Risk Matrix… ตารางแจงความเสี่ยง #SaturdayStrategy

การดำเนินงาน และ การขับเคลื่อนเป้าหมายทุกรูปแบบที่จำเป็นจะต้องวางแผนการทำงาน ซึ่งในทุกๆ การทำงานก็จะมีต้นทุนหลายรูปแบบให้กังวล และ ประเมิน “ส่วนได้–ส่วนเสีย” ก่อนจะเดินหน้าเพื่อไล่ล่า “ส่วนได้ หรือ ส่วนที่จะได้” อันเป็นผลลัพธ์การดำเนินงานที่พึงประสงค์… ในขณะเดียวกันก็พยายามปกป้องส่วนที่คาดว่าจะได้ด้วยการควบคุมความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด

ในการดำเนินงาน และ การขับเคลื่อนเป้าหมายขนาดใหญ่ที่ “ปัจจัยเสี่ยง” มีมาก ซับซ้อน และ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของหลายคน ซึ่งเป็นธรรมชาติของการตัดสินใจระดับองค์กร และ การตัดสินใจในโครงการขนาดใหญ่ทั้งใหญ่แบบมูลค่าโครงการสู่งลิบลิ่ว และ ใหญ่แบบส่งผลถึงภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง… ซึ่งการดำเนินงาน และ การขับเคลื่อนเป้าหมายระดับนั้น… นอกจากจะมีความเสี่ยงสูง และ ซับซ้อนอ่อนไหวแล้ว คนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของโครงการก็มักจะต้อง “รับผิดชอบความเสี่ยง” อย่างหลีกเลี่ยงได้ยากทางเดียวที่จะได้ขับเคลื่อนโครงการจึงต้องหาเครื่องมือสำหรับถอดความเสี่ยงเอารายละเอียดออกมาทำความเข้าใจให้หมด เพื่อหา “วิธีจัดการความเสี่ยงล่วงหน้า” เพื่อปกป้องความสำเร็จของโครงการให้ออกมาอย่างที่ต้อง

เครื่องมือทางกลยุทธ์ส่วนใหญ่จึงเป็นเครื่องมือทำความเข้าใจความเสี่ยงแบบต่างๆ เกือบทั้งหมด ซึ่งก็มีที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงอยู่มากมาย ซึ่งนักกลยุทธ์จะเลือกเครื่องมือให้สอดคล้องกับรูปแบบของโครงการ และ ธรรมชาติในการดำเนินงานเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ… โดยหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ความเสี่ยงที่นิยมใช้กันมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันย่อมมีชื่อ Risk Metrix อยู่ในตัวเลือกลำดับต้นๆ เสมอ

Risk Matrix เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับออกแบบ และ วางแผนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่การประเมินพบล่วงหน้า ซึ่งจะกำหนดระดับความเสี่ยงโดยพิจารณา “ความน่าจะเป็น” ของเหตุการณ์ และ ลำดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะตามมาหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น

คำแนะนำในการใช้ Risk Matrix จากเวบไซต์ Bluebik.com แนะนำว่า… Risk Matrix จะมีขั้นตอนการประเมินดังนี้คือ

ขั้นตอนที่ 1. ทำรายการความเสี่ยงในการดำเนินงาน และ ความเสี่ยงทางการเงิน รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องการเมือง นโยบายการบริหารประเทศ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2. นำรายการความเสี่ยงที่ประเมินไว้ มาจัดลำดับ “ความน่าจะเป็น” ที่ความเสี่ยงเหล่านั้นอาจเกิดขึ้น โดยความเป็นไปได้ของความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • น่าจะเกิดขึ้น หรือ มีโอกาสเกิดขึ้นมาก
  • เป็นไปได้ หรือ มีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง
  • ไม่น่าจะเป็นไปได้ หรือ โอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ 3. วิเคราะห์แต่ละความเสี่ยง และ กำหนดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยผลกระทบของความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

0 – ยอมรับได้ – แทบไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจเลย
1 – พอรับได้ – รู้สึกถึงผลกระทบแต่ไม่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อธุรกิจ
2 – ไม่สามารถยอมรับได้ – ทำให้เกิดการหยุดชะงักครั้งใหญ่ของธุรกิจ
3 – ทนไม่ได้ – ธุรกิจอาจไม่ฟื้นตัว

Risk Matrix ของ Bluebik… Image Source: bluebik.com
Risk Matrix แบบ 5×5… Image Source: bigpicture.one 

ขั้นตอนที่ 4. พิจารณาจากโอกาส และ ผลกระทบของความเสี่ยงแต่ละประเด็น แล้วจัดวางประเด็นความเสี่ยงลงใน Risk Matrix เพื่อให้เห็นภาพความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ–ล้มเหลว… ก่อนการดำเนินงาน… 

ขอข้ามที่จะอธิบายตาราง และ การลงข้อมูลในขั้นตอนที่ 4 ครับ… เพราะเวลาใช้จริงโดยมากก็มักจะปรับแต่งโครงสร้าง และ รูปแบบตารางกันไปตามสมควรโดยไม่ต้องยึดรูปแบบว่าต้องกี่ช่อง และ แต่ละช่องใส่อะไรลงไป… ซึ่งนักกลยุทธ์ที่ต้องใช้เครื่องมือระดับนี้ทุกท่าน รู้วิธีใช้ตารางแบบนี้แน่นอน!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *