ข้อมูลมีค่าคือข้อมูลที่ทำเงิน!… คำกล่าวง่ายๆ ตรงไปตรงมาเพื่อจะบอกว่าข้อมูลไม่ได้มีค่าเสมอไปตราบเท่าที่มันยังเป็นแค่ข้อมูล ซึ่งยังเอาไปทำมาหากิน หรือ เอาไปแลกเป็นเงินยังไม่ได้… แต่คำกว่าวข้างต้นก็ไม้ได้ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่มีคนกล่าวไว้นานแล้วว่า… Data is New Oil! ซึ่งเห็นภาพน้ำมันดิบที่เอาไปทำอะไรก็ไม่ได้มากนัก เว้นแต่จะกลั่นสกัด หรือ แปรรูปให้เป็นน้ำมันสำเร็จรูปเสียก่อน… ข้อมูล หรือ Data ก็เช่นกัน จะมีค่ามีราคา และ เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนเมื่อนำใช้ ก็จำเป็นจะต้องกลั่นสกัด หรือ แปรรูปแบบที่เรียกว่า “วิเคราะห์ หรือ Analysis” เพื่อแยกย่อยองค์ประกอบของข้อมูลให้พร้อมใช้ไม่ต่างจากน้ำมันเสียก่อน…
ประเด็นก็คือ… การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นการทำความเข้าใจ หรือ การพรรณาถึงข้อมูล หรือ Descriptive Analysis และ การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นแยกแยะเหตุผลกับปัจจัยที่สัมพันธ์กัน หรือ การวินิจฉัยข้อมูล หรือ Diagnostic Analysis จะถือเป็นพื้นฐานการวิเคราะห์ในระดับ “สารสนเทศ หรือ Information” เท่านั้น… ซึ่งการวิเคราะห์แบบรีวิวองค์ประกอบ และหรือ สับซอยย่อยดูตัวแปรเพื่อรู้นั้น ยังมีหลายอย่างที่ขาดหายไปหากต้องการจะให้ข้อมูลถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่าการเป็นข่าวสาร หรือ สารสนเทศธรรมดา ซึ่งคุณค่ายังมีน้อยเกินไปที่จะมีค่า… การพูดถึง Predictive Analysis หรือ การวิเคราะห์เชิงทำนาย และ Prescriptive Analysis หรือ การวิเคราะห์เชิงสังเคราะห์ผลลัพธ์ใหม่ จึงถูกดึงเข้ามาอธิบายความหมายของคำว่า “Data Analytics หรือ การวิเคราะห์ข้อมูล” ซึ่งได้ทำให้วลี Data is New Oil และ ข้อมูลมีค่าคือข้อมูลที่ทำเงิน… ถูกต้องชัดเจนขึ้นมาก

แนวคิด หรือ Concept เกี่ยวกับ Predictive Analytics หรือ การวิเคราะห์เชิงทำนาย ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีข้อมูลเข้ามาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเหตุการณ์หนึ่งๆ กับ “เหตุการณ์ และ ตัวแปร” ที่เกี่ยวข้องกับการปรากฏการณ์นั้นขึ้น เช่น ปริมาณความชื้นในอากาศเท่าใด บวกกับ ปริมาณเมฆฝนเท่าใด บวกกับความเร็วลมเท่าใด จะทำให้เกิดฝนตกด้วยปริมาณเท่าใด และ เมื่อใด ที่บริเวณใดเป็นต้น… การประยุกต์ใช้ Predictive Analytics ที่ท้าทาย และ เป็นความหวังในระดับ DeepTech อย่างแท้จริงจะเป็นการใช้ Predictive Analytics เป็นพื้นฐานในการสร้าง Digital Twin ในยุคที่ AR หรือ Augmented Reality จะเข้ามามีบทบาทในการทำนายอนาคตสำหรับทุกๆ ความอยากรู้อยากเห็นล่วงหน้าในอนาคต
ส่วนแนวคิด หรือ Concept เกี่ยวกับ Prescriptive Analytics หรือ การวิเคราะห์เชิงสังเคราะห์ผลลัพธ์ใหม่ อันเป็น “องค์ความรู้ใหม่ หรือ New Knowledge” ซึ่งแต่เดิมจะได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลจากการค้นคว้าวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยวิทยาการด้านข้อมูลที่สามารถบันทึก และ สะสมได้แทบจะไร้ข้อจำกัดอย่างในปัจจุบัน… การหาทางสังเคราะห์เอา New Knowledge จากข้อมูลมากมายที่มีอยู่ ได้กลายเป็นความท้าทายใหม่ในงานค้นคว้าวิจัย ซึ่งหลายกรณีมีความเป็นไปได้ที่จะ “ได้คำตอบ” ให้กับ Research Methodology หลายๆ โมเดลที่เพียงตั้งสมมุติฐานเพื่อหาข้อเท็จจริง… ข้อมูลย้อนหลังที่มีอยู่ก็สามารถตอบสมมุติฐานได้ถึงระดับปรากฏนัยยะสำคัญที่นักวิจัยเรียกว่าเกิด Statistical Significance หรือ มีนัยยะทางสถิติ… ให้เห็นได้เลยก็มี

ขออนุญาตข้ามที่จะพูดถึงเครื่องมือ และ เทคโนโลยีในการทำ Predictive Analytics และ Prescriptive Analytics ซึ่งมีรายละเอียดเฉพาะค่อนข้างมาก… แต่ถ้าสนใจจะแลกเปลี่ยนพูดคุยเป็นรายกรณี ท่านสามารถทักเข้ามาคุยกับผมเป็นการส่วนตัวได้ทาง Line ID: dr.thum ครับ!
References…