การแส 3Rs ซึ่งเป็นแกนของเศรษฐกิจยั่งยืนสาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะประเด็นขยะและของเหลือจากต้นทางแบบต่างๆ ที่กำลังถูกพัฒนาแรวทางการใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการทางเศรษฐกิจ “ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ซึ่งหลักๆ คือการพยายามทำให้ของเหลือและขยะไร้ค่า ได้กลายเป็นของมีค่ามีราคาให้ได้มากที่สุด
แนวทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากก็คือ “การเอาขยะไปแปรรูปเป็นน้ำมัน” ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีถึงขั้นใช้ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว
การแปรรูปขยะเป็นน้ำมันจะใช้กระบวนการไพโรไลซิส หรือ Pyrolysis Process ซึ่งเป็นกระบวนการทางเคมีความร้อนที่สามาถเปลี่ยนรูปของชีวมวล พลาสติก รวมถึงยางที่ใช้แล้ว ไปเป็นเชื้อเพลิงที่มีค่าทางความร้อนสูงขึ้น
กรณีโรงต้นแบบการแปรรูปขยะเป็นน้ำมัน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีศักยภาพในการแปรรูปขยะพลาสติกด้วยกระบวนการไพโรไลซิส ให้เกิดการสลายตัวด้วยความร้อนในสภาวะปราศจากออกซิเจน… สามารถผลิตน้ำมันได้ประมาณ 4,000-5,000 ลิตรต่อวัน จากวัตถุดิบพลาสติกประมาณ 6,000 กิโลกรัม โดยขยะพลาสติกที่ได้จากโรงงานบำบัดขยะทางกลและชีวภาพ หรือ MBT หรือ Mechanical and Biological Treatment ซึ่งอยู่ในรูปของเชื้อเพลิงจากขยะระดับ 3 หรือ Refuse Derived Fuel หรือ RDF-3 ซึ่งเป็นเกรดปานกลาง… จากนั้นจะนำไปผ่านกระบวนการเตรียมวัตถุดิบโดยใช้เครื่องจับตัวเป็นก้อน หรือ Agglomerator เป็นก้อนเล็กๆ สามารถป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปน้ำมันได้อย่างต่อเนื่อง
การทำงานของเตาปฏิกรณ์ไพโรไลซิสเพื่อผลิตน้ำมันโดยหลักการพื้นฐาน จะเป็นการนำขยะพลาสติกมาเผาในเตาปฏิกรณ์จนระเหยกลายเป็นไอที่ระดับอุณหภูมิ 350-400 องศาเซลเซียส ก่อนจะกลั่นไอเป็นของเหลว ซึ่งมักจะมีองค์ประกอบทั้งน้ำมันดีเซล เนปทา และ น้ำมันเตา ซึ่งต้องนำไปกลั่นอีกรอบให้ได้น้ำมันที่สามารถนำไปใช้งานกับเครื่องยนต์ หรือ เครื่องจักรได้… ไอระเหยส่วนเกินซึ่งเป็นก๊าซธรรมชาติยังสามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลงในเตาปฏิกรณ์ได้ทั้งหมด… และกากคาร์บอน หรือ ถ่านที่เหลือจากการเผาเป็นไอก็ สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหินในงานอุตสาหกรรมได้
References…