Artificial intelligence หรือ AI กำลังกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการปฏิรูปอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล อุตสาหกรรมธนาคาร อุตสาหกรรมพลังงาน รวมทั้งระบบนิเวศการค้าปลีกทั้ง Online/Offline และ อื่นๆ อีกมากมายในทุกๆ กิจกรรมที่ข้อมูลทำให้ห่วงโซ่และระบบนิเวศดั้งเดิมถูกขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมการศึกษาเองก็เป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่ AI สามารถเข้ามาช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิมได้มากมายเกือบทุกด้าน… โดยเฉพาะการช่วยให้ผู้เรียนได้รับคุณค่าสูงสุดไปจากกลไกทางการศึกษาได้ดีกว่าเดิม
บทความจาก Harvard Business Review เรื่อง How AI and Data Could Personalize Higher Education โดย Lasse Rouhiainen ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Artificial Intelligence และ Disruptive Technologies ซึ่งได้พูดถึงความท้าทายในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ชัดเจนว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบการศึกษาอันต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปตามนิยามของคำว่า Higher Education โดยเฉพาะการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป… โดยมีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์มาใช้สำหรับจัดการศึกษาแบบ PL หรือ Personalized Learning เพื่อทำให้ “กิจกรรมการเรียนรู้ และ โปรแกรมพัฒนาทักษะให้ผู้เรียน” ถูกจัดสรรถึงผู้เรียนแบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายคน… ซึ่งจะทำลายความด้อยของระบบการศึกษาแบบ One Size Fits All แบบดั้งเดิมที่มีปัญหาซ้อนปัญหามากมาย
คำแนะนำจาก Lasse Rouhiainen เกี่ยวกับการนำ AI มาสู่ระบบการศึกษามีว่า… ให้เริ่มต้นที่ “ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data” โดยเฉพาะข้อมูลของผู้เรียนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการจัดการศึกษาแบบ Personalized Learning…
แต่ปัญหาและความท้าทายในการทำงานบนข้อมูลส่วนบุคคลกับกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาก็คือ… คนวัยนี้มีทักษะ และ ความสามารถในการจัดการ “ข้อมูลส่วนตัว หรือ ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data” ได้ค่อนข้างดี… นั่นหมายความว่า การจะนำข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียนมาใช้จำเป็นต้องติดตาม และ จัดเก็บด้วยจรรยาบรรณด้านข้อมูลที่ยึดหลักจริยธรรม ปลอดภัย และ โปร่งใสจนเป็นที่ประจักษ์ ส่วนการสังเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิในทุกๆ กรณี… โดยเฉพาะข้อมูลสังเคราะห์จากปัญญาประดิษฐ์ก็จำเป็นจะต้อง “นำใช้โดยหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ และ เปิดเผย”โดยขาดความรับผิดชอบ
ส่วนบริการการศึกษาที่สามารถนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาให้บริการได้ทันทีที่ Lasse Rouhiainen แนะนำให้ทำทันทีก็คือ Chatbots… โดยมีกรณีศึกษาจาก University of Murcia ในประเทศสเปน ซึ่งได้ทดสอบใช้งาน AI Chatbot เพื่อตอบคำถามของนักศึกษาเกี่ยวกับวิทยาเขตและสาขาวิชา… โดยเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบของโรงเรียนพบว่าสามารถตอบคำถามได้มากกว่า 38,708 คำถาม โดยตอบถูกมากกว่า 91% ได้ตลอดเวลาโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาทำการ นอกจากนั้นยังพบว่า Chatbot ของ University of Murcia เพิ่มแรงจูงใจให้กับนักศึกษาอย่างมีนัยยะสำคัญ…
การหาทางนำ Chatbots มาใช้เป็นสื่อกลางทางการศึกษา… ทั้งเพื่อแบ่งเบา และ เพิ่มเติมช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้สอนและสถาบัน กับ ผู้เรียน รวมทั้งการนำ Chatbots เข้ามาใช้งานร่วมกับระบบอัตโนมัติบนโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่ถูกใช้ในกลไก eLearning ทั้งระบบ… ที่สถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ล้วนมีใช้ และ กำลังพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน… น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้ AI ในระบบการศึกษาที่สามารถทำได้ทันทีโดยไม่กระทบโครงสร้างการเปลี่ยนผ่านที่ต้องตัดสินใจยากจนเกินไป… และ Chatbots นี่เองที่มีความสามารถในการโต้ตอบแบบส่วนตัวกับผู้เรียนได้จริง
ส่วนความท้าทายในการนำ AI มาใช้โดยตรงกับงานวิชาการ และหรือ การฝึกทักษะผู้เรียนโดยตรงนั้น… ในทางเทคนิคยังถือว่าเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการนำ AI มารับผิดชอบงานสอนโดยตรง… โดยเฉพาะงานสอนแบบ PL หรือ Personalized Learning ซึ่งต้องยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน Digital Education ทั้งระบบให้สามารถรองรับการจัดการองค์ความรู้ในยุค Leveraging Collective Knowledge ที่องค์ความรู้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในเกือบจะทุกมิติ… ซึ่งเป็นยุคที่ 3 ตามแนวทางที่ Nancy Dixon ได้แบ่งยุคของ KM เอาไว้ในบทความเรื่อง The Three Eras of Knowledge Management… หรือ อะไรที่ใกล้เคียงกับนิยามนี้ให้ได้ก่อน!
ซึ่งต้องใช้เวลาอีกพอสมควร…
References…