eLearning Assessment

Qualitative eLearning Assessment Methods… วิธีประเมินผลการเรียนเชิงคุณภาพ #ReDucation

การประเมินความรู้ในผู้เรียนและนักเรียน สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ ในวันที่คำตอบจากทุกคำถามสามารถ Google เอาคำตอบได้เกือบทุกอย่าง แม้กระทั่งคำตอบที่ได้จากบทคัดย่อจากงานวิจัยทุกเล่มที่ถูกตีพิมพ์ไปแล้วในโลกนี้… การประเมินความรู้โดยการสอบแบบ Closed Book Examination หรือ ปิดห้องคุมสอบจนหมดเวลาแบบเดิม หรือ แม้แต่การมอบหมายการบ้านที่หาเฉลยให้โจทย์ได้แทบจะทุกวิชาจากอินเตอร์เน็ต… ดูเหมือนจะเป็นจุดอ่อนอันท้าทายสำคัญของการประเมินความรู้ในผู้เรียนและนักเรียน รวมทั้งการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างมาก… 

ความท้าทายในการนำ Open Book Examination มาใช้ร่วมกับ QAM หรือ Qualitative Assessment Methods หลายรูปแบบจึงถูกศึกษาวิจัย และ แนะนำในหมู่นักการศึกษาที่กำลังเปิดกว้างกับการพัฒนา และ ใช้หลักสูตรออนไลน์ รวมทั้งหลักสูตรไฮบริด หรือ Hybrid Learning ในการจัดการศึกษาหลักที่ยังต้องประเมินและทดสอบความรู้ของผู้เรียนอยู่… ส่วนกรณีหลักสูตร หรือ คอร์สการเรียนเพื่อรู้แบบ Microskills Education ทั้งฟรีและมีค่าใช้จ่าย โดยไม่มีการประเมินความรู้ใดๆ ขอยกเป็นอีกกรณีหนึ่ง… 

และต่อไปนี้คือ แนวทาง QAM หรือ Qualitative Assessment Methods ที่ถูกเสนอให้นักการศึกษา ได้พิจารณามีไว้เพื่อใช้พัฒนาเครื่องมือประเมินความรู้ในผู้เรียนและนักเรียน

1. Task-Based Simulations หรือ ระบบจำลองภารกิจ… หลักสูตรการศึกษาควรมีการพัฒนาแบบจำลอง และ สถานการณ์จำลอง เพื่อใช้วัดประเมินการนำความรู้ไปใช้งานตามเงื่อนไขที่ระบบจำลองออกแบบไว้ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงการถามตอบธรรมดา หรือ ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงอย่าง VR/AR และ AI ก็ได้

2. Branching Scenarios หรือ ต่อกิ่งแผนภาพความรู้… ซึ่งก็คือการมอบหมายงานให้ผู้เรียนทำ Mind Map เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน หรือ ตามที่โจทย์การเรียนรู้ต้องการประเมิน และ ส่งงานเป็นภาพ หรือ คลิปบรรยาย Mind Map ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่นั้น

3. Online Group Collaboration หรือ กลุ่มความร่วมมือทางอินเตอร์เน็ต… จะเป็นการใช้กระบวนการ Peer Learning โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์แบบกลุ่ม และ/หรือ โซเชียลมีเดีย รวมทั้งกระดานสนทนาออนไลน์ ให้กลุ่มผู้เรียนได้ร่วมกันทำโครงงาน และ ร่วมแสดงความเห็น หรือ Feedback เพื่อแตกประเด็นตามความคิดเห็นและความเข้าใจของแต่ละคน

4. Open-Ended Questions หรือ คำถามปลายเปิด… คำถามปลายเปิด เป็นวิธีการประเมิน eLearning เชิงคุณภาพที่ง่ายและตรงไปตรงมามากที่สุดวิธีหนึ่ง แต่ต้องให้อิสระในการสร้างสรรค์คำตอบกลับมาให้มากที่สุด และต้องหลีกเลี่ยงการตรวจคำตอบแบบ “ให้ถูก หรือ ให้ผิด”

5. Case Studies หรือ กรณีศึกษา… กรณีศึกษา และ ตัวอย่าง ถือเป็นเครื่องมือหลักในการถ่ายทอดความรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยผ่านการพิสูจน์ยืนยันจากสถาบันติวมากมายที่สอนด้วยตัวอย่าง และ กรณีศึกษาจากแง่มุมโจทย์การเรียนรู้ให้มากที่สุด… แม้การติวด้วยตัวอย่าง หรือ กรณีศึกษาจำนวนมากจะถูกโจมตี และ ระบุจุดอ่อนไว้มากมายอย่างไรก็ตาม… แต่โดยความเห็นส่วนตัว ผมเชื่อว่ายังเป็นกลไกการเรียนการสอนที่มีจุดอ่อนน้อยกว่าแบบอื่นๆ ที่ต่างก็มีข้อด้อยกันทุกรูปแบบและแนวทาง

6. eLearning Blogs หรือ เรียนออนไลน์ด้วยการเขียนบล็อก… การส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียบเรียงความรู้ เป็นบทความ หรือ รายงาน และ โพสต์ลงบล็อก หรือ โซเชียลมีเดียโดยผู้เรียนจนครบองค์ประกอบในชุดความรู้ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง… ซึ่งต้องประมวลความรู้ในขั้นเข้าใจอย่างชัดเจนลึกซึ้งถึงระดับหนึ่งเช่นกัน จึงจะได้รายงานหรือบทความที่ได้รับ Feedback เชิงบวก ซึ่งสะท้อนความรู้ในตัวผู้เรียบเรียงได้อย่างดี

7. Online Interviews หรือ สัมภาษณ์ออนไลน์… ซึ่งก็คือการสอบแบบ Verbal Reasoning Tests หรือ การสอบปากเปล่าออนไลน์ผ่านระบบ Video Conference รวมทั้ง การให้นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายบน ระบบ Video Conference ด้วย

คร่าวๆ ก็จะมีเทคนิคกันประมาณนี้ ซึ่งหลายแบบก็มีการใช้งานกันอยู่เดิมในกลุ่มครูอาจารย์และนักการศึกษาที่ปรับตัวไปใช้ eLearning ด้วยความเต็มใจในวิกฤตโควิดตลอดปีเศษๆ ที่ผ่าน… ตัวข้อมูล ผมได้แรงบัลดาลใจมาจากบทความเรื่อง 8 Qualitative eLearning Assessment Methods To Track Online Learners Progress ของ Christopher Pappas… แต่ก็ลอกมาได้น้อยกว่าต้นฉบับเพราะเห็นว่าบางประเด็นซ้ำซ้อนกัน… ส่วนการอธิบายและตีความจะเป็นแบบ Reder และ ReDucation เหมือนเดิมครับ!

บทความแนะนำเกี่ยวกับการสอบและประเมินความรู้ในบริบท eLearning

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts