Math and Me

Problem Solving Cycle for VESPA Mindset

Experiential Learning Theory หรือ ELT หรือ ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ ของ David Allen Kolb นักทฤษฎีการศึกษาจาก University of Leicester นำผลการค้นคว้ามากมายมายืนยันจนได้รับการยอมรับทั่วโลกว่า มนุษย์เรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการลงมือทำ ซึ่งเป็นการสัมผัสประสบการณ์โดยตรง โดยเฉพาะเมื่อเราได้ลงมือทำและท้าทายเป้าหมายไปไกลกว่า “การอ่านและคิด” ไปถึงการลงมือทำบางอย่าง… ซึ่งทฤษฎี ELT ของ David A. Kolb ยืนยันว่า… ความรู้ความเข้าใจของเราจะเพิ่มขึ้นมากว่าอย่างชัดเจนเมื่อลงมือทำ

Steve Oakes และ Martin Griffin ผู้เขียนหนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything เองก็เชื่อมั่นตามทฤษฎี ELT ของ David A. Kolb โดยไร้ข้อโต้แย้ง และยังนำกรอบ “Experiential Learning Cycle ของ David A. Kolb” มาปรับใช้พัฒนากรอบแนวคิด VESPA Mindset ด้วยเช่นกัน… และตั้งชื่อว่า Problem Solving Cycle

Problem Solving Cycle หรือ วัฏจักรการรับมือกับปัญหา แบบของ VESPA Mindset ได้ปรับวิธีและมุมมองปัญหาโดยตรง แทนการมองด้วยกรอบระดับสร้างผลลัพธ์ทางการศึกษาแบบของ David A. Kolb… จึงส่งผลทำให้ Problem Solving Cycle สำหรับ VESPA Mindset สามารถทำความเข้าใจผ่านคำถามและแนวทางสะสางซึ่งเป็นทางเลือกมากมายเกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์โดยตรง ซึ่งเป็นขั้นการประยุกต์ทฤษฎีให้เข้ากับบริบทได้อย่างน่าสนใจ ทำให้ทฤษฎียากๆ หรือกำกวมสื่อสารกับคนทั่วไปได้เท่าเทียมตรงกัน… ซึ่ง Problem Solving Cycle สำหรับ VESPA Mindset ประกอบด้วย 

  1. Explore The Problem หรือ สำรวจตรวจสอบปัญหา… โดยตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น หรือปัญหาคืออะไร
  2. Analyse The Problem หรือ วิเคราะห์ปัญหา… โดยแยกส่วนของปัญหาที่พบออกเป็นส่วนๆ ประกอบเหตุผลที่มาที่ไปของปัญหาแต่ละส่วน ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และแต่ละส่วนสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อเชื่อมโยงภาพรวมของปัญหาว่าเกิดขึ้นเป็นมาอย่างไร?
  3. Decide A Course Of Action หรือ กำหนดกรอบการจัดการ… โดยกำหนดทางเลือก หรือตัวเลือกต่างๆ ที่จะเข้าไป “เปลี่ยนผลลัพธ์ของปัญหา”
  4. Experiment With A Course Of Action หรือ ทำสอบตัวเลือกที่กำหนดไว้… ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ทางออกของปัญหาไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและเกิดขึ้นอย่างไร ก็มักจะมีทางเลือกเพื่อเข้าไปจัดการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ของปัญหาได้หลายทาง… แต่หลายครั้งทางเลือกที่ “อยากทำ” กับทางเลือกที่ “ควรทำ” รวมทั้งทางเลือกอื่นๆ อีกมาก ก็อาจจะทำให้การตัดสินใจเกิดสับสนลังเลในการปฏิบัติก็ได้… การเลือกทางเลือกใดๆ มาทดลองทำดูก่อนว่า สามารถจัดการปัญหาได้จริงหรือไม่?… ได้ดีแค่ไหน?… และมีทางไหนที่ดีกว่านี้อีกหรือไม่?

ในหนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ให้คำแนะนำเรื่องการฝึกทักษะการรับมือกับปัญหาเอาไว้ โดยการทำตาราง 4 ช่องแบบ 2×2 ขึ้น แล้ววางกรอบคำถามวนจาก… ขวาบน มาล่างบน แล้วไปล่างซ้าย ไปจบที่บนซ้าย

โดยส่วนตัวไม่ค่อยเคร่งครัดกับเครื่องมือแนวนี้นัก แต่หลายครั้งที่นำไปแนะนำให้เด็กๆ ใช้ฝึกวิเคราะห์ปัญหา และหาทางออกมานำเสนอแบ่งปันกับเพื่อน ส่วนใหญ่จะให้บรรยากาศสนุกสนานและสร้างสรรค์บรรยากาศได้ดีไม่ธรรมดาเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อไม่กรอบเด็กๆ ว่าคำตอบไหนถูกผิด โดยเปลี่ยนไปเป็นการ “ฟังเหตุผล” แล้วต่อยอดไปสู่คำถามคำตอบอื่นๆ แทน

ลองหาวิธีเอาไปปรับไปใช้ดูก็ได้ครับ!!!


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ

  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset
  10. Creativity Organizer for VESPA Mindset
  11. Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
  12. Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
  13. Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
  14. Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
  15. Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น
  16. Adapting Testing and Performing… ปรับเปลี่ยน ลองเรียนและลุยเลย
  17. Information + Experience = Knowledge… สูตรเรียนเก่งแบบ VESPA Mindset
  18. Independent Effort Activity Design… ออกแบบกิจกรรมที่ต้องพากเพียรเรียนรู้และฝึกฝน
  19. K-SPA… เครื่องมือฟันฝ่าอุปสรรค

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts