Performance Management… การบริหารผลการปฏิบัติงาน #DataDrivenOrganization

การบริหารองค์กรในยุค “ข้อมูล” ที่ผู้บริหารทุกระดับ ตั้งแต่สูงสุดในองค์กรไล่ไปจนถึงหัวหน้าทีมย่อยที่นำการขับเคลื่อนเป้าหมายในความรับผิดชอบ ต่างก็ใช้ระบบสารสนเทศขององค์กร และ เครื่องมือสื่อสารดิจิทัลหลายช่องทางในการผลักดันผลงาน โดยทั้งระบบสารสนเทศขององค์กร และ ช่องทางการสื่อสารต่างๆ ในโครงข่ายดิจิทัล ก็ล้วนแต่มี “บันทึก” ข้อมูลการสื่อสาร และ รายการแบ่งปันทรัพยากรระหว่างทำงานร่วมกันอย่างละเอียดบันทึกไว้เสมอ… 

ประเด็นก็คือ… ข้อมูลการสื่อสาร และ รายการแบ่งปันทรัพยากรนี้เองที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้พัฒนาโมเดลประสิทธิภาพการทำงานของทีม และ องค์กรให้ดีขึ้นไปได้อีก… หลายองค์กรจึงเริ่มมีการใช้ “ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Management Systems” ซึ่งก็มีหลายๆ องค์กรที่ผู้บริหารอยากใช้ PMS หรือ Performance Management Systems แต่ก็ถูกต่อต้านจากพนักงานส่วนใหญ่ที่มองว่าเป็น “การประเมินผลงานแบบเรียลไทม์” ที่น่ากังวลว่าจะทำให้ตนถูกจับจ้องตลอดเวลามากกว่าจะมองเห็นโอกาสการเติบโตต่อยอดขององค์กร ซึ่งถ้าผู้บริหารและฝ่ายจัดการ… โดยเฉพาะฝ่าย HR ที่นำใช้ PMS หรือ Performance Management Systems เพื่อวัดผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Measurement เพียงมิติเดียว… พลัง และ ประสิทธิภาพของหรือ Performance Management Systems และ วัฒนธรรมการบริหารผ่าน “การบริหารผลการปฏิบัติงาน” ที่ส่งเสริมการเติบโตไปด้วยกันก็คงด้อยลงอย่างน่าเสียดาย

การทำ Performance Management ที่ดีจะเป็นขั้นตอนการสื่อสารด้วย “คำชี้แนะกลับอย่างต่อเนื่อง หรือ Continuous Feedback” ในระหว่างการสื่อสารภายในทีมเพื่อผลักดันเป้าหมายให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย หรือ ดีกว่านั้น… การทำ Performance Management ซึ่งมีหลักการ และ ระบบภายใต้ “วัฏจักรการบริหารผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Management Cycle” จึงควรถูกใช้ในฐานะเครื่องมือการจัดการ มากกว่าจะถูกใช้ในฐานะเครื่องมือบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยตรง… ถึงแม้จะใช้ประเมินคนทำงานได้จากผลงานของพวกเขาก็ตาม ซึ่งวัฏจักรการบริหารผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Management Cycle ประกอบไปด้วย

  1. Planning หรือ การวางแผน… อันเป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมโดยไตร่ตรองให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่จะผลักดันขับเคลื่อน
  2. Monitoring หรือ การติดตาม… ซึ่งเป็นขั้นตอน กระบวนการ และ ความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผน
  3. Developing หรือ การปรับปรุง และ พัฒนา… โดยเฉพาะตัวแปร และ กลไกการทำงานที่ยังเป็นปัญหา มีอุปสรรค และ พัฒนาให้ดีกว่าเดิมได้อีก
  4. Rating หรือ การประเมินให้คะแนน… ซึ่งจะเป็นขั้นตอนการนำผลงานไปเทียบกับมาตรฐาน และ เป้าหมายที่ออกแบบไว้ตามแผน ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับ “ผลงานระดับบุคคล” ที่จะถูกประเมินโดยปริยายรวมอยู่ด้วย
  5. Rewarding หรือ การให้รางวัล… ผลงานที่ดีต้องชมเชย และหรือ ให้รางวัลเพื่อส่งสารถึงคนทำผลงานว่ามีคนเห็น ส่วนผลงานที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขอีก ก็ยิ่งต้องสื่อสารให้คนทำผลงานได้รับรู้ถึงโอกาส และ การสนับสนุนเพื่อให้ได้ผลงาน และ ผลการปฏิบัติงานตามแผน และ เป้าหมายที่วางไว้

อย่างไรก็ตาม… การทำ Performance Management ซึ่งขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลักอย่างในปัจจุบันจะมีทางเลือกอยู่สายเดียวให้เริ่มต้นครับ… Performance Management Systems

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *