยืดหยุ่นบนสมมติฐานที่ว่า… นักเรียนทุกคนมีวิธีการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ดังนั้นจึงมีศักยภาพในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับพวกเขา… แนวคิดนี้จะลดบทบาท “ครูและการสอน ไปเป็น ผู้เรียนและการเรียนรู้ ที่สร้างขึ้นจากแรงจูงใจของผู้เรียน และ ประสบการณ์ที่มีความหมายต่อผู้เรียนเป็นแรงผลักดัน… ซึ่งบริบทการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นจริงในชั้นเรียน และ/หรือ คาบการเรียนหนึ่งๆ จะเปลี่ยนแปลงไปตาม “วิธีการ และ แนวทาง ที่ผู้เรียนร่วมกันนำครูและผู้สอน รวมทั้งผู้ปกครอง… สู่บรรยากาศและแนวทางที่สร้างสรรค์ขึ้น และ ออกแบบขึ้นเฉพาะ”

สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ จากแนวทาง Student-Led Learning ก็คือ การหายไปตลอดกาลของ “วิธีการสอนเหมือนกันหมด” ที่เคยเป็นแนวทางและข้ออ้างของผู้สอน และ ระบบการศึกษาดั้งเดิม ซึ่งเคยใช้อธิบายผลการเรียนเปรียบเทียบระหว่าง เด็กเรียนเก่งคะแนนดี กับ เด็กเรียนห่วยคะแนนหาย ที่ผู้สอนและระบบการศึกษา “ไปรับผิดชอบเด็กเรียนไม่เก่งเอง” ให้ไม่ได้… แม้เด็กเรียนไม่เก่งจะมีเต็มบ้านเต็มเมือง หรือ เต็มโรงเรียน แต่ขึ้นป้ายยินดีเด็กได้รางวัล หรือ เด็กเรียนต่อสถาบันมีชื่อเสียงได้ไม่กี่คนถึงขั้นมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนครูในโรงเรียนก็ตาม

ส่วนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระดับปรัชญาทางการศึกษาจากแนวทาง Student-Led Learning ก็คือ จะมีการปรับปรุงแนวคิด และ หลักการเชิงประสิทธิภาพการสอน หรือ Effective Pedagogy ให้สอดคล้องกับบริบท Student-Led ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือ Blended Learning ที่ยืดหยุ่นและซับซ้อนกว่าเดิมมาก

Professor Patricia McGee จาก University of Texas at San Antonio ซึ่งเป็นองค์ปาฐกในงานสัมนา Looking for the Pedagogy in Blended Course Design ในเดือนมีนาคม ปี 2013… ได้ใช้โอกาสนั้นเผยแพร่แนวคิด Blended Learning ซึ่งยังเป็นที่รู้จักไม่มากในช่วงเวลานั้น… แต่ในเวลานี้กลายเป็นรูปแบบ และ แนวทาง ให้ผู้สอนได้ใช้เป็นกรอบในการสร้างบทบาทใหม่ ในการเตรียมหลักสูตรที่ต้องจัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning ที่ระบบการศึกษาถูกบังคับให้ยกระดับไปสู่ Student-Led Learning อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง และ ผู้สอนต้องทำหน้าที่ในบทบาทใหม่ของระบบการศึกษาให้สอดคล้องกัน

คำแนะนำเกี่ยวกับ Blended Approaches หรือ การใช้แนวทางการเรียนการสอนแบบผสมในบทบาทของผู้สอนจากงานสัมนาในวันนั้น ซึ่ง Professor Patricia McGee แนะนำไว้ 4 แนวทางคือ

  1. Identifying practices that fit with course priorities หรือ ระบุแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับลำดับความสำคัญตามหลักสูตร
  2. Adapting an ideal strategy for blending หรือ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เชิงอุดมคติให้ยืดหยุ่นเพียงพอที่จะ Blend หรือ ผสมกับส่วนอื่นๆ ในบริบทการเรียนการสอน ซึ่งเป็นคำแนะนำให้ผู้สอน “ยอมยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลง” ทุกอย่างตามความเหมาะสม… แทนกระทรวงสั่งมาแบบนี้ หรือ สภาวิชาชีพกำหนดไว้แบบนั้น
  3. Using a learner-centered approach หรือ ใช้วิธีเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ คำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก
  4. Identifying student needs specific to blended learning หรือ ระบุ “ความต้องการเฉพาะ” ของผู้เรียน เพื่อนำมา Blended หรือ รวมเข้าไปในการออกแบบหลักสูตร

ประเด็นก็คือ Student Needs ที่ Professor Patricia McGee แนะนำไว้ในข้อ 4 แท้จริงก็คือข้อมูลและแนวทางที่ผู้สอน และ นักการศึกษา จะต้องใส่ใจ และ เปิดกว้างไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ “เติมช่องว่างนี้ด้วยตัวเอง”

ส่วนอื่นๆ ที่เหลือให้ปรับเปลี่ยนก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ให้ต้องตื่นเต้นกันนักหรอก… โดยเฉพาะในหลักสูตรและผู้สอนที่ปรับตัวทำ Student Center ถูกทางและถูกวิธีอยู่เดิม

ส่วนในทางปฏิบัติ… Professor Patricia McGee ได้แนะนำและอ้างอิงโมเดล HyFlex หรือ HyFlex Courses หรือการจัดทำหลักสูตรแบบ Hybrid and Flexible Course Structure ของ Dr. Brian Beatty จาก San Francisco State University ซึ่งออกแบบให้เรียนออนไลน์ก็ได้ และ เรียนในชั้นเจอตัว หรือ Face-to-Face ก็ได้… และให้นักเรียนเลือกตามอัธยาศัยว่าจะ Blended กันอย่างไรแค่ไหน

ที่จริงก็ไม่ได้มีอะไรยาก หรือ ใหม่ในระดับแนวคิด แต่ในระดับดำเนินการ… ดูเหมือนจะมีงานงอกไม่น้อยสำหรับครูอาจารย์ ยิ่งเมื่อต้องรวมเข้ากับความเร่งด่วน และ ภาวะจำเป็นเข้าไปอีก จึงมีหลายเรื่องน่าเห็นใจครูอาจารย์ส่วนใหญ่ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เต็มไปหมด

ส่วนครูอาจารย์ที่ทำอะไรไม่ถูกจนว่างถึงขั้นมีเวลานั่งคิดเรื่อง อยากเห็นเด็กใส่ชุดนักเรียนนั่งเรียนออนไลน์… ผมว่าคุณลาออกไปเปิดร้านขายชุดนักเรียนเถอะ วิญญาณพ่อค้าในสติระดับนี้ อย่ามาเป็นครูให้เสียอนาคตตัวเองเลย

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts