Co-creation หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Co-create Experiences ซึ่งก็แล้วแต่ใครจะนิยามแบบไหนและตั้งชื่ออย่างไร แต่โดยบริบทคือการสร้าง Common Task ร่วมกันระหว่างคนหรือกลุ่มคนที่อยู่ร่วมระบบนิเวศน์เดียวกันด้วยความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งบนห่วงโซ่เดียวกัน เช่น ธุรกิจกับลูกค้า หรือครูกับนักเรียน
อย่างที่เรียนไปแล้วในบทความเรื่อง Co-creation Learning… ปฐมบท ว่า Co-creation ฝั่งธุรกิจนั้นก้าวหน้าท้าทายจนแบรนด์ระดับโลกมากมาย หันมาสร้างสีสันและมิติทางการตลาดผ่านความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ จนกลายเป็นสูตรความสำเร็จแนวทางหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาดก็ว่าได้
เมื่อต้องการนำแนวคิด Co-creation มาจับคู่กับการเรียนการสอน ผลลัพธ์ทางการตลาดที่มุ่งหวังจึงตรงไปที่ผู้เรียน “โดยไม่ทิ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้” ซึ่งหลักของ Co-creation Learning คือการดึงผู้เรียนมาร่วมรับผิดชอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ด้วยกลยุทธ์การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมและขบวนการเรียนรู้
สาระสำคัญของแนวคิดเรื่อง Co-creation Learning จากงานวิจัยเรื่อง Co-Creation in Higher Education: Towards a Conceptual Model ที่ผมใช้อ้างอิงยังคงอ้างอิงโมเดลเชิงธุรกิจที่ประกอบไปด้วย ตัวชี้วัด หรือ Indicators และ ประโยชน์ที่ได้รับ หรือ Benefits ที่อ้างอิง Product และ Value ที่ยังต้องสร้างและดึงตัวแปรย่อยตามบริบท
ประเด็น Co-creation Learning… ตัวชี้วัดทั้งหมดที่ต้องใช้เพื่อผสมผสาน หรือ Blend ในขั้น Co-creation จำเป็นต้องถอดออกมาจาก “ผู้สอน กับ ผู้เรียน” แทนที่จะเป็น Product กับ Value เหมือนฝั่งธุรกิจ ส่วนต้นทุนหรือทรัพยากรที่หุ้นส่วนทั้งสองมีก็ขึ้นอยู่กับบริบท ซึ่งต้องเตรียมหลายอย่างเพื่อให้เกิดบรรยากาศของทีมเดียวกัน… และทั้งหมดต้องเตรียมและหาหนทางประสานความร่วมมืออย่างดี
สิ่งสำคัญของการทำ Co-creation คือการออกแบบการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความรู้ใหม่ให้ผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกฝน หรือ Practice เพราะ Co-creation สร้างความตระหนักในหน้าที่พร้อมความรับผิดชอบในการเติมเต็มองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์… บรรยากาศจะคล้ายๆ ครูอาจารย์กับฝ่ายวิชาการของโรงเรียนประชุมหรือสัมนากันเพื่อให้ได้ Course Syllabus มากกว่า… ซึ่งผู้เรียนได้ Knowledge ไปตั้งแต่เข้าใจว่าต้องรับผิดชอบอะไรไปแล้ว… ส่วนขั้นการ Blend หรือ Co-creation จึงเป็นมากกว่าการเรียนรู้ไปแล้วเช่นกัน
สมมุติฐานของผมจึงมีว่า… การเข้าถึง Insight ของผู้เรียนผ่านรูปแบบ Co-creation “น่าจะ” ทำให้ผู้เรียน แบ่งปัน Personality กับ Experience ที่ผู้เรียนมีและเป็น อย่างตรงไปตรงมาจนทำให้สามารถทำ Personalized Learning ได้แม่นยำขึ้น
ผมใช้คำว่าสมมุติฐานเพื่อให้ทุกท่านทราบว่า… ข้อความหลังคำว่าสมมุติฐาน หรือแม้แต่บางส่วนก่อนหน้านั้น ผมร่างขึ้นโดยยังไม่ได้ศึกษาวิจัย หรือหาเอกสารอ้างอิงยังไม่ได้ครับ… และทราบดีว่าทั้งหมดยังมีบริบทอีกมากที่ยังท้าทายแวดวงการศึกษา โดยเฉพาะในมุมของการเข้าถึงผู้เรียนเพื่อไปให้ถึง Personalized Learning ด้วยการหาเทคนิคเข้าถึง Insights มากมายของผู้เรียนแต่ละคน… ซึ่งผมคิดว่า หากเป็นช่วงเวลาก่อนจะมีอินเตอร์เน็ตหรือ eLearning อย่างในปัจจุบัน การจะหาวิธีสื่อสารเพื่อโน้มน้าวและท้าทายให้ผู้เรียนช่วยหา Knowledge มาช่วยกัน Blend คงเป็นเรื่องยาก… เป็นโอกาสอันดีที่ปัจจุบันความรู้และ Knowledge มากมายสามารถสืบค้นได้ไม่ยากอีกแล้ว… ประเด็นของการเตรียมสอนตามแนวคิด Co-creation Learning จึงไม่ใช่การเตรียมความรู้หรือ Knowledge ไปแบ่งปันผู้เรียน แต่ผู้สอนต้องเตรียมความรู้ที่ถูกต้องครบถ้วน พร้อมประสบการณ์ที่สูงกว่า ไปช่วยเติมความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนที่มีน้อยกว่าให้กลายเป็นประสบการณ์ที่ช่วยกันสร้างความรู้ด้วยประสบการณ์ให้ผู้เรียน