ฟ้องทะลุฝุ่น PM 2.5 #FridaysForFuture

ปัญหาฝุ่นละอองในเขตเมืองและชุมชน โดยเฉพาะปัญหา PM 2.5 ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่มีจากทุกแหล่งข้อมูล ชี้ชัดว่ากระทบภาวะสุขภาพในระยะยาว โดยคุกคามชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างเลือดเย็นให้ตายผ่อนส่ง… ซึ่งหลายฝ่ายที่รอดูการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมเลิกคิดที่จะรอแบบเดิม

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา… นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมชมรมแพทย์ชนบท ร่วมกับ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม หรือ EnLAW และ Greenpeace Thailand พร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคม ได้เดินทางไปที่ศาลปกครองเพื่อยื่นฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ… รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อศาลปกครองกลางด้วยข้อกล่าวหาว่า… ละเลยต่อหน้าที่หรือปฎิบัติหน้าที่ในการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศฝุ่นละออง PM 2.5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบันโดยล่าช้าเกินสมควร ส่งผลให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร และ พื้นที่ภาคเหนือมีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงกว่ามาตรฐาน ทำใหัประชาชนต้องประสบปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรงมายาวนาน

ก่อนหน้านั้น… เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565… มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม หรือ EnLaw และ Greenpeace Thailand ก็ได้เข้ายื่นหนังสือต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐทั้งสองแห่งปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี พ.ศ. 2562”

แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตอบกลับและแจ้งเพียงว่า… ได้มีการวัดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ซึ่งเป็นการวัดฝุ่นละอองโดยภาพรวม ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงถึงฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน แต่อย่างใด รวมถึงกรณีแผนการแก้ปัญหาฝุ่นละออง ปี พ.ศ. 2563 ได้แจ้งว่าดำเนินการร่างยังไม่แล้วเสร็จ แม้ปัจจุบันจะเป็นปีพ.ศ. 2565 แล้วก็ตาม… ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แจ้งว่า การกำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยทิ้งอากาศเสียประเภท PM 2.5 จากโรงงาน อยู่ระหว่างการศึกษาและเตรียมจะปรับค่าให้เป็นมาตรฐานสากลต่อไป

ประเด็นยื่นฟ้องจึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ “คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ” ออกประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐาน ฝุ่นละออง PM 2.5 ในบรรยากาศทั่วไป ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล คือ ค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ที่ 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร… และค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และให้ “คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ” กับ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ออกประกาศค่ามาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียประเภทฝุ่นละออง PM 2.5 จากโรงงานอุตสาหกรรมและกิจการประเภทอื่นๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง PM 2.5 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล WHO-IT3… รวมทั้ง ให้ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม” ออกประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายสู่สิ่งแวดล้อม ให้มีค่าปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด และ เทียบเท่ามาตรฐานสากล พร้อมกับออกประกาศกำหนดประเภทสารมลพิษหรือสารเคมีที่โรงงานต้องจัดทำรายงานข้อมูล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 โดยมีการรายงานฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ในบัญชีมลพิษและสารเคมีเป้าหมาย และ จัดทำ “ทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ หรือ Pollutant Release and Transfer Register” รวมถึงมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะเพื่อให้ประชาชนภาคประชาสังคม สามารถมีส่วนร่วมตรวจสอบ ป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

ส่วนโจทก์ผู้ยื่นฟ้องในนาม “เครือข่ายภาคประชาสังคมและประชาชนที่ติดตามและผลักดันรณรงค์การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ” ประกอบด้วย

  1. มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว หรือ Greenpeace Thailand
  2. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม หรือ EnLAW
  3. มูลนิธิบูรณะนิเวศ หรือ EARTH
  4. สภาลมหายใจเชียงใหม่
  5. สภาลมหายใจภาคเหนือ
  6. นาย สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ และ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
  7. นางสาวนันทิชา โอเจริญชัย นักรณรงค์และนักสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Climate Strike Thailand

#ฟ้องทะลุฝุ่น

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts