เมื่อมนุษย์หมดอายุขัยและจากคนที่รักไป ร่างอันไร้วิญญาณที่กลายเป็นศพก็จะถูกจัดการไปตามความเชื่อและสถานะของผู้ตาย รวมทั้งญาติมิตรที่อยู่เบื้องหลังที่เป็นผู้ดำเนินการ… บ้างฝัง บ้างเผาซึ่งสืบถอดกันมาตามความเชื่อของแต่ละสังคมและศาสนา
กรณีของประเทศไทย การเผาศพเป็นประเด็นมายาวนานบนเวทีสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเด็นฌาปนสถานที่ใช้ฝังศพทั้งของพี่น้องมุสลิม คริสเตียนและคนไทยเชื้อสายจีน… ซึ่งแนวทางการจัดการศพทุกแนวทาง ล้วนสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ท้าทายขนบธรรมเนียมและจารีต
กรณีการเผาศพ… ประเทศไทยมีเรื่องร้องเรียนเรื่องกลิ่น ควันและสารพิษจากเมรุเผาศพมานานและมีการแก้ไขสะสางกันได้บ้างไม่ได้บ้าง… ซึ่งการเผาศพเป็นประเด็นสำคัญเรื่องมลพิษที่ก่อสารพิษอย่าง Dioxins and Furans หรือ ไดออกซินและฟิวแรนส์ ซึ่งเป็นสารเคมีอันตราย ที่เกิดขึ้นแบบ Unintentional Product หรือ เป็นผลผลิตที่ไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ในช่วงอุณภูมิ 200-650 เซลเซียส
โดยธรรมเนียมการเผาศพ… แท้จริงแล้วเราเผาหลายอย่างไปในคราวเดียวกันกับศพมากมาย
ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์… การสร้างคอนโดมิเนียมใกล้วัดที่มีเมรุเผาศพถือเป็นข้อห้ามสำคัญในการเลือกทำเลที่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะกลิ่นและควันจากเมรุเผาศพ คือคำเตือนเรื่องการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมสำคัญ ที่ทำเลส่วนลดและของแถมก็ช่วยยอดขายไม่ได้เลย…
ส่วนประเด็นการฝัง… ปัญหาเรื่องจัดหาที่ดินที่มีอยู่จำกัด ก็ทำให้เกิดนวัตกรรมสุสานแนวตั้งหรือฮวงซุ้ยคอนโดมิเนียม จนกลายเป็นแนวคิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อคนตายไปทั่วโลก แต่ผู้ใหญ่หลายท่านที่ถือทำเนียมการฝังศพตามอย่างบรรพบุรุษก็มองว่า ถ้าเอาผนังกั้นออกจากกัน ก็คงมีสภาพไม่ต่างจากกองกระดูกในพิพิธภัณฑ์ตุลสแลง หรือ Tuol Sleng Genocide Museum ในกรุงพนมเปญ… และปัจจุบัน การตั้งสุสานฝังศพ ไม่ได้เป็นมิตรกับเพื่อนบ้านหรือสิ่งแวดล้อมอีกต่อไปเช่นกัน
ปัญหามลพิษจากซากร่างมนุษย์ เป็นเรื่องใหญ่ที่พูดคุยกันน้อยมากทั่วโลก เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนของทุกชาติทุกศาสนา ที่ถือว่าเป็นเรื่องความเชื่อและจิตวิญญาณ… แต่แนวทางการจัดการศพก็ยังคงเป็นปัญหาในมิติสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

กลางปี 2019, Jay Inslee ผู้ว่าการรัฐวอชิงตันได้ผ่านร่างกฏหมาย “SB5001 Concerning Human Remains หรือ Natural Organic Reduction Legalized” ให้สามารถนำศพมนุษย์ไปผ่านขบวนการ “Natural Organic Reduction and Alkaline Hydrolysis หรือพิธีปลงศพด้วยเทคนิคการย่อยสลายเลียนแบบธรรมชาติ หรือ พิธีฌาปณกิจด้วยของเหลว หรือ Liquid Cremation” ซึ่ง SB5001 Concerning Human Remains เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2020 หลังการลงนามโดย Jay Inslee ครบหนึ่งปี
โดยมี Startup ชื่อ Recompose ให้บริการฌาปณกิจด้วยของเหลว ซึ่งจะได้ปุ๋ยอินทรีย์จากขบวนการ Alkaline Hydrolysis กับศพมนุษย์แทนที่จะเป็นเถ้ากระดูกเหมือนการเผา
Katrina Spade ในฐานะ Founder และ CEO ของ Recompose ผู้มีแรงบันดาลใจล้นเหลือเรื่อง “ทางเลือกอื่นเกี่ยวกับศพ” ที่ยั่งยืนและไม่เป็นภาระกับธรรมชาติที่ Katrina Spade เชื่อว่า ธรรมชาติยิ่งใหญ่กว่าศาสนาและความเชื่อใดๆ


Katrina Spade จึงยึดอาชีพนักออกแบบ หรือ Designer แนวยั่งยืนและเริ่มก่อตั้ง Urban Death Project ในปี 2014 เพื่อนำเสนอพิธีศพที่ต่างออกไปจากเดิม นั่นคือการนำศพไปย่อยให้เปื่อยและเปลี่ยนเป็นอินทรีย์วัตถุอย่างแท้จริง
Urban Death Project ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อพัฒนาเทคนิคและแนวทางใหม่ในการจัดการศพมนุษย์ ที่เป็นภาระสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และเปลี่ยนเป็น Recompose ในปี 2019 เมื่อผู้ว่าการรัฐวอชิงตันเตรียมลงนาม SB5001
เทคโนโลยี Alkaline Hydrolysis เป็นงานวิจัยจาก Western Carolina University ร่วมกับ Katrina Spade และเริ่มต้นระดมทุนผ่าน Kickstarter.com เวบไซต์ Crowdfunding อันดับหนึ่งของโลกในนาม Urban Death Project และระดมเงินทุนได้มากถึง $91,000 จากผู้บริจาค 1200 รายในปี 2015
เงินทุนก้อนแรกนำไปสู่การวิจัยขั้นสมบูรณ์โดย DR. Lynne Carpenter-Boggs ผู้เชี่ยวชาญด้าน Sustainable and Organic Agriculture จาก Washington State University ในรัฐวอชิงตัน โดยมี Professor Tanya Marsh ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายจาก Wake Forest University School of Law ช่วยดูแลเรื่องข้อกฏหมายที่เกี่ยวของกับศพและร่างมนุษย์
นี่คือแนวทางยั่งยืนที่เลือกได้ว่า ตายแล้วไปไหน?
#FridaysForFuture ครับ!
อ้างอิง