Reder Blended Canvas

Reder Blended Canvas

Reder Blended Canvas หรือ Blended Learning Canvas ของ Reder ออกแบบขึ้นใช้โดยผมและที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิหลายท่านจากหลายที่เป็น Peer Review… ครั้งแรกทำขึ้นเพื่อเป็นแบบฟอร์มช่วยให้ครูอาจารย์ จากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ที่จ้างผมและทีมเป็น Outsource พัฒนา LMS และ eLearning Materials… แบบฟอร์มชุดแรกๆ ช่วยให้ครูอาจารย์สามารถทำแผนการสอน เพื่อดัดแปลงเป็น eLearning ได้ง่ายและลดเวลาประสานงานลงได้มากระหว่างพัฒนา

Reder Blended Canvas ที่ผมแนะนำท่านจากบทความเรื่อง Blended Learning Canvas เป็น Version ที่พัฒนาขึ้นใหม่ปี 2020 เพื่อช่วยเพื่อนท่านหนึ่งทำวิจัยทางการศึกษา แต่เครื่องมือไม่ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณา Research Methodology ผมจึงขอกลับมาเปลี่ยนชื่อเป็น Reder Blended Canvas

เรียนทุกท่านแบบนี้ว่า… Reder Blended Canvas ไม่ใช่นวัตกรรมทางอะไรทั้งสิ้น เพราะโดยการใช้งานแล้วเป็นเพียง Framework ช่วยออกแบบและวางแผนทรัพยากร เพื่อลดรูปแบบการเรียนการสอนในแนวทาง Pedagogy ที่ต้องพึ่งพาครูหรือผู้สอนใกล้ชิด ไปสู่ Andragogy ที่พึ่งตัวผู้เรียนเองในการพัฒนาองค์ความรู้ให้ตัวเองมากขึ้นเท่านั้น… ซึ่งทำให้โปรแกรมเมอร์ที่ช่วยงานครูอาจารย์เตรียม eLearning ทำงานง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องเรียนรู้หรือเข้าใจเนื้อหาบทเรียนก็ช่วยเตรียมงานได้

Reder Blended Canvas

Reder Blended Canvas เป็นกรอบการทำงานหรือ Framework ที่พัฒนาให้มีองค์ประกอบแบบ 3 Metadata and 6 Block ประกอบด้วย

  1. Title หรือ หัวข้อ… เป็น Metadata ชื่อเรื่อง หรือชื่อบทเรียน หรือชื่อหัวข้อ ใช้ตัวอักษรตัวเลขและเว้นวรรคได้ หรือใช้หลายชื่อ หรือระบุเป็นรหัสก็ได้
  2. Learning Objectives หรือวัตถุประสงค์การเรียน… เป็น Metadata ระบุวัตถุประสงค์การเรียน หรือองค์ความรู้และทักษะที่สามารถประเมินได้จากตัวผู้เรียนเมื่อเรียนสำเร็จ
  3. Students/Learners หรือผู้เรียน… เป็น Metadata ระบุกลุ่มเป้าหมายผู้เรียน
  4. Measurement and Evaluation หรือ การวัดและประเมิน… เป็น Block แรกที่ต้องเขียนที่ตำแหน่งล่างกลาง ใส่เครื่องมือ วิธีการและเป้าหมายการประเมินที่สอดคล้องกับ L/O หรือ Learning Objectives
  5. Classroom/In-Person Plan… เป็น Block ลำดับที่สองที่ต้องเขียนที่ตำแหน่งขวาบน ให้บันทึกกิจกรรมในชั้นเรียนและกิจกรรมการพบปะระหว่างผู้สอน ผู้ช่วยสอนและผู้เรียน
  6. Synchronous/Asynchronous eLearning หรือกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์… เป็น Block ลำดับที่สามด้านบนซ้าย ให้บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์และทรัพยากรการศึกษาออนไลน์ที่สำคัญ และเรียงลำดับกิจกรรมก่อนหลังด้วย
  7. Instruction Guideline หรือแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน… เป็น Block ลำดับที่สี่อยู่ตำแหน่งกลางบน ให้บันทึกขั้นตอนการ Blended กิจกรรมการเรียนการสอนจาก Classroom/In-Person Plan และ Synchronous/Asynchronous eLearning ว่าเรียงลำดับและจัดกิจกรรมสอดประสานกันอย่างไร
  8. Materials and Infrastructures หรือ ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้… เป็น Block ที่ห้าตำแหน่งล่างซ้ายที่ต้องกำหนดความต้องการใช้ทรัพยากร เครื่องมือ อุปกรณ์การทดลอง ช่องทางและรูปแบบการสื่อสาร ช่องทางและรูปแบบการคมนาคมขนส่ง ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งทรัพยากรเพื่อปกป้องดูแลความสะดวกปลอดภัยระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน
  9. Cost หรือ งบประมาณค่าใช้จ่าย… เป็น Block ลำดับที่ 6 ตำแหน่งขวาล่าง ให้บันทึกรายการงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อการดำเนินการให้บรรลุตามแผน
ตัวอย่าง RBC

สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ… Reder Blended Canvas เป็นเอกสารหน้าเดียวมีพื้นที่จำกัด เพื่อใช้บีบแนวคิดและคำอธิบาย… ก่อนหน้านั้นผมเคยเห็นการเขียน Canvas โดยใช้รหัสใส่ข้อมูลบน Canvas แล้วไปทำเอกสารอธิบาย Canvas แนบมาอีกปึกใหญ่… ซึ่งถือว่าผิดวัตถุประสงค์การใช้ Canvas ที่ต้องการให้เห็น “ภาพรวมแผนการสอน” ในหน้าเดียวเหมือนการมองรูปภาพรูปหนึ่ง… ซึ่งต่างจากแผนการสอนแบบคลาสสิก ที่เป็นเอกสารหลายหน้า ซึ่งหลายกรณีมีการแนบข้อสอบปรนัยพร้อมเฉลยใส่มาด้วยก็เคยเห็น

RBC หรือ Reder Blended Canvas จึงเคร่งครัดเรื่อง “ต้องจบในหน้าเดียว” และ “ต้องผสม Andragogy และ Pedagogy เสมอ

ท่านที่ยังไม่รู้จัก Andragogy และ Pedagogy คลิกกลับไปทบทวนที่นี่… สุดท้ายขออภัยอีกครั้งที่เอกสารเป็นภาษาอังกฤษ… ซึ่งผมพัฒนาขึ้นใช้กับลูกค้าต่างชาติ… ครูไทยและนักการศึกษาไทย ไม่มีใครใช้ของแบบนี้หรอกครับ! แต่ตัวอย่างก็กรอกเป็นภาษาไทยไว้ให้เป็นแนวทางแล้ว

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts