PoC and Prototyping… การทดสอบความเป็นไปได้ของไอเดีย และ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ #InnovationDev

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ครั้งแรกของโลก หรือ การอัพเกรดผลิตภัณฑ์ และหรือ การบริการเดิมเพื่อให้ดีกว่าเดิม… ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จำเป็นจะต้องหาไอเดียในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มานั่งคุยกันเพื่อระดมสมอง ซึ่งทั้งหมดมักจะเริ่มต้นที่ “ปัญหาที่ต้องแก้” ทั้งที่เป็นปัญหาทั่วไป และ ปัญหาที่สร้างความขุ่นข้องหมองใจ หรือ ปัญหาสร้างบาดแผลให้คนที่เกี่ยวข้องแบบที่เรียกว่าเป็นปัญหาสร้าง “ประเด็นเจ็บปวด หรือ Pain Point” ทั้งจากตัวผลิตภัณฑ์ และ ห่วงโซ่การใช้งานผลิตภัณฑ์ซึ่งกระทบลูกค้าหรือผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์

ประเด็นก็คือ… เมื่อจับคู่ Pain Point เข้ากับไอเดียการแก้ไขปัญหาที่พบ จะกลายเป็นเป็นไอเดียในการพัฒนาอะไรบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเป็นอย่างน้อย… แต่ไอเดียในการพัฒนา กับ การลงมือพัฒนาในเกือบทุกกรณีมักจะต้องเลือกลงมือพัฒนาได้เฉพาะบางไอเดีย หรือ เพียงหนึ่งไอเดียที่ดีที่สุดก่อน… การเลือกหนึ่งไอเดียมาพัฒนาจริงในหลายกรณี… จึงจำเป็นจะต้องมีการทดสอบ และ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดตามที่คิดไว้หรือไม่?… พบปัจจัยและตัวบ่งชี้ความเป็นไปได้หรือไม่?… ต้องปรับปรุง หรือ เปลี่ยนปัจจัยอะไรอีกหรือไม่? รวมทั้งการประเมินความสำเร็จล้มเหลวก่อนการพัฒนาจริง… นักพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงต้องหาโซลูชั่นมาทำ PoC หรือ Proof-of-Concept เพื่อเอาผลทดสอบไอเดียไปใช้ในการพัฒนาต้นแบบ หรือ Prototype ในลำดับต่อไป

PoC หรือ Proof-of-Concept เป็นเครื่องมือตรวจสอบความเป็นไปได้ของไอเดียในการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่โปรแกรมเมอร์ และ นักพัฒนาซอฟท์แวร์… ใช้ทดสอบแนวคิดในการพัฒนาระบบ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่มีทางเลือก และ ตรรกะให้เลือกใช้มากมายตามบริบทของระบบและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะระบบและผลิตภัณฑ์แนวคิดใหม่ที่ยังไม่เคยมีต้นแบบให้เห็นมาก่อน… แต่ PoC หรือ Proof-of-Concept ในปัจจุบันถูกปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกือบทุกประเภท โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มาจากไอเดียนวัตกรรม ที่บางไอเดียอาจ “ไม่มีความทับซ้อนด้านสิทธิบัตร” เลยแม้แต่เปอร์เซนต์เดียวก็ได้

ในโลกความจริงของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ บริการทั้งหลายเพื่อแก้ปัญหาขัดข้องหรือสร้างบาดแผลให้ลูกค้า และหรือ ผู้ใช้บริการนั้น… คนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไอเดีย หรือ Ideation ส่วนหนึ่งจะยังสับสนกันการทำ PoC และ การสร้าง Prototype หรือ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ซึ่งในทางปฏิบัติ… เฟสของการทำ PoC จะเป็นช่วงของการเลือกเทคนิค และหรือ เทคโนโลยีมาทดสอบไอเดีย ซึ่งจะเป็นการทดลอง หรือ ทดสอบเพื่อหาข้อสรุปให้ตรงตามไอเดียก่อน… จากนั้นจึงจะนำโมดูลที่ต้องใช้ หรือ ชิ้นส่วนที่จำเป็นทั้งหมดมาสร้างต้นแบบ หรือ Prototype ขึ้น เพื่อนำไปสู่การทดลองใช้งานต้นแบบในสภาพแวดล้อมการใช้ประโยชน์จริง หรือ การทำ Pilot Study… ก่อนจะนำข้อมูลที่ได้จากการทำ Pilot Study ไปสร้าง Minimum Viable Product หรือ MVP ซึ่งจะมาพร้อมฟังก์ชั่นที่สามารถแก้ไข Pain Point หลักๆ ที่ไอเดียการพัฒนาในครั้งนี้เจาะจงเอาไว้

สรุปว่า… PoC เป็นขั้นตอนทางเทคนิคเพื่อเลือกสรรเทคโนโลยี และหรือ วัสดุอุปกรณ์…ในขณะที่การทำต้นแบบ หรือ Prototype จะเป็นการนำทรัพยากรที่ผ่านขั้นตอน PoC มาสร้างโซลูชั่นเพื่อแก้ไข Pain Point ให้ลูกค้า หรือ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์… ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา MVP อันเป็นจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ และหรือ ผลิตภัณฑ์ตัวอัพเกรดที่อาจจะเป็นได้ถึงขั้นกลายเป็นนวัตกรรมได้เสมอ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts