ฟินเทค หรือ Fintech หรือ Financial Technology เป็นคลื่นลูกใหญ่ที่ไล่ล่าภาคการเงินการธนาคารแบบเดิม ที่ทุกความเห็นแบบหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ยืนยันและเห็นตรงกันว่า… ภาคธุรกิจการเงินการธนาคารถูก Disrupted แน่นอน
แต่สำหรับ Users หรือฝั่งคนใช้บริการ ถึงวันนี้ผมคิดว่าข้ามเรื่องถูกใจและชอบใจ Fintech กันไปได้เลย เพราะยอดคนใช้งานธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ สะท้อนชัดเจนจนเคาเตอร์ธนาคารเงียบเหงาอย่างที่เห็นกัน… ตู้เอทีเอ็มที่เคยคิวยาวเหยียดช่วงสิ้นเดือน ก็แทบไม่มีให้เห็นอีกแล้ว… ยิ่งถ้าใครไปเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะจีน… ถ้าท่านถือเงินสดไปใช้รับรองว่าลำบากแน่นอน
แต่วันนี้ผมขอข้ามแง่มุมไลฟ์สไตล์ ที่ฟินเทคเข้ามาอยู่ในมือทุกคน ไปเป็นฟินเทคฝั่งลงทุนกินดอกเบี้ยบ้าง
คนวัยเกษียณรุ่นพ่อแม่เมื่อสิบกว่าปีก่อน เรื่องราวการฝากเงินธนาคารกินดอกเบี้ยยามแก่ เป็นตำนานคลาสสิคที่รุ่นเราและลูกหลานคงไม่มีให้สัมผัส… แต่เสน่ห์ของการลงทุนแบบได้ดอกเบี้ยตอบแทนสม่ำเสมอ ก็ยังเป็นโมเดลธุรกิจที่ยังอยู่กับพวกเราไปอีกนานแม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนอะไรๆ ไปหลายสิ่ง
แต่เงินกู้และดอกเบี้ย… ไม่เคยถูก Disrupted ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร
และผมกำลังพูดถึงแพลตฟอร์มกู้ยืมออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมากมายในยุคดิจิตอล ซึ่งโมเดลธุรกิจของแพลตฟอร์มกู้ยืมออนไลน์ก็ง่ายๆ ครับ… ใครอยากยืมเงิน ก็เข้าไปสมัครสมาชิก ทำตามเงื่อนไข และใครอยากปล่อยกู้ ก็เข้าไปสมัครสมาชิก แล้วทำตามเงื่อนไข แพลตฟอร์มจะทำให้ธุรกิจการกู้ยืมเกิดขึ้นได้ราบรื่น และขอค่าดำเนินการต่างๆ ตามสมควร
ที่จริงก็ไม่ได้ต่างจากโมเดลเอาเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ย แล้วธนาคารก็เอาเงินไปปล่อยกู้… กินดอกเบี้ย
ที่ต่างคือ กรณีมีธนาคารอยู่ในวงจรธุรกิจ ธนาคารจะเป็นเหมือนพ่อค้าคนกลางในการแลกเปลี่ยนทุนผ่านเงินฝากและสินเชื่อ
ส่วนแพลตฟอร์มแบบ Peer-to-Peer Lendings… จะไม่ได้ทำตัวเป็นคนกลางแบบธนาคารครับ แพลตฟอร์มจะเป็นเพียงช่องทางให้ “คนปล่อยเงินกู้กับคนอยากกู้เงิน” มาเจอกัน จนเกิดสัญญากู้ยืมขึ้น… ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป
วันนี้ผมจึงเอาแพลตฟอร์ม Peer Power ซึ่งเป็น Lending platform สัญชาติไทยเชื้อชาติไทย ที่ข่าวว่ากำลังโตวันโตคืนและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ SME ที่บ่อยครั้งต้องการเงินทุนก้อนพิเศษ สำหรับธุรกิจ ในบางจังหว่ะเวลา… ซึ่งคนค้าขายจะทราบดีว่า การวิ่งหาเงินทุนในห้วงเวลาที่โอกาสรออยู่ตรงหน้า แต่ขาดเงินทุนมันเป็นยังไง… หรือแม้แต่การวิ่งหาเงินมาเติมรอยต่อธุรกิจ ที่เกิดช๊อตบางเวลา มันหนักหนาอย่างไร
ส่วนตัวผม ประสบการณ์ระหว่างผมกับธนาคารหลายๆ แห่ง ทั้งกรณีธุรกิจส่วนตัวและกรณีของลูกค้า…ผมเองก็เล่า Pain ได้ซ้ำไม่ลืมเป็นสิบๆ เรื่องเหมือนหลายๆ ท่านที่ผมก็เชื่อว่า มีประสบการณ์”ยากจะลืม” กับธนาคารไม่แพ้กัน
กลับมาที่ Peer Power… ผมเอาแพลตฟอร์มนี้มาแนะนำหลายๆ ท่านเพื่อชี้ช่องทางฝั่งลงทุนหารายได้จากดอกเบี้ยเป็นเหตุผลหลัก เพราะผมรู้จักพี่ๆ น้าอาอีกหลายท่านที่สูงวัยขึ้นพร้อมๆ กับทรัพย์สินและแนวคิดที่อยากจะลงทุนกับอะไรซักอย่าง ที่ไม่เหนื่อยและเป็นภาระเกินไป แต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เหมือนฝากธนาคารกินดอกเบี้ยในสมัยก่อน

การลงทุนผ่าน Peer Power มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการลงทุนทุกรูปแบบนั่นแหละครับ… ผมคิดว่าแม้แต่ให้ข้างบ้านยืมเงินก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ถ้า Mindset ของท่านเรื่องความเสี่ยง เป็นปัญหากับตัวเอง บทความตอนนี้จะไม่เหมาะกับท่าน
ที่ผมจะบอกก็คือ “ความเสี่ยง” จัดการได้ด้วย “ความรู้” ซึ่งความรู้เรื่องการลงทุนบน Peer-to-Peer Lendings จะเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผมบรรจุไว้เป็นหลักสูตร Reskill ให้ Reder Members แน่นอนครับ… ตอนนี้แพลตฟอร์มส่วนของ e-learning และ reskill ของพวกเรายังต้องพัฒนาคอร์สและหลักสูตรไปอีกระยะหนึ่ง
แต่ระหว่างนี้ถ้าท่านสนใจ เรียนรู้การลงทุนแบบ Peer-to-Peer Lendings โดยเฉพาะกับ Peer Power ผมขอ 5 ท่าน แอดไลน์ @reder แล้วลงชื่อเข้ามาครับ ผมจะติดต่อคุณวรพล พรวาณิชย์ CEO Peer Power และทีมงานของท่านมาให้ความรู้ตรงกับทุกท่าน…

หรือท่านจะตรงไปที่ peerpower.co.th เลยก็ได้เช่นกันครับ!
อ้างอิง