Play in Early Childhood… ความสำคัญของการเล่นในช่วงวัยก่อนเรียน #ReDucation

ความทรงจำย้อนหลังของคนส่วนใหญ่คงกลับไปไม่ถึงวัยอนุบาล ถึงแม้หลายคนจะเคยได้ยินพ่อแม่พูดเล่าเผาซ้ำเรื่องฮาๆ ในช่วงวัย 2-6 ขวบของตนมาบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครฮาด้วยเท่าไหร่หรอก ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล่าถึงช่วงเวลาหนึ่งที่เราในวัยนั้นได้อยู่กับคนเหล่านี้อย่างมีความสุข

ช่วงวัยการเป็นเด็กเล็กจนถึงวัยก่อนเรียน หรือ Early Childhood ซึ่งนักจิตวิทยาพัฒนาการเรียกรวมช่วงวัยเด็กเล็ก หรือ Toddler และ วัยก่อนเรียน หรือ Preschool เข้าด้วยกัน ซึ่งในทางสริรวิทยาจะถือเป็นช่วงวัยที่เด็กเจริญเติบโตเร็วมาก โดยเฉพาะสมองและอวัยวะทุกส่วนในร่างกายซึ่งเติบโตพร้อมๆ กับพัฒนาการที่มากับสัญชาตญาณพื้นฐาน เพื่อเป็นสิ่งมีชีวิตที่พร้อมสำหรับการดำรงค์อยู่ในฐานะสิ่งมีชีวิต ถึงแม้จะยังไม่มากพอที่จะดำรงค์อยู่ในฐานะของการเป็นผู้สืบทอดเผ่าพันธ์เชื้อสายมนุษย์ ที่ต้องพึ่งพอสมองคิด และ สมองจำที่กำลังเติบโตห่อหุ้มสมองอารมณ์อย่างอมิกดาลา หรือ Amygdala ที่ล้วนกำลังหิวโหยข้อมูลหลายรูปแบบจนเห็น “ความอยากรู้อยากเห็น” เกิดขึ้นในเด็กวัย Early Childhood อย่างชัดเจนตามตำราพัฒนาแทบจะทุกประการ

ประเด็นก็คือ… แม้ช่วงวัย Early Childhood จะ “อยากรู้อยากเห็น” แต่ก็มักจะไม่มีอะไรที่ได้รู้ได้เห็นในช่วงนั้น ถูกจำเป็นประสบการณ์เก่าได้เหมือนช่วงวัยเรียนที่เด็กๆ โตพอที่จะใช้สมองจำ และ สมองคิดสัมพันธ์กับสมองอารมณ์ได้ดีขึ้นมาก… แต่ “ความอยากรู้อยากเห็น” ในช่วงวัย Early Childhood ที่ถูกพัฒนามาอย่างดีก็ยังกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการเติบโตสู่วัยเรียนได้อย่างสำคัญ

Pamela Li ซึ่งเป็น Founder และ Editor-in-Chief จาก Parenting For Brain ได้พูดถึงการเรียนรู้ของเด็กช่วงวัย Early Childhood ซึ่งเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็นถึงขั้นต้องหา “ของเล่น” ให้เด็กวัยนี้ได้ปลดปล่อยความอยากรู้อยากเห็นที่มีอยู่ในตัวเด็กวัย Early Childhood เหมือนๆ กันหมดทั่วโลก… ซึ่งถ้าไม่มีของเล่นให้พวกเขา เด็กช่วงวัย Early Childhood ก็จะไม่ต่างจากลูกจิงโจ้ หรือ ลูกลิง ที่เกาะพ่อแม่ไปเรื่อยๆ รอวันหากินเองตามสัญชาตญาณเท่านั้น

ความเห็นของ Pamela Li สอดคล้องกับนักจิตวิทยาส่งเสริมพัฒนาการทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญกับของเล่นเด็กช่วงวัย Early Childhood และ ช่วงวัยก่อนเรียน หรือ Preschool อายุ 3-6 ปี… กรณีของ Prof. Dr. Roberta Michnick Golinkoff ผู้เชี่ยวชาญด้าน Psychological and Brain Sciences and Linguistics and Cognitive Science หรือ ประสาทวิทยาและจิตวิทยาและภาษาศาสตร์และพุทธิปัญญา จาก University of Delaware… และยังเป็นผู้ผลักดันสำคัญในการพัฒนา Children’s Museums ใน 50 รัฐทั่วสหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ของเด็กวัยก่อนเรียนที่เน้นการเล่นมากกว่าจะเน้นไปสวนสัตว์ หรือ พิพิทธภัณฑ์ของผู้ใหญ่… ซึ่งเด็กๆ วัยอยากรู้อยากเห็นยังไม่ได้สนใจอะไรที่ซับซ้อนขนาดนั้น… โดยเฉพาะปาหี่การแสดงสัตว์ขอเรี่ยไรเด็กกับผู้ปกครอง… ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นของ Prof. Dr. Roberta M. Golinkoff และคณะ ซึ่งส่วนหนึ่งทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ Children’s Museums และ พ่อแม่ผู้ปกครอง… ซึ่งทุกความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในงานวิจัย “รู้สึกได้” ตรงกันถึง “ความสนุกสนาน” ช่วยให้เกิดความท้าทายที่สมดุลย์กับความอยากรู้อยากเห็นของเด็กที่ต่างก็ “พึงใจอย่างเห็นได้ชัด” ว่าเด็กๆ เหล่านั้นหาสิ่งที่อยากรู้อยากเห็นได้จากของเล่น

Children’s Museums ของบ้านเราประเทศไทยมีที่ไหนบ้างน๊ะ!!!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts