Professor Dr.Jürgen Handke ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์จาก Marburg University หรือ Philipps-Universität Marburg ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเป็นเอกด้าน eLearning และ เทคโนโลยีการศึกษามานาน โดยได้รับการยอมรับจากนักเทคโนโลยีการศึกษาทั่วโลกว่า ถ้าจะต้องพัฒนาเฟรมเวิร์คด้าน eLearning… ก็จำเป็นจะต้องหางานวิจัยจาก U-Marburg มาใส่อ้างอิงด้วยเสมอ… และ Professor Dr.Jürgen Handke ก็ถือเป็นศาสตราจารย์อีกท่านหนึ่งที่มีผลงานโดดเด่นในการนำกระบวนวิชาที่ท่านเชี่ยวชาญ ไปบูรณาการกับเทคโนโลยีทางการศึกษามาตั้งแต่ยุคการใช้ CAI หรือ Computer Assisted Instruction ในยุค 90 จนมาถึงยุค AI ที่ท่านได้นำหุ่นยนต์มาทดลองเป็นผู้ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษกับนักศึกษาชาวเยอรมันที่ U-Marburg ภายใต้โครงการ YUKI
YUKI เป็น Service Robotic แบบ Humanoid หรือ หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์เพื่องานบริการ… มีส่วนสูงราว 120 เซนติเมตร และ ถูกโปรแกรมให้มีบทบาทเป็นผู้ช่วยสอน หรือ TA หรือ Teaching Assistant โดยเชื่อมโยงชั้นเรียนระหว่างอาจารย์ผู้บรรยาย และ นักศึกษา เข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ และ คลาวด์… ทั้งเพื่อช่วยนักศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียน และ ช่วยอาจารย์มอบหมายกิจกรรมออนไลน์ประกอบการเรียน ประมวลผล และ Feedback ข้อมูลกลับคืนผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ได้เป็นอย่างน้อย
ผลงานในโครงการ YUKI ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่ปี 2017–18 โดยเฉพาะในประเด็นโมเดลการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยสอน ที่นักการศึกษาส่วนใหญ่ยอมรับได้มากกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาบนโมเดลเกมคอมพิวเตอร์ ภายใต้ความเชื่อที่ว่า Humanoid สามารถพัฒนาไปเป็น “เพื่อน และ ผู้ช่วยมนุษย์” โดยไม่ทำลายจิตวิทยาสังคมพื้นฐานดั้งเดิมของมนุษย์เกินจำเป็น โดยเฉพาะการมีตัวตนอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จับต้องได้มากกว่าโลกเสมือน หรือ เกมที่ผู้เรียนจะเป็นได้เพียง “User” ซึ่งไม่ดีต่อจิตวิทยาความสัมพันธ์นัก ถึงแม้จะสัมพันธ์กับ “User” คนอื่นได้ก็ตาม
ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 ที่ผ่านมา… มีคลิปเรื่องราวของหุ่นยนต์ Humanoid ขนาดเล็กที่ถูกโปรแกรมให้เป็นผู้ช่วยครูอนุบาล โดยบรรจุโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ที่ครูอนุบาลใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กวัยก่อนเรียนในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งในกรุงโซล เช่น นำร้องเพลง เล่านิทาน เต้นรำ หรือ แม้แต่พูดคุยและเล่นกับเด็กๆ รวมทั้งเป็นของเล่นให้เด็กๆ ได้สนุกสนานตามจินตนาการที่เด็กๆ ที่มีร่วมกับหุ่นยนต์ได้อย่างน่าสนใจ
งานวิจัยตีพิมพ์ในหัวข้อ A Robot as a Teaching Assistant in an English Class โดยคณะนักวิจัยจาก National Central University ในไต้หวัน ถูกเผยแพร่ไว้ตั้งแต่ปี 2006 โดยงานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นผลงาน Robot TA หรือ Robot Teaching Assistant ที่ถูกอ้างถึง และ เป็นแนวทางเริ่มต้นในการพัฒนา Robot TA หรือแม้แต่ AI-TA ซึ่งสามารถลอกเลียนระเบียบวิธิวิจัยมาเป็นแนวทางเริ่มต้นในการพัฒนา Robot TA แบบง่ายๆ ที่สามารถทำโปรแกรมให้ Robot TA พูดคุยกับผู้สอนด้วยปรัชญาการศึกษา Socratic Method เท่านั้นก่อน แล้วค่อยต่อยอดเชิงบูรณาการร่วมกับแพลตฟอร์มทางการศึกษาหน่วยอื่น ไม่ว่าจะเป็น MOOC หรือ LMS รวมทั้ง Blockchain และ Cloud AI อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษายุคถัดไปที่เพียงให้มีข้อมูล และ คอนเทนต์มากพอเท่านั้น ซึ่งก็ใกล้เข้ามาแล้ว
รายละเอียดทางเทคนิคขอข้ามไปก่อนน๊ะครับ เพราะถ้าแตะคงต้องเขียนกันยาวแบบจบไม่ลงแน่ๆ และตัวผมเองก็ยังมีข้อมูลน้อยมาก เพราะถือว่าเป็น “คนนอกวงการ” ที่ไม่ได้อยู่ในระดับคลุกคลีจริง… เอาเป็นว่า ท่านที่สนใจสามารถทักผมทางไลน์ส่วนตัวที่ ID: dr.thum เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลและงานวิจัยได้ครับ
References…
- https://fastfuture.com
- https://www.researchgate.net
- https://www.newswise.com
- https://roboticsbiz.com