Enneagram of Personality… นพลักษณ์แห่งตัวตน #SelfInsight 

Enneagram หรือ Enneagram of Personality หรือ นพลักษณ์ เป็นศาสตร์โบราณที่ค้นคว้าเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจผู้คนผ่านบุคลิกลักษณะ ความต้องการ และ กลไกทางจิตใจ… โดยบุคลิกลักษณะ หรือ บุคลิกภาพของมนุษย์ได้ถูกแบ่งออกเป็น 9 จำพวก หรือ 9 ลักษณะ ซึ่งแต่ละจำพวกจะอธิบายลักษณะพื้นฐานทางบุคลิกภาพโดยรวมเอาไว้ เพื่อใช้ทำความเข้าใจ “พฤติกรรม กับ ความคิด และ จิตใจ” ของคนแต่ละจำพวก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดการผู้คนให้สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะ ทั้งในแง่ของการจัดการตนเอง และ จัดการกับผู้อื่น… อย่างสร้างสรรค์

More »

Conflicts of Interest Management… การจัดการผลประโยชน์ขัดแย้ง #ExtremeLeadership

การเป็นผู้นำสูงสุด เป็นผู้จัดการ เป็นหัวหน้า หรือ เป็นคนนำทีมทำโครงการ… ปัญหาใหญ่ๆ ที่กดดันการจัดการให้ล้มเหลวได้เสมอมักจะมีอยู่ไม่กี่ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาเรื่องคน กับ ปัญหาเรื่องเงิน ซึ่งไม่ว่าจะเกิดปัญหาเพราะคนก่อน หรือ เกิดปัญหาเพราะเงินก่อน… สุดท้ายแล้วก็จะกลายเป็น “ปัญหาใหญ่” ที่แยกได้ไม่ง่ายว่าปัญหาได้เริ่มต้นมาจากตรงไหน และ เกิดขึ้นเพราะอะไร… ในขณะเดียวกัน ปัญหาทุกขนาดที่เกิดขึ้นจนระบุว่าเป็นปัญหาใหญ่ และ ชัดเจนนั้น… เกือบทั้งหมดล้วนแต่สร้างผลกระทบถึง “คน และ เงิน” ภายใต้ความรับผิดชอบ และ การจัดการของผู้นำอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ซึ่งผลกระทบที่เกิดก็มักจะกลายเป็นความขัดแย้งในทีม หรือ ลามไปเป็นความขัดแย้งในระดับองค์กร… โดยจะปรากฏเป็นความไม่พอใจของบางคน หรือ บางฝ่ายที่ “ผลประโยชน์” ถูกคุกคามให้เสียหาย หรือ สูญสิ้น

More »

Working Group and Team… กลุ่มทำงาน และ ทีม #ExtremeLeadership

หลายองค์กรมีวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันแบบ “กลุ่มทำงาน หรือ Working Group” แต่เข้าใจว่าเป็นการทำงานแบบ “ทีม หรือ Team” ซึ่งได้เห็นขับเคลื่อนแผนต่างๆ ขององค์กรด้วยการ “แจกความรับชอบเป็นส่วนๆ ให้แต่ละคนในกลุ่มทำงาน” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงาน แบ่งงาน หรือ เกลี่ยงาน… ภาพรวมของการขับเคลื่อนก็มักจะเห็น “รอยต่อ” ซึ่งส่วนใหญ่คนนำ หรือ ผู้นำจะเข้ามาสานรอยต่อนี้… โดยผู้นำองค์กรแบบนี้ทั้งเก่งมากเก่งน้อยก็มักจะเหนื่อยรับผิดชอบอย่างสาหัสให้เห็นเสมอ

More »

P-E-O-P-L-E Framework… กรอบแนวคิดเพื่อการสื่อสารเชิงบวกในทีมและองค์กร #ExtremeLeadership

การสื่อสารเชิงบวกในทีม หรือ องค์กร และ การประสานงานอื่นๆ ที่การันตีได้ว่าจะทำให้ได้ผลลัพธ์แบบ Win-Win ระหว่างกัน… ทั้งผู้ส่งสาร และ ผู้รับสาร ไม่ว่าผู้ส่งสาร กับ ผู้รับสารนั้นจะเป็นใครกับใคร หรืออยู่ในสถานะใดในองค์กร ก็มั่นใจได้ว่าจะเกิดสัมพันธภาพที่ดีของคนในองค์กร จนกลายเป็นเรื่องดีๆ ตามมาอีกมากในอนาคต… เพราะปัญหาใหญ่ของทุกๆ องค์กรล้วนมีเหตุมาจากเรื่อง “การสื่อสาร” ที่หลายๆ เรื่องพลิกผันไปเพราะ “พูดกันไม่รู้เรื่อง” นั่นเอง

More »

Conflict Management Skills… ทักษะการจัดการความขัดแย้ง #ExtremeLeadership

ความขัดแย้งภายในองค์กรถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดกับทุกทีมทำงานในทุกๆ องค์กร โดยมีความขัดแย้งบน “ความพอใจ–ไม่พอใจ” ของบางคน หรือ บางกลุ่มคนในทีมทำงาน และหรือ ความพอใจ–ไม่พอใจระหว่างทีมทำงานในองค์กรซึ่งเกี่ยวพันถึงผลประโยชน์ และ การเมืองในสำนักงานที่มักจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรด้วยเสมอ

More »

Lewin’s Change Model.. โมเดลการเปลี่ยนแปลงของเลวิน #ExtremeChange

ในบรรดา “เครื่องมือการจัดการความเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management Tools” ที่ถูกแนะนำ และหรือ ถูกใช้มากที่สุดในลำดับต้นๆ มักจะมีชื่อ Lewin’s Change Model หรือ โมเดลการเปลี่ยนแปลงของเลวิน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นทดสอบโดย Kurt Lewin ซึ่งเผยแพร่โมเดลผ่านผลงานตีพิมพ์เรื่อง Frontiers in Group Dynamics: Concept, Method and Reality in Social Science; Social Equilibria and Social Change ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 1947 โดยถูกอ้างอิง และ ประยุกต์ไปเป็นทฤษฎีอื่นๆ ในเวลาต่อมามากมาย…

More »

Mentoring Capability… คุณสมบัติและความสามารถในการเป็นพี่เลี้ยง #SkillfulHumanResources

การสอนงาน และ การเตรียมทรัพยากรบุคคลขององค์กรส่วนใหญ่ต่างก็ใช้ “ระบบพี่เลี้ยง หรือ Mentoring System” เป็นส่วนใหญ่… ซึ่งเป็นรูปแบบการเตรียมคนที่ “พี่เลี้ยง หรือ Mentor” จะเข้าไปช่วยเตรียมทักษะ และ ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จำเป็นให้กับ “ผู้รับการดูแล หรือ น้องเลี้ยง หรือ Mentee” อย่างใกล้ชิด โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงการสอนงาน และ เตรียมความสามารถให้ Mentee แบบตัวต่อตัวด้วย

More »

Myers–Briggs Type Indicator… รูปแบบพฤติกรรมแห่งบุคคลิกภาพ MBTI #SelfInsight

ท่านที่เคยเรียนจิตวิทยาพื้นฐานมาก่อนคงจะเคยได้ยินชื่อ ศาสตราจารย์ Carl Jung รวมทั้งแนวคิด Jungian Cognitive Functions ที่นักจิตวิทยารุ่นต่อมาได้นำใช้โดยปรับแต่ง Psychological Types หรือ แบบแผนทางจิตวิทยา ที่ Carl Jung ใช้อธิบายแยกประเภทของบุคลิกภาพ หรือ Personality Type ภายใต้ความเชื่อของแนวคิดเรื่อง Collective Unconscious ที่ศาสตราจารย์ Carl Jung อธิบายว่า… มนุษย์มีจิตไร้สำนึกบางอย่างร่วมกัน มีสัญชาติญาณบางอย่างในการรับรู้ ตีความ และหรือ ให้ความหมายต่อโลกในทำนองเดียวกัน… โดยแนวคิดเรื่องจิตไร้สำนึกร่วมนี้เองที่ทำให้ศาสตราจารย์ Carl Jung ได้เสนอแนวคิด “Theory Of Archetypes หรือ ทฤษฎีแม่แบบทางบุคลิกภาพ” โดยลงไปศึกษาจิตไร้สำนึกร่วมของมนุษย์ จนได้แม่แบบทางบุคลิกภาพมา 4 ประเภท คือ Persona หรือ หน้าตาท่าทาง… Shadow หรือ สัญชาตญาณ หรือ ตัวตนที่ซุกซ่อนไว้…  Anima/Animus หรือ เพศสภาวะทางจิตวิทยาในตัว และ The Self หรือ ตัวตน

More »

Work / Life Integration… เวลางาน–เวลาส่วนตัว เวลาเดียวกัน #TranformationForLife

ในองค์กรทุกรูปแบบที่ถูกขับเคลื่อนกิจธุระทั้งหมดด้วยทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่คนที่อยู่ในสถานะผู้นำในองค์กรลงไปจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติทุกคนทุกตำแหน่ง ซึ่งล้วนแต่มาทำงานเพื่อให้หน้าที่ และ ความรับผิดชอบถูกผลักดันไปข้างหน้าร่วมกับทีม… ในขณะที่ “ชีวิตส่วนตัว” ด้านอื่นๆ ของแต่ละคนก็จำเป็นจะต้องดำเนิน และ จัดการให้ลงตัวเพื่อจะได้มีศุกยภาพที่จะกลับมาทำงานให้ได้ดีกว่าเดิม… วงจรการทำงานแบบมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับหลังการเลิกทาส จึงถูกกำหนดชั่วโมงทำงานที่เป็นไปได้ กับ วันหยุด และ เวลาเลิกงานในแต่ละวันเพื่อให้ทุกคนกลับไปใช้เวลากับ “ชีวิตส่วนตัว” ของใครของมันอย่างที่ควรจะเป็น

More »

Employee Satisfaction… ความพึงพอใจของพนักงาน #DreamWorkplaces

ในธุรกิจ และ องค์กรที่เห็นคุณค่าของพนักงานผู้ได้ทำหน้าที่เป็น “ทรัพยากรบุคคล” ที่ช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายสำคัญอย่างแท้จริงนั้น… วัฒนธรรมองค์กรของที่ทำงานแบบนั้นก็มักจะมีหลายเงื่อนไขที่ “จูงใจ” เหล่าพนักงานให้ “พึงพอใจ” ที่จะอยู่ทำงานอย่างเต็มความสามารถ… ซึ่งความพึงพอใจของพนักงาน หรือ Employee Satisfaction นี่เองที่ทำให้เหล่าพนักงานสามารถทำงานอยู่ร่วมกับองค์กรได้อย่างมีความสุข และ ยังทุ่มเททำงานให้องค์กรจนบรรลุเป้าหมายระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถวัดผลและปรียบเทียบได้ค่อนข้างชัดเจน

More »