Regrets Of Yesterday… แล้วก็ได้เสียใจในภายหลัง #SelfInsight

ไม่ทราบว่าท่านเคยได้ยินสำนวน “รู้อะไรก็ไม่สู้เท่ารู้งี้” กันบ้างมั๊ยครับ… เป็นสำนวนที่ผมได้ยินครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อนจากคุณปิ๊ก ธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงศ์ Business Model Designer และ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ ทำธุรกิจ คิดเยอะจึงเหนื่อยน้อย ซึ่งได้ยินเมื่อหลายปีก่อน ตั้งแต่พี่ปิ๊กมาทำพอดแคสต์กับคุณรวิศ หาญอุตสาหะ แห่ง Mission To The Moon และ ศรีจันทร์สหโอสถก่อนจะเกิดโควิด… ซึ่งผมติดตามผลงานของท่านทั้งสองมาจนถึงปัจจุบัน และ โดยส่วนตัวยกให้สำนวน “รู้อะไรก็ไม่สู้เท่ารู้งี้” เป็น “ที่สุดของคำคม” จากความหมายอันชัดเจนในตัวที่บอกถึง “ความรู้สึกเสียดายในภายหลัง” ของคนที่ทำบางอย่างพลาดไป… ซึ่งบางเรื่องพลาดถึงขั้นเสียใจมากในภายหลังก็มี

ประเด็นก็คือ… คนส่วนใหญ่มักมีเรื่องให้ “รู้สึกเสียดายในภายหลัง” กันแทบทุกคน… แต่หลายคนหนักหน่อยที่ถึงขั้น “เสียใจในภายหลัง” อันเป็นภายหลังที่กลายเป็นช่วงชีวิตปัจจุบัน และ อนาคตที่ต้องจมอยู่กับความเสียใจอันลืมได้ยาก… ซึ่งบางคน “โศกเศร้าทนทุกข์” กับเรื่องที่ต้องมานึกเสียใจในภายหลังก็มี

บทความเรื่อง 6 Things You Are Doing Now That You Will Look Back And Regret Later in Life โดย Victor Mong ซึ่งโพสต์ไว้บน Medium.com และ บทความโดย Sairung Sukieam แห่งบล๊อค Mission To The Moon ยังได้เรียบเรียงบทความเป็นภาษาไทยอ้างอิงเอาไว้ด้วย… โดยเนื้อหาได้ระบุถึง 6 เรื่องสำคัญที่ใครก็ตามที่ได้ทำลงไปก็มักจะเกิดความรู้สึก “เสียใจในภายหลัง” ค่อนข้างแน่ ได้แก่…

  1. แลกความสัมพันธ์ และหรือ ทำลายสายสัมพันธ์กับเป้าหมายส่วนตัว… ตั้งแต่ทิ้งครอบครัวเพื่อเอาเวลาไปทุ่มเทกับงาน ไปจนถึงการแลกความสำเร็จสมหวังของตัวเอง กับชีวิตและอนาคตของคนใกล้ตัวผู้ไร้ทางเลือกโดยสิ้นเชิงในเวลาเดียวกัน
  2. ปกปิดความรู้สึกรักชอบ และ หลงไหลกับคนที่รักใคร่ห่วงใยมาก… อันเป็นพฤติกรรมที่กระทำกับทุกคนใกล้ตัวในทุกความสัมพันธ์ที่จำเป็นจะต้องตรงไปตรงมา และ เปิดเผยความรู้สึกที่มีต่อคนเหล่านั้น โดยไม่ปิดกั้น หรือ ปกปิดความรู้สึกนึกคิดที่แท้ของตัวเอง… โดยเฉพาะความรู้สึกรัก และ ห่วงใยที่อีกฝ่ายควรต้องรับรู้
  3. จงเลือกเพื่อตัวเอง หรือ เลือกด้วยเหตุผลของตัวเอง… เพราะคนส่วนใหญ่ที่เกิดความรู้สึกเสียดาย และ เสียใจในภายหลังมักจะเป็นเรื่องที่ “ตนทำบางอย่าง หรือ แทบทุกอย่างให้คนอื่น หรือ อย่างน้อยก็คิดว่าได้ทำบางอย่างให้คนอื่น” จนตัวเองเสียบางอย่างไปอย่างน่าเสียดาย และ จงระวังกับดักการเลือกด้วยเหตุผลของตัวเองแต่แฝงฝังการทำให้คนอื่นเพื่อหวังบางอย่างที่ไม่ง่ายจะได้ตอบแทน
  4. จงกล้าลองแม้จะผิดพลาดสุ่มเสี่ยง… เพราะคนส่วนหนึ่งจะรู้สึก “เสียดายมาก” ในหลายๆ โอกาสที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตแล้วก็ผ่านไปเป็นโอกาสของคนอื่น โดยที่ตัวเองไม่กล้าข้องแวะแตะต้องกับโอกาสครั้งที่น่าเสียดายนั้น และ คงหาอีกไม่ได้แล้วชั่วชีวิต 
  5. ให้ผิดเป็นครู… ด้วยการใช้ความผิดพลาด และหรือ ความล้มเหลวใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจไปแล้ว มาเปลี่ยนเป็นโอกาส และ แรงจูงใจรอบใหม่ที่เปิดโอกาสให้ตัวเองได้แก้ไข เพราะถ้าใครก็ตามที่ปล่อยให้ตัวเองล้มเหลว แล้วยุติทุกอย่างเพราะความล้มเหลวครั้งนั้น… ความล้มเหลวในครั้งนั้นก็จะกลายเป็นความล้มเหลวโดยปริยายตั้งแต่คราวนั้นในทันที
  6. อย่าลังเล และ คิดมาก… คนลังเลจะเป็นคนจิตใจโลเล ซึ่งชัดเจนว่าหาความสุขได้ยากเพราะขาดทักษะการตัดสินใจที่ดีจนพลาดเรื่องดีๆ มากมายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต แต่เก็บเกี่ยวอะไรให้ตัวเองไม่ได้ หรือ ได้น้อยนิดกระทั่งตัวเองก็รู้ว่าน้อยนิด และ ผิดพลาดอย่างน่าเสียดาย

ประมาณนี้ครับ… ไม่ได้ถอดความจากต้นฉบับที่ใช้อ้างอิงอย่างตรงไปตรงมานัก แต่ก็รักษาหลักคิดเอาไว้ให้ได้มากที่สุด และ อธิบายแบบ Reder ที่หลายท่านคุ้นเคย!

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts