Fruit vegetable slider pouches

ผลไม้แปรรูปในถุงรีทอร์ท

การแปรรูปผลไม้ ถือเป็นทิศทางสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งยังมีที่ว่างทางการตลาดมากมายให้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้ดี มีมาตรฐานและเก็บรักษาได้ยาวนานโดยไม่สูญเสียรสชาติ

การผลักดันและช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตเข้มแข็ง โดยหน่วยงานภาครัฐได้เข้าทำงานเชิงรุก ทั้งส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ระดับ OTOP ไปจนถึง SMEs ในรูปแบบนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะผลผลิตภาคเกษตรที่ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นครัวโลก และ เมืองผลไม้

การส่งเสริมเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรให้นำผลไม้มาแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงเป็นแนวทางสำคัญในการผลักดันจากหลายฝ่ายจนมีผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดมากมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่สามารถแปรรูปผลไม้ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน GMP หรือ Good Manufacturing Practice โดนใจผู้บริโภค มีตลาดรองรับทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ สามารถเปลี่ยนและยกระดับสถานะเป็นผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดได้อย่างทัดเทียม

งานวิจัยในหัวข้อ “การแปรรูปผลไม้เพื่อการส่งออก” ของ อาจารย์วรรณดี มหรรณพกุล จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ทำร่วมกับกับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านและชุมชนที่จังหวัดตราดในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2560 ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเผยแพร่ผลักดันงานวิจัยและแนวทางการพัฒนาสินค้าชุมชนและ SMEs ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจจากผลผลิตผลไม้ได้อย่างดี

อาจารย์วรรณดี มหรรณพกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นนักวิจัยคนหนึ่งที่มีผลงานสามารถนำมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้ ตั้งแต่ปี 2552… โดยเฉพาะผลงานวิจัยต้นแบบอาหารไทยสำเร็จรูปทั้ง ข้าวแกงและขนมไทยสำเร็จรูปบรรจุในถุงรีทอร์ท หรือ Retort Pouches และนำเสนอในงาน Thailand Research Expo 2009 

และยังได้วิจัยและพัฒนาต่อยอดไปสู่การผลิตผลไม้ทั่วๆ ไป ในน้ำเชื่อมบรรจุถุงรีทอร์ททั้ง ทุเรียน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด ลองกอง และน้ำกะทิทุเรียนสำเร็จรูป และปี 2557 ได้นำเสนอผลงานวิจัยนี้ ในงาน แสดงผลงานวิจัยในงานวันนักประดิษฐ์ 

ซึ่งกระบวนการผลิตแบบ Retort Pouches นี้ เป็นการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนักประเภทดีบุกหรือตะกั่วจากบรรจุภัณฑ์แบบกระป๋อง สามารถยืดอายุการเก็บโดยธรรมชาติได้ยาวนานเป็นปี เป็นนวัตกรรมใหม่ให้ผู้ประกอบการมองเห็นช่องทางการตลาด พัฒนาแนวทางผลิตสินค้า OTOP/SMEs และพัฒนาการผลิตไปเป็นระบบอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ได้

ประเทศไทยมีผลไม้หลากหลายชนิดหมุนเวียนกันออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี ช่วงที่ผลผลิตออกมาก ราคาตกต่ำ เกษตรกรขายได้ราคาไม่คุ้มทุน บางครั้งปล่อยทิ้ง การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปจะช่วยเพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่มูลค่า หรือ Value Chain ให้เกษตรกรและชุมชนมีรายได้ สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง 

ซึ่งการนำเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับภาคการผลิตในวิสาหกิจชุมชนเพิ่มขีดความสามารถให้ผลิตภัณฑ์ OTOP/SMEs ซึ่งอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐาน GMP

Retort Pouch ประกอบด้วยแผ่นฟิล์ม 3 ชั้น ผนึกแน่น ชั้นนอกเป็นโพลีเอสเตอร์ทนความร้อน แข็งแรง ใช้พิมพ์ข้อความได้ ชั้นกลางเป็นอะลูมิเนียมฟอยล์ มีคุณสมบัติช่วยรักษาคุณภาพอาหารได้ดี ช่วยป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจนและความชื้น ชั้นในเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกโพลีเอทิลีน สามารถทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 121-132 องศาเซลเซียส การส่งผ่านความร้อนเข้าไปในอาหารในขั้นตอนการให้ความร้อนเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ความร้อนจะกระจายได้ทั่วถึงและเร็วกว่าการบรรจุกระป๋อง… ทำให้ผลิตภัณฑ์ผลไม้หรืออาหาร มีคุณภาพดีทั้งด้าน สี กลิ่น รส…

คุณชัยวัฒน์ ปริ่มผล เจ้าของสวนผลไม้ผลอำไพ และผู้จัดการ บริษัท ผลอำไพ ฟรุตตี้ไทย จำกัด อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด กล่าวว่า การเผยแพร่องค์ความรู้ของงานวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์ เป็นประโยชน์กับเกษตรกรและผู้ประกอบการโอท็อป กลุ่ม SMEs หรือแม้แต่กลุ่มสตาร์ทอัพ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เพราะได้เรียนรู้ ฝึกกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีในท้องถิ่นจำนวนมาก มองเห็นโอกาสช่องทางการตลาด จากเดิม เงาะ ทุเรียน มังคุด สับปะรด ที่บางครั้งต้องปล่อยสุกงอมเน่าเสียทิ้ง ขายได้ราคาถูกๆ หากนำมาแปรรูปด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่า และยังพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์เป็นทางเลือกให้เกษตรกรอีกด้วย

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts