Plant Based Food หรือ อาหารจากพืชผักและแปลงปลูก ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นอาหารเฉพาะกลุ่มสำหรับกลุ่มคนที่ไม่นิยมอาหารจากสิ่งมีชีวิตที่มีเลือดมีเนื้อ จึงชมชื่นกับการกินพืชผัก ซึ่งก็มีปลีกย่อยในรายละเอียดของวัตถุดิบอาหารแตกต่างหลากหลาย จนกลายเป็นกลุ่มคนที่มีความต้องการอาหารแบบเฉพาะเจาะจง ที่นักการตลาดเรียกว่า Nich Market
ในมิติของเทคโนโลยีอาหาร… สินค้าอาหารดั้งเดิมที่เคยได้จากสัตว์ทั้งหมด จึงมีธุรกิจน้อยใหญ่หาทางสร้างอาหารทางเลือกจากพืชมาทดแทนสินค้าอาหารดั้งเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนวิธีกินวิธีใช้
สินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์นมจากพืช หรือ จากสารพัดถั่ว ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดในกลุ่มโปรตีนทางเลือกที่กินใช้ขายค้ากันมานาน โดยเฉพาะนมถั่วเหลือง หรือ น้ำเต้าหู้ที่ได้จากการโม่ถั่วเหลืองกรองเอาสารละลายจากถั่วเหลือง มาต้มให้สุก… ซึ่งก็ขายดิบขายดีด้วยขนาดตลาดโลก หรือ Global Market Size ในปี 2025 ซึ่งประเมินโดย Statista มากกว่า 23.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
แต่ผลิตภัณฑ์นมจากพืช หรือ นมจากถั่วสารพัดที่ผลิตด้วยเทคนิคเก่าแก่ด้วยการโม่ถั่วทำเป็นสารละลาย แล้วนำมาต้มสุกขายแบบที่มีมาตั้งแตโบราณนั้น… ถึงปัจจุบันยังถือว่ามีช่องว่าง หรือ Gap หลายมิติท้าทายวิทยาการด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารทางเลือกที่มุ่งเป้าทดแทนสินค้าเดิมในตลาดอย่างผลิตภัณฑ์นม ทั้งจากสัตว์และพืช ซึ่งในเชิงวิทยาการอาหารก็ถือว่าต่อยอดจากนมถั่วเหลือง ที่ยังมีข้อบกพร่องเชิงโภชนาการที่ไม่สามารถชดเชยโปรตีนเทียบเท่านมจากวัวได้เลย
ปี 2014… Ryan Pandya และ Perumal Gandhi ได้พาโครงการ Synthetic Milk หรือ นมสังเคราะห์ ชื่อโครงการ Muufri Milk เข้าโปรแกรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพในเมือง Cork ประเทศ Ireland ซึ่งการเปิดตัวแนวคิดการสังเคราะห์เวย์โปรตีน หรือ Whey Protein ด้วยโครงสร้างพันธุกรรมเลียแบบเวย์โปรตีนจากนมวัว แต่หมักบ่มจากคาร์โบไฮเดรทพืช… ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์นมจากโปรตีนพืชอย่างนมจากถั่วต่างๆ อย่างสิ้นเชิง… พวกเขาได้เงินลงทุนก้อนแรกจาก IndieBio SynBio เพื่อเริ่มทำงานที่ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ ยังได้รับทุนสนับสนุนจาก Isha Datar จาก New Harvest ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยอาหารจากเส้นใยพืช… กระทั่งปี 2016 เมื่อสินค้าต้นแบบพร้อมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว… พวกเขาจึง Re-Brand จาก Muufri Milk เป็น Perfect Day และ พาสตาร์ทอัพนมสังเคราะห์เข้าสู่เฟสการขยายธุรกิจ หรือ Scaling Phase
Perfect Day เป็นสตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา เพราะผู้ก่อตั้งทั้งสองเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสหรัฐอเมริกาอยู่ก่อน… ส่วนที่น่าสนใจที่สุดของแนวคิดการปั้นธุรกิจภายใต้แบรนด์ Perfect Day ก็คือ… พวกเขาเลิกคิดเรื่องผลิตนมทางเลือกขาย แบบที่คนสตาร์ทอัพเรียกว่า Pivot Business Model จากแนวคิด Muufri Milk ไปเป็นสินค้าแปรรูปสินค้าอาหารจากนม Generation 2nd แทน
ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา… Perfect Day จึงขยับขยายการจากการค้าปลีกนม ไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร กระทั่งได้เปิดตัวไอศกรีมจากเวย์โปรตีนพืชแบรนด์ Perfect Day โดยทดสอบตลาดแบบจำกัดจำนวน เพียง 1,000 กระปุก ขนาด 3 ไพนต์ หรือ Pint ที่ราคา 60 ดอลลาร์… ปรากฎว่าขายเกลี้ยงในเวลาไม่นาน
ตุลาคม ปี 2020… Bob Iger ซึ่งเกษียณจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธุรกิจบันเทิงแสนล้านดอลลาร์อย่าง The Walt Disney Company ก็ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารใน Perfect Day ซึ่งมีเทคโนโลยี Bioengineered และ เป็นเจ้าของสายพันธ์ Microbiota สำหรับการทำ DNA Sequences ร่วมกับวัตถุดิบจากพืชในขบวนการหมักบ่มเฉพาะจนได้น้ำนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการเทียบเท่านมจากวัว
Perfect Day ปัจจุบันมีนักลงทุนรายใหญ่จากฮ่องกงชื่อ Horizons Ventures และ รายใหญ่สุดๆ จากสิงคโปร์ชื่อ Temasek Holdings ใส่เงินทุนให้แล้วไม่น้อยกว่า 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่ากลายเป็น Pony ไปแล้วสำหรับการเติบโตของสตาร์ทอัพ… และ การกลายเป็น Unicorn หรือสตาร์ทอัพมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐคงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอีกต่อไป
Perfect Day ในปี 2021… ถูกจัดอยู่ในรายชื่อ The 10 most innovative food companies of 2021 หรือ 10 อันดับธุรกิจอาหารที่มีนวัตกรรมดีที่สุด ประจำปี 2021 โดยสื่อธุรกิจชื่อดังอย่าง Fast Company โดยได้อันดับ 2 ในกลุ่มธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นรองธุรกิจเนื้อทางเลือกแบรนด์ Puris เท่านั้นเอง
References…