Rooms Recognition เมื่อชีวิตติด IoT

มีคำถามน่าสนใจเข้ามาคุยกับผมหลายวันก่อน… เรื่อง IoT กับผู้สูงอายุ โดยคำถามเน้นตามหาวิสัยทัศน์หลังช่วงปฏิวัติดิจิตอลอย่างปัจจุบันที่กรอบเวลาค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า… 5G มีใช้ทั่วถึงเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น… คนชราในช่วงเวลานั้นจะอยู่อย่างไรในบ้านตัวเอง บ้านพักคนชราหรือแม้แต่ในโรงพยาบาล?… 

เท่าที่ผมมีข้อมูลอยู่ในปัจจุบัน… มีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งนักธุรกิจสายสุขภาพที่มาจากแพทย์ พยาบาล หันมาสนใจลงทุนทำบ้านพักเพื่อคนวัยปลายกันเยอะพอดู… โมเดลส่วนใหญ่เป็นรูปแบบที่ต้องเป็นผู้สูงอายุระดับช่วยตัวเองไม่ได้ หรือช่วเหลือตัวเองได้น้อยในชีวิตประจำขนาดต้องมีคนดูแลตั้งแต่ช่วยเหลือทั่วไป กินข้าว อาบน้ำ แปลงฟัน จนถึงแพทย์ พยาบาลต้องเวียนมาดูแล

ประเด็นก็คือโครงการเหล่านี้ขายได้น้อย ในขณะที่หลายโครงการล้มไปจากหลายๆ สาเหตุ รวมทั้งโครงการใหญ่ๆ สองสามโครงการที่มีห้องพักหลายร้อยเตียง… ก็ดูจะหมดแรงทางการตลาดเพราะการตอบรับเบาบางอย่างไม่น่าเชื่อ… แต่ก็เป็นไปแล้ว

ส่วนเรื่อง IoT หรือ Internet of Things ในชีวิตประจำวันที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุนั้น แม้หลายท่านจะเจอวิสัยทัศน์ชัดเจนขนาดไหน… แต่ก็ไม่ทราบจะเริ่มตรงไหน และอะไรเป็นอะไร

วันนี้เลยจะเอาข้อมูลโครงการ Watson IoT ที่ IBM ร่วมกับ Thomas Jefferson University Hospitals  โรงพยาบาลขนาด 900 เตียงที่ติดตั้งระบบ Rooms Recognition หรือ Cognitive Rooms ให้คนไข้ในพูดคุยและสั่งงานเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์และอะไรอีกมากมายด้วยเสียงพูด ปุ่มกดหรือแม้แต่ท่าทางการเคลื่อนไหว

ซึ่งระบบออกแบบให้ทำงานบน Cloud Watson IoT ของ IBM และมีความสามารถในการประมวลผลภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสอบถามข้อมูล  ควบคุมอุปกรณ์บางอย่างภายในห้อง เช่น เปิดปิดม่าน ปรับระดับแสง ปรับอุณหภูมิ เปิดเพลง ปรับเตียง แจ้งเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งการติดตามข้อมูลและโค้ชชิ่งกิจกรรมสุขภาพ หรือแม้แต่เป็นเพื่อนคุย อ่านหนังสือหรือเปิดซีรีย์ที่ชื่นชอบให้

สรุปว่า… ระบบเต็มๆ ของ Cognitive Rooms จะทำงานบน Cloud ที่รองรับโครงข่าย IoT ด้วยครับ จึงจะออกแบบและใช้อุปกรณ์ IoT ได้ราบรื่นกลืนกับชีวิตประจำวันได้จริง

ผมใช้คอมพิวเตอร์และเขียนโปรแกรมมาตั้งแต่ยุค Dos และรู้จักซอฟต์แวร์ชื่อ Dr. Watson ที่มากับ Windows 3.1 สมัยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ Apple มีชื่อเรียกว่า IBM PC โน่นเลยครับ… ที่จะบอกก็คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แปะ Code name Watson จาก IBM เป็น Machine Learning มายาวนานก่อนที่คนส่วนใหญ่จะได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่า AI/ML หรือ Artificial intelligence/Machine Learning มาหลายสิบปี… Watson cloud IoT จึงได้รับความเชื่อมั่นจากโมเดลธุรกิจมากมายอย่างเช่น โครงการ IoT ของค่ายรถยนต์ Mercedes Benz เป็นต้น

กลับมาที่ประเด็นที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ… ผมเชื่อว่าโมเดลบ้านพักคนชรา ต่อให้หรูหราขนาดไหนก็คงสู้ไม่ได้กับโมเดล Cognitive Rooms หรือถึงขั้น Cognitive Home ที่มอบความสะดวกสะบายให้ทันที มากกว่าจะมีบ้านหรือที่พักแบบนี้เมื่อตอนทำอะไรไม่ได้

ข้อมูล Insight ในมือผมชี้ว่า… ไม่มีใครอยากไปอยู่รวมกับคนแก่ด้วยกันเยอะๆ แม้ในยามช่วยเหลือตัวเองได้น้อย นั่นน่าจะเป็นเหตุให้ บ้านพักคนชราไม่ได้มียอดจองหรือยอดขายบูมมากมายอย่างที่คิด… หลายโครงการจึงปรับไปรับผู้ป่วยติดเตียง หรือไม่ก็จับมือกับธุรกิจประกันและอะไรอีกมากที่เลี่ยงการซื้อเซ้งเช่าโดยตรงที่ตลาดตอบรับน้อยมาก

ผมมีข้อมูลและงานวิจัยจำนวนหนึ่งสำหรับท่านที่สนใจจริงๆ เรื่อง Cognitive House and Living… ทักเข้ามาทางไลน์ @reder น๊ะครับ… ถ้าเป็นเพื่อนใหม่ขออนุญาตพูดคุยสอบถามกันก่อนว่าท่านเป็นใคร สนใจจะทำอะไร… ไม่ได้เลือกมากหรอกครับ แต่ข้อมูลที่มีเป็นอะไรที่ต้องใช้ความรู้ ทักษะและเวลาด้วยกันพอสมควร จึงต้องทราบพื้นฐานกันก่อนเท่านั้นเองครับ

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts