Education Contents หรือ เนื้อหาทางการศึกษา ในวันที่บริบททางการศึกษาถูกย้ายจากห้องเรียนขึ้น Cloud และ Digitized ภูมิปัญญาของมนุษยชาติไปเป็น Contents สารพัดรูปแบบ ซึ่งค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า… ภูมิปัญญามนุษย์ที่กลายเป็น Digital Contents ทั้งหมดจะไม่มีวันสูญหาย แม้จะเป็นความรู้เรื่องเล็กน้อยอย่างเทคนิคการสนเข็ม หรือ ความรู้เรื่องการสร้างโรงงานต่ออวกาศยานนอกวงโคจรค้างฟ้า… ทั้งหมดจะไม่มีวันสูญหายไปไหนเหมือนอารยธรรมมายา หรือ สูตรยาสมุนไพรมากมายที่สาบสูญไปกับการตายของผู้รู้และผู้สืบทอด
ประเด็นก็คือ… Contents ในปัจจุบันมีอยู่มากมายท่วมท้นในหลากหลายรูปแบบ หรือ Formats… กล่าวเฉพาะ Education Contents หรือ เนื้อหาเจาะจงใช้ทางการศึกษาเพียงมิติเดียวในห้วงเวลาที่โลกกำลังเร่งรีบปรับ Education Contents กันอย่างเร่งด่วน เพื่อส่งมอบผ่าน “สื่อดิจิทัล” ไปถึงผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาการจัดการ “ถ่ายทอดส่งผ่านองค์ความรู้” หลายมิติในช่วงเวลาเดียวกันนี้… ในขณะที่ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทำ eLearning และ Digital Learning ยังคงเป็นปัญหาเลื่อมล้ำที่เหลือปลายทางอีกยาวไกลให้พัฒนา โดยเฉพาะช่องว่างความเท่าเทียมที่ยังต้องแยกประเด็นพูดถึงไปตลอดเส้นทางยาวไกลที่ว่านี้อีกด้วย
นักการศึกษาส่วนหนึ่งที่เห็นหนังสือเรียงเต็มอยู่บนชั้นในห้องสมุด รวมทั้งตำราเรียนที่พ่อแม่มัดชั่งขายเมื่อลูกเลื่อนชั้น… จึงตั้งคำถามเรื่อง Education Contents Formats ที่ตำราเหล่านี้ควรจะถูก Digitized ให้อยู่ในรูปแบบไหนเป็นหลัก จึงจะสามารถแจกจ่ายองค์ความรู้เหล่านี้ให้ทั่วถึง และ ปิดช่องว่างความเท่าเทียมเหลื่อมล้ำให้แคบลงไปกว่านี้ได้…
งานวิจัยของ Associate Professor Dr.Khe Foon Hew จาก The University of Hong Kong ในหัวข้อ Use of audio podcast in K-12 and higher education: A review of research topics and methodologies ได้สรุปแนวทางการใช้สื่อเสียงแบบที่เรียกว่า PodCast กับ Education Contents… ถือเป็นแนวทางสำคัญในการเลือกใช้รูปแบบ หรือ Format และ Platform ที่จำเป็นในการทำ Education Contents’ Digitization เพื่อกิจกรรมทางการศึกษาเรียนรู้… ทั้งจากครูถึงครู และ จากครูถึงนักเรียน
ที่สำคัญคือ… ข้อมูลจาก PodCast.co ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มพอดแคสต์ทางเลือกที่กำลังเติบโต ระบุว่า Education Podcast หรือ พอดคาสต์ทางการศึกษากำลังเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างมีนัยยะ ถึงแม้ว่า Podcast จะไม่ใช่ตัวเลือกที่โดดเด่นถึงขั้นจะมาทดแทนการสอนโดยตรง โดยเฉพาะการสอนและติวแบบตัวต่อตัว… แต่ Podcast ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการทำ Hybrid Learning ซึ่งต้องมีทั้ง “ครูสอน และ สื่อสอน” เสริมแรงกันและกัน…
Podcast จึงถือว่าเป็นตัวเลือกที่เรียบง่าย หรือ Lean กว่าสื่อรูปแบบอื่นๆ มาก… โดยผู้ผลิตสื่อเพียงแค่ “เล่า หรือ อ่าน” บันทึกเป็นไฟล์เสียงโดยไม่ต้องจัดแสง แต่งหน้า และ หาฉากให้วุ่นวาย… ส่วนผู้เรียนก็ใช้แบนด์วิธ หรือ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพียงเล็กน้อยก็สามารถโหลด Podcast มาฟังได้ไม่ยาก และ สามารถเลือกเอาเฉพาะที่ต้องการทบทวน หรือ เสริม หรือ เฉพาะที่ต้องเตรียมความรู้ก่อนเรียน โดยไม่ต้อง “ดูไป ฟังไป อย่างตั้งใจ” เหมือนต้องเรียนรู้ด้วยการอ่าน หรือ ดูคลิปวิดีโอ หรือ เรียนกับ Interactive Contents… ส่วนจุดอ่อนเรื่องภาพประกอบ หรือ การเสริมคลิปเพิ่มเติม ก็ยังสามารถทำ Attachment Links หรือ ลิงค์แนบท้ายเพิ่มเติมได้เสมอ
ประเด็นคือ… แนวคิดการใช้ Podcast เพื่อการศึกษาไม่ได้มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ถึงขั้นจะเข้าไปทดแทนรูปแบบ หรือ ทดแทนระบบการศึกษาแบบใดทั้งสิ้น… แต่ Podcast ควรมีไว้เป็นสื่อทางการศึกษาเพื่อชดเชย “การอ่าน” ที่มีอัตราต่ำมากอยู่เดิมเป็นสำคัญ
ส่วนตัวอย่างกรณีการใช้งาน Education Podcast ทางตรง หรือ ไม่ได้ใช้เป็นทรัพยากรเพื่อผลิตเป็นสื่อรูปแบบอื่นที่น่าสนใจประกอบด้วย…
- Repurpose Lectures As Podcasts หรือ เปลี่ยนการสอนบรรยายเป็นพอดแคสต์
- Record Conversations With Others As Podcasts หรือ บันทึกการสนทนากันเป็นพอดแคสต์
- Use Storytelling As Podcasts หรือ ใช้เรื่องเล่าทำพอดแคสต์
- Get Students To Make Their Own Podcasts หรือ มอบหมายให้ผู้เรียนไปทำพอดแคสต์
- Get Students To Make Their Own Podcast Playlist หรือ มอบหมายให้ผู้เรียนทำรายการพอดแคสต์ที่ต้องฟัง
สุดท้าย… ในฐานะคนทำ Education Contents มาตั้งแต่ยุค CAI ใส่ Diskette ยาวนานจนถึงยุค VR อย่างในปัจจุบันอยากจะเรียนว่า… Podcast เป็นอะไรที่ทำง่ายที่สุดในบรรดารูปแบบ หรือ Format ในการทำสื่อ… ซึ่ง Contents เสียงอย่างพอดแคสต์ในแบบหวังผลทางการศึกษา ก็เพียงจัดการผ่าน Play List และ กิจกรรมก่อนและหลังการฟังพอดแคสต์เท่านั้นเอง… หรือไม่ก็ตรงไปที่การวัดประเมินความรู้ความเข้าใจขั้นสุดท้ายเลยก็ได้ โดยเลิกหยุมหยิมกับสมมติฐาน “กลัวผู้เรียนโกงการเรียน” จนออกแบบ Education Contents ให้มีระบบบันทึกการโต้ตอบเป็นระยะ จนกลายเป็น “ด่านอุปสรรคอันไร้สาระ และ น่าเบื่อหน่าย” สู้ไปนั่งเรียนกับครูที่ยิงมุขตลกมาแจกฮานักเรียนระหว่างสอนไม่ได้… ซึ่งครูสอนเก่งๆ สนุกๆ ในโลกนี้หายากยิ่งกว่าอะไร
โหวตให้มีพอดแคสต์ใช้เพื่อการศึกษาเยอะๆ หนึ่งเสียงครับ!
References…