Product Market Fit… รอยต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของสตาร์ทอัพ #SaturdayStrategy

ในวงการสตาร์ทอัพซึ่งผู้ประกอบการจะทุ่มเทพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อนำเสนอสินค้า หรือ บริการที่โดดเด่นเป็นพิเศษกว่าที่เคยมีมา โดยเฉพาะความโดดเด่นที่ประเมินผ่านเครื่องมือคำนวณ ROI หรือ Return on investment และ ยังมักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สตาร์ทอัพ “มีความได้เปรียบเหนือการแข่งขัน หรือ Competitive Advantage” อย่างชัดเจน… โดยต้องเป็นความได้เปรียบเหนือการแข่งขันที่ลอกเลียนได้ยาก หรือ อย่างน้อยก็ถูกคุ้มครองด้วยกฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา หรือ มีสัญญาผูกขาดโดยปริยายที่สามารถประเมินผลตอบแทนการลงทุนได้เนื้อๆ เน้นๆ ในแบบที่นักลงทุนเห็นเป็นต้องตามประกบจนกว่าจะได้ควักเงินให้ไปทำงาน

ประเด็นก็คือ ไอเดียในวงการสตาร์ทอัพที่วาดฝันผ่าน ROI ทั้งแบบชวนเคลิ้ม และ ชวนเครียด ล้วนถือว่าเป็นไอเดียถูกๆ ในสายตานักลงทุนที่มีเอาไว้เริ่มการเจรจา หรือ ไม่ก็เลิกการเจรจาเท่านั้น… เว้นแต่ไอเดียธุรกิจนั้นจะพิสูจน์ความเป็นไปได้จนถึงขั้นได้ทำ Product Market Fit… ซึ่งไอเดียธุรกิจและผลิตภัณฑ์ถูกปรับแต่งจนเห็นความต้องการที่แท้จริงของตลาด โดยมี “ลูกค้าตัวจริง” ชื่นชอบหลงไหลผลิตภัณฑ์ให้เห็นเป็นยอดขาย หรือ ยอดจอง หรือ การร้องขอให้รีบเอาผลิตภัณฑ์มาแก้ปัญหาของลูกค้าโดยเร็ว

สำหรับท่านที่ไม่ได้คลุกคลีอยู่ในวงการสตาร์ทอัพ… การทำ Product Market Fit จะคล้ายๆ กับการทดสอบตลาดด้วยผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ซึ่งสตาร์ทอัพจะเรียกผลิตภัณฑ์ต้นแบบว่าเป็น MVP หรือ Minimum Viable Products ซึ่งมักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบที่สุด ลงทุนไม่มาก แต่แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ดี และ เอาไปให้ลูกค้าลองใช้ประโยชน์ และ ประเมินผลิตภัณฑ์ผ่านมิติทางการตลาด 3 ด้านหลักเป็นอย่างน้อยคือ 

  1. Products หรือ ผลิตภัณฑ์… ดีพอหรือยัง? มีส่วนเกินต้องตัดออก หรือ มีส่วนขาดต้องใส่เพิ่มมั๊ย? ใช้ประโยชน์ หรือ ใช้แก้ปัญหาได้ยากง่ายแค่ไหน? มีแง่มุมอื่นๆ ให้เอาไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่?.. ฯลฯ
  2. Messaging หรือ ข้อความ หรือ สาร… ทำให้ลูกค้า และ กลุ่มเป้าหมาย “รับรู้คุณค่า” ของผลิตภัณฑ์และธุรกิจดีพอหรือยัง? เรื่องเล่าของผลิตภัณฑ์ และ เรื่องเล่าของธุรกิจสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้แค่ไหน?.. ฯลฯ
  3. Target Customer หรือ ลูกค้าเป้าหมาย… ได้ทดสอบตลาดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือ ลูกค้าตัวจริงแล้วหรือไม่? ทดสอบกับลูกค้าในจำนวนที่น่าเชื่อถือไดว่าผลิตภัณฑ์เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกค้าเป้าหมายแล้วใช่หรือไม่?.. ฯลฯ

สำหรับสตาร์ทอัพ… ขั้นตอน หรือ Process ในการทดสอบตลาดซึ่งเป็นส่วนแรกของการทำ Product Market Fit จะมีการนำข้อเสนอแนะ และ ปัญหาอุปสรรค์ กับ ข้อผิดพลาดที่พบไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ โดยอาจจะปรับปรุงแล้วนำมาทดสอบตลาดใหม่ หรือ ปรับปรุงเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจในระยะขยายขนาด หรือ Scalable อันเป็นขั้นตอน หรือ Process หลังการทำ Product Market Fit ที่สตาร์ทอัพได้เริ่มสตาร์ทเพื่อสร้างมูลค่าธุรกิจจริงๆ

นั่นหมายความว่า… ขั้นตอน และ ความสำคัญของ Product Market Fit ถือเป็นบันได หรือ สะพาน ที่สตาร์ทอัพต้องก้าวผ่านไปให้ได้ และ กลยุทธ์ที่ใช้ในการทำ Product Market Fit ให้บรรลุถึงระยะ Scalable ต้องแหลมคม และ โดดเด่นพอที่จะไม่ล้มเหลว… เพราะสตาร์ทอัพที่ล้มเหลวมักจะล้มเหลวในระยะการทำ Product Market Fit ไม่ได้ทุกราย

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts