Plant Factory

Plant Factory For High Value Herb… โรงงานผลิตพืชสำหรับผลิตสมุนไพรมูลค่าสูง #RederSMEs

นับตั้งแต่ความเคลื่อนไหวเรื่องกัญชาทางการแพทย์ ได้ผ่านการรับรองเรื่องปลูกและแปรรูปตามกฏหมายไทย โดยมีองค์การเภสัชกรรม เปิดตัวโรงงานผลิตพืชสำหรับการปลูกกัญชาทางการแพทย์ ภายใต้ความร่วมมือ ซึ่งในระยะแรกมีพื้นที่ 100 ตารางเมตร เป็นระบบปลูกแบบรากลอยภายใต้แสงเทียม และ ในเฟสที่สองมีแผนที่จะขยายพื้นที่เป็น 1,000 ตารางเมตร… โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตสารสกัดกัญชาที่มีคุณภาพสูงภายในประกอบด้วยระบบเพาะเมล็ดอัตโนมัติ ระบบหุ่นยนต์ย้ายต้นกล้าอัตโนมัติ และ ระบบแสงเทียมที่สามารถปรับแต่งความเข้มและคุณภาพแสงได้สำหรับใช้ในทางการแพทย์

ประเด็นก็คือ… โรงงานปลูกพืชสำหรับผลิตสมุนไพร และ สารสกัดทางการแพทย์กำลังกลายเป็นประเด็นสำคัญทั่วโลก ซึ่งกลไกเศรษฐกิจเชิงสุขภาพในปัจจุบันตกอยู่ใต้อิทธิพลของธุรกิจยา… ธุรกิจเครื่องมือ และ อุปกรณ์ทางการแพทย์จนแทบจะทำนโยบายระดับชาติบนทางเลือกอื่นๆ ไม่ได้ นอกจาก “ต่อราคา” หรือโหดหน่อยก็ลุยใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยากันไปเลย

ในต่างประเทศก็มีโรงงานผลิตพืชต้นแบบเพื่อผลิตสารสำคัญจากสมุนไพรเช่นกัน… โดยเฉพาะการผลิตสาร Vindoline และ สาร Catharanthine จากต้นแพงพวยฝรั่ง หรือ Catharanthus Roseus ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์ตัวยารักษาโรคมะเร็งที่มีมูลค่าสูง โดยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า… การปลูกแพงพวยฝรั่งภายใต้โรงงานผลิตพืชโดยการให้แสงสีแดงในความเข้มที่เหมาะสม สามารถกระตุ้นการผลิตสารดังกล่าวได้… ในขณะเดียวกันมีการศึกษาพบว่าหากให้แสง UV-B ในความเข้มและช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่ต้นชะเอมจีน หรือ Glycyrrhiza Uralensis ซึ่งมีสาร Glycyrrhizin ที่ใช้ให้ความหวาน และ มีคุณสมบัติทางยา สามารถเพิ่มปริมาณของสารสำคัญดังกล่าวในรากได้ 

นอกจากนี้… ผลการศึกษายังบ่งชี้อีกว่า ต้นชะเอมจีน หรือ Glycyrrhiza Uralensis ที่ปลูกในระบบที่ถูกควบคุมสภาพแวดล้อมเป็นเวลา 3-6 เดือนสามารถผลิตสาร สำคัญได้เท่ากับหรือมากกว่าต้นที่ปลูกในสภาพแปลงเปิดที่มี่อายุ 3-4 ปี 

การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบางอย่างในระบบโรงงานผลิตพืช สามารถกระตุ้นการผลิตสารสำคัญจากพืชที่มีมูลค่าสูงได้ ซึ่งถือเป็น ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงข้อได้เปรียบของระบบโรงงานผลิตพืชเมื่อเทียบกับการผลิตพืชแบบดั้งเดิมในเชิงธุรกิจ

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยชี้ให้เห็นว่า… พืชสมุนไพรเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจ แต่การลงทุนในประเทศอาจต้องเน้นไปที่โรงงานผลิตพืชขนาดเล็กก่อน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี โดยมีการคาดการณ์ว่า… ช่วงปี พ.ศ. 2564-2569 จะเป็นช่วงที่โรงงานผลิตพืชเริ่มถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์ อย่างจริงจังในประเทศไทย เนื่องจากต้นทุนของระบบจะถูกลงและองค์ความรู้ของผู้ประกอบการมีมากขึ้น

เอกสารชื่อ PLANT FACTORY FOR HIGH VALUE HERB ซึ่งเป็นรายงานผลการศึกษาการบ่งชี้แนวโน้มและทิศทางการพัฒนา นวัตกรรมการเกษตรในอนาคตของประเทศไทย โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ National Innovation Agency หรือ NIA ได้สรุปปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการผลักดันโรงงานผลิตพืชสำหรับผลิตสมุนไพรมูลค่าสูง โดยสังเขปไว้ดังนี้คือ…

1. Political Factor หรือ ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง

ปัจจัยหนุ่นที่สำคัญได้แก่… นโยบายการพัฒนาฟาร์มสมุนไพร นโยบายการสกัด สารสำคัญจากสมุนไพร การสนับสนุนผู้ที่ปลูกสมุนไพร นโยบายภาษีสำหรับฟาร์มสมุนไพร การส่งเสริมสมุนไพรเพื่อใช้แทนยารักษาโรค การจัดตั้งสมาคมผลิตสมุนไพร… ส่วนอุปสรรคสำคัญได้แก่… นโยบายการจำกัดการปลูกพืชสมุนไพร การกำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรในการปลูกพืชสมุนไพร ทำให้เกษตรกรเกิดความลำบากในการทำฟาร์มสมุนไพรจากนโยบายที่รัดกุมเกินไปในการสกัดสาร การกำหนด Specification ของสารสกัดที่เข้มงวด

2. Economic Factor หรือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

ปัจจัยหนุ่นที่สำคัญได้แก่… การสนับสนุนการส่งออกสารสมุนไพรที่มีฤทธิ์ และ การส่งออกสารสมุนไพรที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งตลาดสารสกัดจากธรรมชาติกำลังเติบโต… ส่วนอุปสรรคสำคัญได้แก่…เกษตรกรขายพืชสมุนไพรโดยไม่ได้ดัดแปลง หรือ ไม่ได้สกัดสารออกฤทธิ์ ทำให้ราคาของพืชสมุนไพรมีค่าต่ำเทียบเท่าพืชไร่พืชสวนชนิดอื่น คนกำหนดราคาของพืชสมุนไพรเป็นกลุ่มนายทุน และ ผูกขาดทางการค้า รวมทั้ง Contact Farming

3. Technology Factor หรือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี

ปัจจัยหนุ่นที่สำคัญได้แก่… เทคโนโลยีการสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร… การพัฒนากระบวนการผลิตและการตรวจสอบ และ เทคโนโลยีการปลูกและเพาะพันธุ์สมุนไพรมูลค่าสูง… ส่วนอุปสรรคสำคัญได้แก่…เทคโนโลยีการสกัดและทำให้บริสุทธิ์มีราคาแพง… เกษตรกรเป็นเพียงผู้ปลูกพืชสมุนไพรที่ไม่สามารถทำการสกัดสารสำคัญออกมาได้ และ เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มยังขาดแคลน

4. Legal Factor หรือ ปัจจัยด้านกฎหมาย

ปัจจัยหนุ่นที่สำคัญได้แก่… กฎหมายคุ้มครองการค้าขายสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร… กฎหมายโรงเรือนและมาตราฐานฟาร์มสมุนไพร และ การควบคุมการผลิตและขั้นตอนการสกัดสารสมุนไพรมีพร้อมแล้ว… ส่วนอุปสรรคสำคัญได้แก่… กฎหมายควบคุมการค้าของพืชสมุนไพร… ข้อกำหนดการเพาะพันธุ์เมล็ด… กฎหมายและใบอนุญาตการทำฟาร์มสมุนไพร และ การสกัดสารออกฤทธิ์รวมทั้งตลาดการค้า

5. Environment Factor หรือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม

ปัจจัยหนุ่นที่สำคัญได้แก่… ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกสมุนไพร

และมีสมุนไพรที่มีมูลค่าสูงที่หลากหลาย ความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินและแหล่งน้ำในการทำฟาร์ม

… ส่วนอุปสรรคสำคัญได้แก่… การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ… การพัฒนาฟาร์มสมุนไพรและการสกัดจำเป็นต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก และ มีของเสียจำนวนมากชึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

ประเด็นเสนอแนะจึงมีว่า… ความสม่ำเสมอของสารสำคัญทางยา ในผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องได้รับการแก้ไข การผลิตพืชสมุนไพรในโรงงานผลิตพืช จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้เพราะสภาพแวดล้อมในระบบปลูกนั้น ถูกควบคุมให้คงที่ได้ตลอดเวลา ผลผลิตที่ได้จึงมีคุณภาพคงที่ตามไปด้วย 

ในส่วนของการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณสารสำคัญในพืชสมุนไพร… พันธุ์พืชและสารสำคัญ ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการส่งเสริมธุรกิจในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่บริษัทใหญ่บางแห่งเริ่มโครงการลักษณะนี้ไปแล้ว… 

ดังนั้นภาครัฐอาจต้องวางกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ประกอบการในเรื่องนี้ผ่านการอบรม หรือการสาธิตโดยภาครัฐเอง ซึ่งอาจสามารถทำได้โดยให้ทุนวิจัยแก่หน่วยงานภาครัฐที่มี่ศักยภาพ เพื่อปรับปรุง

พันธุ์สิ่งมีชีวิตสำหรับฟาร์มรูปแบบใหม่ และ แจกจ่ายพันธุ์เหล่านี้ให้แก่ผู้ประกอบการตามคำขอ หรือ จำหน่ายในราคาถูก

นอกจากนั้น… การพัฒนาระบบการตลาดครบวงจร และ การสร้างความเข้าใจเรื่องการตลาดแก่เกษตรกร และ พัฒนาตลาดพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรม โดยเสนอให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อวางแผนควบคุมการปลูกพืชเพื่อป้องกันสินค้าล้นตลาด และควรต้อง “พัฒนานวัตกรรมการจัดการฟาร์ม” เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขอนามัย หรือ Phytosanitary เพื่อการส่งออกและสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าไทยด้วย

ท่านที่สนใจ Plant Factory Technology สำหรับพืชสมุนไพรมูลค่าสูง ทั้งเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน SMEs และ นักลงทุน… ผมมีเครือข่ายและทีมพอจะสนับสนุนเป้าหมายให้ทุกท่านได้ครบวงจรครับ… ขอทักที่ Line ID: dr.thum ครับ!

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts