Raindrop Harvest

Rainwater Harvest… รองน้ำฝนช่วยโลก #FridaysForFuture

น้ำสะอาดแพงขึ้นทุกวัน หายากขึ้นทุกวัน… แม้ในยามน้ำท่วมก็ไม่ได้แปลว่าจะมีน้ำสะอาดดื่มกินได้อย่างปลอดภัยเหลือเฟือ… ในขณะที่ปัญหาเรื่องน้ำทั้งอุปโภค บริโภคและอุตสาหกรรม ก็กำลังเป็นประเด็นใหญ่ที่ชี้เป็นชี้ตายอนาคตชาติบ้านเมืองในหลายๆ กรณีทีเดียว

ว่ากันว่า… อภิมหาโครงการอย่าง EEC ที่นักลงทุนยังรีรออยู่ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะทิศทางการจัดการน้ำอุตสาหกรรมในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ทั้งชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา ยังเหลือการบ้านอีกมากมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง… สะสางสร้างความเชื่อมั่น

แนวทางต่างๆ ในการจัดหา “น้ำต้นทุน” สำหรับทุกกิจกรรมของมนุษย์ จึงระดมกันใหม่ตั้งแต่ภูมิปัญญาดึกดำบรรพ์จนถึงเทคโนโลยีสังเคราะห์น้ำจากองค์ประกอบธาตุกันเลยทีเดียว… และหนึ่งในทางเลือกที่ติดโผจากทุกแนวคิดการจัดการน้ำที่มาแรงที่สุด เห็นจะเป็นภูมิปัญญาเก่าแก่อย่าง “รองน้ำฝน” ไว้ใช้

การรองน้ำฝน และ สำรองน้ำฝนในระดับครัวเรือนถือเป็นภูมิปัญญาโบราณของทุกชาติ… คนไทยก่อนยุคน้ำดื่มในขวด PET ค่อนประเทศ รองและเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในครัวเรือนจนถึงดื่มกินมาก่อน แต่ภาพชวนกลัวของอากาศ และการปนเปื้อนของน้ำฝนก็ทำให้อารยธรรมการดื่มน้ำฝนแบบโบราณกลายเป็นเรื่องเล่า จนหลายคนไม่คิดว่ามันดื่มได้ไปแล้วก็มี

ประเด็นก็คือ… น้ำฝนระหว่างหล่นจากเมฆถึงหลังคาบ้านที่ใช้รองน้ำฝนธรรมชาตินั้น… มีโอกาสปนเปื้อนสารพัดส่วนผสมสุดสยองในอากาศตั้งแต่ฝุ่น PM ทุกขนาดจนถึงพิษระดับเปลี่ยนสายฝนเป็นน้ำกรดได้เลย… แต่ที่สยองกว่าก็คือ ความสกปรกของหลังคาบ้าน และวัสดุรองน้ำฝนแบบต่างๆ ซึ่งบอกได้เลยว่า… ซื้อน้ำขวดกินให้ขวดน้ำเปื้อนโลกต่อไปทำใจง่ายกว่า

แต่… ทางออกหลายกรณีเรื่องน้ำที่เป็นปัญหา ทั้งน้ำแล้งหรือน้ำท่วม หรือแม้แต่ปัญหาค่าน้ำปะปาพาจน ล้วนพาทุกไอเดียการแก้ปัญหา กลับสู่สามัญคือ รองน้ำฝนกันเถอะ

UNFCCC หรือ United Nations Framework Convention on Climate Change หน่วยงานรับผิดชอบผลักดันวาระด้านสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติ ได้สร้างเฟรมเวิร์คการทำงานเกี่ยวกับน้ำฝน ผ่านหน่วยงานย่อยชื่อ CTCN หรือ Climate Technology Centre and Network จากสำนักงานข้าหลวงในกรุง Copenhagen ประเทศ Denmark… ซึ่งมีวาระ Rainwater Harvesting หรือ วาระการกักเก็บสำรองน้ำฝน เป็นวาระสำคัญที่ต้องเร่งผลักดัน… พร้อมทีมที่ปรึกษาที่มี Know How ตั้งแต่ระดับภูมิปัญญาดึกดำบรรพ์ จนถึงเทคโนโลยีชั้นสูง ที่พร้อมเข้าช่วยเหลือชาติสมาชิก ในภาระกิจกักเก็บน้ำฝน

Attenuation Tank หรือ Attenuation Infiltration Detention System ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งของแนวคิด Rainwater Harvesting System

รายละเอียดทางเทคนิคและวิศวกรรมผมขอข้ามไปก่อนครับ… ท่านที่สนใจผมวางลิงค์ไว้ใต้อ้างอิงให้แล้วเช่นเดิม… ในบทความตอนนี้ผมอยากเจาะไปที่ Mindset เกี่ยวกับน้ำฝนมากกว่า

โดยเฉพาะ “น้ำฝนดิบ” เพื่อใช้เป็นน้ำดิบหรือน้ำต้นทุน เก็บใช้แบบน้ำสำรองในแหล่งธรรมชาติ… ซึ่งการเก็บใช้ระดับครัวเรือนอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่การเก็บระดับชุมชนหรือเมือง เช่นแนวคิด Spong City ที่ออกแบบทางเดินน้ำฝนในเมืองเพื่อกักเก็บอย่างเป็นระบบ… หรือแนวคิดแก้มลิงในพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9… ซึ่งผมเชื่อว่า ไม่นานจากนี้ เราน่าจะได้เห็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดการจัดการ ที่มุ่งใช้ประโยชน์จากน้ำฝนโดยตรงได้มากกว่า และ ลดปัญหาที่เกิดจากปริมาณน้ำฝนไม่สมดุลย์ระหว่างปีได้ดีกว่าเดิม

ที่น่าเสียดายคงจะเป็น… ไทยอาจจะต้องนำเข้าเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำฝนเหมือนเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งผมไล่ดูเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่ใช้กับโครงการ Spong City หลายโครงการในโลกที่กำลังดำเนินการอยู่… ต้องบอกเลยว่า เราไม่ทันเขาอีกแล้วพี่น้อง

#FridayForFuture ครับ!

อ้างอิง

https://www.ctc-n.org/technologies/rainwater-harvesting
https://www.energy.gov/eere

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts