โดยธรรมชาติ… เราทราบดีอยู่แล้วว่าสมองของเราเรียนรู้ตลอดเวลา แต่รูปแบบหรือสไตล์ที่สมองชอบ หรือจะเรียกว่าตัวเราชอบก็ไม่ผิด… บ้าง “ชอบเรียนรู้” จากหนังสือหนา ข้อมูลแน่นๆ… บ้าง “ชอบเรียนรู้” จากหนังสือประกอบภาพ ขอภาพเยอะๆ ข้อความไม่มาก… บ้าง “ชอบเรียนรู้” จากการฟัง ดู หรือลงมือทำ
ท่านกำลังอ่านบทความชุด… ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเผยแพร่เป็นชุดความรู้แบบหลายตอน อ้างอิงหนังสือชื่อ The Adult Learner: The definitive classic in adult education and human resource development ของ Malcolm S. Knowles และคณะ… และตอนนี้เป็นประเด็น แนวทางการนำใช้ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ในแนวทางที่ 5 จาก 6 แนวทางหลักแล้ว ตอนนี้เป็นตอนที่ว่าด้วย … Personal Adult Learning Style Inventory และตอนนี้เป็นตอนต่อจาก Self-Diagnostic Learning Model ครับ
ความจริง… ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่มีมานานกว่าแนวทาง Learning Style Inventory มาก ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างสำคัญก็คือ แนวทางการจัดการศึกษาผู้ใหญ่ทุกรูปแบบ ต่างมีจุดเด่นจุดด้อยในตัวที่ไม่สามารถใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็สามารถ “พาผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมด”
แต่กรณีของ Learning Style Inventory จะต่างออกไปเนื่องจากเป็นรูปแบบที่ “มีคลังทรัพยากรการเรียนรู้หลายรูปแบบ” เตรียมไว้สนองตอบต่อ “สไตล์การเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน” จนถึงขั้นที่เรียกได้เต็มปากว่า… Personalized Learning หรือ Individualized Instruction หรือจะเรียกว่า Personal Learning Environment and Direct Instruction ก็ยังได้
ทรัพยากรการเรียนรู้ในคลังหลักสูตรที่ว่านี้… จะถูกเตรียมไว้ให้ทุกคนเข้าถึงและจัดการทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ “ได้อย่างอิสระภายใต้การดูแล”
ประเด็นก็คือ Learning Style Inventory เป็นรูปแบบการประยุกต์ใช้ทฤษฎี Experiential Learning Model หรือ ELM ของ Dr. David A. Kolb ศาสตราจารย์จาก Case Western Reserve University ใน Cleveland, Ohio และผู้ก่อตั้ง Experience Based Learning Systems… ผู้พัฒนา Learning Style Inventory หรือที่ในแวดวงนักการศึกษาเรียกว่า Kolb’s LSI นั่นเอง
ซึ่ง Kolb’s Experiential Learning Model จะมีแนวทางนำไปปฏิบัติผ่านวงจรการเรียนรู้ที่มี 4 ขั้นตอนคือ… การให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ หรือ Concrete Experience… แล้วให้ได้รับฝึกการสะท้อนคิด หรือ Reflective Observation… ให้สรุปหลักการเหตุผลจนเกิดเป็นความรู้ใหม่ของตน หรือ Abstract Conceptualization… เเละขั้นตอนสุดท้ายคือ การฝึกการนำเอาความรู้ใหม่ไปลองปฏิบัติอีกครั้ง หรือ Active Experimentation… ซึ่งทฤษฎี Experiential Learning Model หรือ ELM ของ Dr. David A. Kolb จะใช้เป็นเเนวคิดพื้นฐานหลักในการจัดการเรียนการสอนทางเเพทยศาสตร์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
ในบทความตอนนี้จะขอข้ามรายละเอียดทฤษฎี Kolb’s LSI ไปก่อน… ให้ทราบไว้เป็นเบื้องต้นก่อนว่า Learning Style Inventory ในหนังสือ The Adult Learner ของ Malcolm S. Knowles คือกรอบทฤษฎี Kolb’s LSI หรือ Kolb’s Learning Style Inventory นั่นเอง
กลับเข้าเนื้อหา Learning Style Inventory ในหนังสือ The Adult Learner ของ Malcolm S. Knowles… และข้ามไปดูคำแนะนำการใช้แบบ Andragogy หรือ Adult Learner ซึ่ง… หนังสือแนะนำแนวทางง่ายๆ ด้วยการสร้างทางเลือกเพิ่มเติมบนวัตถุประสงค์การเรียนรู้แต่ละหน่วยย่อย โดยกำหนดทางเลือก A หรือ B ให้ผู้เรียนได้เลือกวิธีของตัวเอง และ ยังอนุญาตให้ผู้เรียน เลือกใช้ทรัพยากรในตัวเลือกได้ทั้ง A และ B ได้ด้วย… หรือแม้แต่ไม่เลือกแนวทางที่มีให้ในคลัง หรือ Inventory เลยทั้ง A และ B ก็ได้… ดูภาพประกอบน๊ะครับ
ความหมายของตัวแปรการเลือก A และ B
- A = I agree fully with statement A หรือ ตกลงใช้แนวทาง A ทั้งหมด
- A>B = I agree more with statement A than B หรือ ตกลงใช้แนวทาง A และ B แต่ให้น้ำหนักกับแนวทาง A มากกว่า
- NANB = I do not agree with either statement A or B หรือ ปฏิเสธการใช้แนวทางทั้ง A และ B
- B>A = I agree more with statement B than A หรือ ตกลงใช้แนวทาง A และ B แต่ให้น้ำหนักกับแนวทาง B มากกว่า
- B = I agree fully with statement B หรือ ตกลงใช้แนวทาง B ทั้งหมด
โดยส่วนตัวผมมองว่า… Learning Style Inventory ในหนังสือ The Adult Learner ของ Malcolm S. Knowles เป็นกลยุทธ์การเล่นกับสมองของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนถูกดึงเข้าสู่เนื้อหาบทเรียน ในบทบาทของคนกำหนดตัวเลือกและเส้นทางเรียนรู้โดยอัตโนมัติ… และเกิดพันธะ หรือ Engage กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ไปแล้วเมื่อพิจารณาตัวเลือกต่างๆ แม้จะอ่านหยาบๆ ข้ามๆ ไปก็ตาม
ซึ่งในหนังสือ The Adult Learner ของ Malcolm S. Knowles เองก็เปิดเผยตรงไปตรงมาว่า… Personal Adult Learning Style Inventory เป็นการใช้ Instrument หรือเครื่องมือช่วยกระตุ้นการเรียนรู้อยู่แล้ว… สร้างทางเลือก A/B ขึ้นมาก่อน แล้วโยนไปให้ผู้เรียนตัดสินใจเลือกเองว่าเอายังไงกับเส้นทางการบรรลุวัตถุประสงค์ 5 ทาง… ก็ในเมื่อผู้เรียนเลือกเอง การใส่คำว่า Personal เข้าไปในโมเดลนี้จึงสมเหตุสมผลอย่างยิ่ง… และอย่าแปลกใจถ้าจะเห็นนักพัฒนาหลักสูตรการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์… ดำดิ่งคลั่งไคล้ Learning Style Inventory กันมาก… เพราะสายอาชีพนี้ เขาสอนคนกันแบบโตๆ กันแล้วนั่นเอง
อ้างอิง