การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปถือเป็นเรื่องธรรมดาระดับ “สัจธรรม” ที่เกิดกับทุกสิ่งอย่างเป็นธรรมชาติ… แต่การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อ “บริหารความเสี่ยง” ถือเป็นเรื่องไม่ธรรมดาจนปล่อยให้อะไรๆ เป็นไปตามธรรมชาติไม่ได้แน่ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกินระดับธรรมดาโดยทั่วไป จะไม่สามารถประเมิน “สถานการณ์ลำดับถัดไป” ได้อย่างชัดเจน ซึ่งหลายกรณีเข้าข่ายมืดมนจนน่ากลัวก็มี
แน่นอนว่า… การเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองสถานการณ์ลำดับถัดไปที่ยังไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่ต้องการภาวะผู้นำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ อย่างมาก ไม่ว่าองค์ประกอบและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการเปลี่ยนแปลงจะกี่คนหรือมีเพียงคนเดียวก็ตาม… ถึงตรงนี้ ผู้นำ หรือ Leader ต้องใช้ภาวะผู้นำ หรือ Leadeship กำหนดจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่วนใหญ่จะเบี่ยงทิศทางออกจากเป้าหมายปลายทางเดิม หรือไม่ ก็เปลี่ยนวิธีบรรลุเป้าหมายปลายทางก็ได้
ประเด็นก็คือ การหาหรือกำหนดจุดเปลี่ยนในทางเทคนิค มักจะมีเงื่อนหรือหลักให้เลือกอยู่เสมอว่าจะต้องเปลี่ยนอะไรและไม่ต้องเปลี่ยนอะไรอยู่ด้วยกันเสมอ… ถึงแม้หลายกรณีจะเป็น “ภาวะจำยอม” เพราะสถานการณ์บังคับให้ปรับเปลี่ยนและสุกงอม จนเหลือทางเลือกน้อยนิดถึงขั้นเหลือทางเลือกหนึ่งเดียวก็มี… ซึ่งความจำเป็นจนต้องมีคำแนะนำเรื่องการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงจึงไม่เกินเลย ทั้งนี้ก็เพื่อที่อย่างน้อยๆ จะได้เหลือทางเลือกมากกว่า “ภาวะจำยอมทางเดียว” ในสถานการณ์ถูกบังคับให้เปลี่ยน…
คำถามสำคัญก็คือ ถ้าต้องปรับเปลี่ยนแล้วต้องแค่ไหนอย่างไร โดยเฉพาะคำถามสำคัญสุดๆ ที่ว่า… แค่ไหนไม่น้อยเกินไปจนพลาดโอกาส และ แค่ไหนไม่มากเกินไปจนทำลายโอกาสนั่นเอง
บทความจาก Strategy-Business.com ซึ่งเรียบเรียงโดย Eric J. McNulty ได้สรุปหนังสือหลายเล่มผ่านบทความชื่อ Find your pillar before you pivot หรือ ค้นหาเสาหลักให้พบก่อนที่ท่านจะเปลี่ยนทิศ… ซึ่ง Eric J. McNulty ชี้ให้เห็นจุดใหญ่ๆ ที่สำคัญให้ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องปรับเปลี่ยน… โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนระดับองค์กร ที่ต้องค้นให้พบ Pillars หรือเสาหลักทั้ง 4 ก่อน… ได้แก่
1. Consistent Values หรือ คุณค่าที่มีมายาวนาน… อะไรก็ตามที่สะสมและสั่งสมมานาน และ ยังคงคุณค่าต่อเป้าหมาย… หลายกรณีอาจจะเป็นการยากที่จะค้นหาคุณค่าที่อาจจะแฝงอยู่ในบริบทอื่นๆ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ถึงขั้นต้องวิเคราะห์ตีความก็น่าจะเห็น “ประโยชน์และผลประโยชน์” ที่ได้จากบางอย่างในบริบทซึ่งรวมหลายอย่างที่ต้องเปลี่ยนแปลงปนๆ กันอยู่…
2. Core Principles หรือ หลักการสำคัญ… โดยส่วนใหญ่จะเป็น “ค่านิยม หรือ คุณธรรม” อันเป็นหลักการที่ใช้สร้างและรักษาภาพลักษณ์ ชื่อเสียง รวมทั้งความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งความเชื่อมั่นไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะหมายถึงพลังในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
3. Clear Strategy หรือ กลยุทธ์ที่ชัดเจน… โดยความชัดเจนที่ว่า จะหมายถึงชัดเจนที่จะสร้างโอกาสทั้งในกลยุทธ์เชิงรุกและกลยุทธ์เชิงรับ
4. Solid Leadership หรือ ภาวะผู้นำอันแน่วแน่… เพราะการเปลี่ยนแปลงต้องการ “ชุดความคิด หรือ Mindset” เพื่อใช้เป็นหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง “ความหนักแน่นแน่วแน่” มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และ ยังเป็นเสาหลักที่ขาดไม่ได้เลยในทุกเงื่อนไข
Eric J. McNulty เลือกใช้คำว่า Pivot แทนคำอื่นกับเสาหรือฐานรากทั้ง 4 ที่แนะนำให้ยึดไว้เป็นหลัก แล้วจึงพัฒนาการเปลี่ยนแปลงต่อยอดจากฐานรากทั้งสี่ไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าถึงโอกาสให้ได้ดีกว่าเดิม… สิ่งที่น่าสังเกตุในกรอบคำแนะนำชุดนี้ก็คือ… เสาหลักทั้ง 4 ของ Eric J. McNulty จะเป็นรากฐานสำคัญที่การมีอยู่ครบทุกเสา จะเป็นภาพโครงสร้างของสถานะปัจจุบันที่ชัดเจนจนรู้ได้ว่า ต้องเปลี่ยนอะไรและไม่เปลี่ยนอะไร โดยมีเสาหลักทั้ง 4 เป็นฐานรากอันเข้มแข็งเพียงพอให้ต่อยอดจนถึงเป้าหมายทุกแบบที่กำหนดขึ้นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
การอธิบายและตีความเป็นแบบแปลแล้วตีความซ้ำหลายรอบและอธิบายในแบบ Reder น๊ะครับ… ไม่ใช่การแปลต้นฉบับแต่ยังเคารพและอ้างอิงต้นฉบับบนแก่นตามความเข้าใจแบบ Reder เหมือนเดิม… ท่านที่สนใจต้นฉบับจะมีลิงค์อยู่ใต้อ้างอิงครับ
References…