โครงการหลวง หรือ Royal project เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก่อมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2512 ยาวนานมาแล้วถึง 50 ปี


ปีพุทธศักราช 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่ บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน รับสั่งถามว่านอกจากปลูกฝิ่นขายแล้ว เขามีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีกหรือเปล่า ทำให้ทรงทราบว่า นอกจากฝิ่นแล้ว เขายังเก็บท้อพื้นเมืองขาย แม้ว่าลูกจะเล็กก็ตาม แต่ก็ยังได้เงินเท่าๆกัน โดยที่ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้ ให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเรา เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น โดยพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินสำหรับดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติมจากสถานีวิจัยดอยปุยซึ่งมีพื้นที่คับแคบ ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่า สวนสองแสน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น



แรกเริ่มต้น… โครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่างๆ และพระราชทานมีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน ดังนี้
การดำเนินงานต่างๆ ของโครงการหลวง มีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่างๆ ปฏิบัติงานถวาย ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูก พืชเขตหนาวชนิดต่างๆ เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี

- ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
- ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร
- กำจัดการปลูกฝิ่น
- รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก อย่าให้สองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน
พ.ศ. 2537 โครงการควบคุมยาเสพติดของสหประชาชาติ (UNDCP) ได้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญทองเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในการแก้ปัญหายาเสพติด โดยส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น แต่ปลูกพืชอื่นแทน จึงกล่าวได้ว่าโครงการหลวงเป็นโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นแห่งแรกของโลก
ต่อมากระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐไต้หวัน และมิตรประเทศต่าง ๆ ได้ทูลเกล้าถวายพันธุ์พืชเขตหนาว และสนับสนุนงบประมาณดำเนินการวิจัยข้างต้น
การพัฒนาชาวเขานั้นในระยะแรกไม่มีเจ้าหน้าที่ไปอยู่ประจำในหมู่บ้านชาวเขา แต่มีคณะทำงาน ซึ่งเป็นอาสาสมัครไปเยี่ยมเยียนชาวเขาในหมู่บ้านต่างๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อให้คำแนะนำและสาธิตการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ เรียกหมู่บ้านดังกล่าวว่าหมู่บ้านเยี่ยมเยียน
เมื่อเกษตรกรกลับไปยังหมู่บ้านของตน จึงเริ่มนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงาน โครงการหลวงได้มอบให้คณะทำงานซึ่งเป็นอาสาสมัคร ประกอบด้วยคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และหน่วยราชการต่างๆ ได้ออกไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรในหมู่บ้านเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อให้คำแนะนำ และสาธิตการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ได้แก่
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์… รับผิดชอบ ช่างเคี่ยน แม่สาใหม่ อ่างขาง แกน้อย
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่… รับผิดชอบ บ้านปางป่าคา ห้วยผักไผ่ ปู่หมื่นใน บ้านใหม่ร่มเย็น ถ้ำเวียงแก บ้านสวด จอมหด
- สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้… รับผิดชอบ บ้านวังดิน(ศูนย์ฯหมอกจ๋ามในปัจจุบัน) ผาหมี สะโง๊ะ เมืองงาม
- กรมวิชาการเกษตร… รับผิดชอบส่งเสริมกาแฟอราบิก้า (ร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งมีศูนย์พัฒนา และสงเคราะห์ชาวเขาบ้านแม่ลาน้อย )ห้วยฮ่อม บ้านดง ป่าแป๋ รากไม้
มาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพันธุ์ไม้ผลเขตหนาว ได้แก่ แอบเปิ้ล ท้อ พลับ และพืชไร่ที่เหมาะสมต่อการปลูกบนเขาสูงได้แก่ ถั่วแดงหลวง รวมทั้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ ได้แก่ วัวพันธุ์บราห์มัน ห่าน และแกะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ชาวเขายืมพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เหล่านี้ไปทดสอบเพาะปลูกและเลี้ยงดู ถ้าได้ผลก็จะขอคืน
โครงการ UN/Thai Program for Drug Abuse Control
พ.ศ. 2515 องค์การสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญของการปลูกพืชทดแทนฝิ่น จึงให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ UN/Thai Program for Drug Abuse Control โดยมีหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี ผู้อำนวยการโครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา เป็นผู้อำนวยการโครงการอีกตำแหน่งหนึ่ง อาจนับเป็นการเริ่มต้นของหน่วยงาน Alternative Development Unit ของ UNODC ในปัจจุบัน โดยโครงการ UN/Thai Program for Drug Abuse Control ซึ่งได้ให้การสนับสนุนงบประมาณและส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือเป็นครั้งคราว แก่โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา ซึ่งในตอนนั้นได้ส่งเสริมและพัฒนาชาวบ้านที่แม่โถ อำเภอฮอด บ้านพุย อำเภอแม่แจ่ม บ้านขุนวาง อำเภอสันป่าตอง บ้านขุนช่างเคี่ยน อำเภอเมือง ดอยสามหมื่น อำเภอเชียงดาว และบ้านคุ้ม อำเภอฝาง
โครงการวิจัยและพัฒนาภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2516 กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ( USDA/ARS) ได้ให้การสนับสนุนทุนแก่โครงการหลวงในการวิจัยการเกษตรบนที่สูงปีละประมาณ 20 ล้านบาท ทำให้มีองค์ความรู้ด้านการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยเพื่อหาชนิดและพันธุ์พืชที่เหมาะสมต่อการปลูกบนพื้นที่สูง การศึกษาวิธีการปลูกและการปฏิบัติรักษา รวมทั้งงานวิจัยด้านอื่นๆ เช่น ไม้ผลเขตหนาว การเลี้ยงครั่ง กาแฟอราบิก้า ชา ไม้ตัดดอก สตรอเบอรี่ ระบบการปลูกพืช การเพาะเห็ดหอม ไหมป่า พืชย้อมสี การอนุรักษ์ดิน การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง การผสมพันธุ์และการผลิตหอมหัวใหญ่ พืชผักเขตหนาว ธัญพืช สมุนไพร เฟิร์นแห้ง เก๊กฮวย พืชน้ำมันเพื่อการอุตสาหกรรม การใช้น้ำอย่างประหยัด การปรับปรุงและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และการควบคุมวัชพืช เป็นต้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2522 โครงการหลวงได้พิจารณาเห็นว่าผลงานวิจัยต่างๆสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ของชาวเขาได้ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาชุมชนชาวเขาทด แทนการปลูกฝิ่นในพื้นที่โครงการหลวง รวม 5 แห่ง
ความร่วมมือโครงการหลวงและไต้หวัน
พ.ศ. 2513 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เสด็จไปยังสาธารณรัฐจีนไต้หวัน และสนพระทัยงานการปลูกพืชเขตหนาวของฟาร์มฟูซูซานซึ่งเป็นหมู่บ้านบนภูเขา เป็นอย่างมาก ต่อมา เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 คณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกได้จัดส่งนายซุง ซิง หยุน รองผู้จัดการฟาร์ม ฟูซูซาน เดินทางมาประเทศไทยเพื่อศึกษาสภาพพื้นที่โครงการหลวง เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโครงการหลวงและไต้หวัน โดยคณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกจีนไต้หวัน(VARCR) ได้ให้การสนับสนุนโดยส่ง พันธุ์พืชชนิดต่างๆ ได้แก่ สาลี่ ท้อ บ๊วย พลัม พลับ วอลนัท เห็ดหอม เห็ดหูหนู ตังกุย เก็กฮวย ดอกไม้จีน ไม้โตเร็ว และเมล็ดพันธุ์ผักชนิดต่างๆ พร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางมาปฏิบัติงานในโครงการหลวง จำนวน 2-3 นายทุกปี รวมทั้งสนับสนุนให้คณะอาจารย์ (อาสาสมัคร) และเจ้าหน้าที่โครงการหลวง ไปศึกษาดูงานและฝึกงานที่ฟาร์ม ฟู ซู ซาน และสถานีบนภูเขาของไต้หวัน ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาอาชีพของชาวเขา ได้แก่
- ถั่วแดงหลวง
พ.ศ. 2514 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้สั่งเมล็ดพันธุ์ถั่วแดงจากบริษัท Dessert Seed สหรัฐอเมริกา จำนวน 2 ตัน (พันธุ์ darkled redcoat และ maintop) พร้อมทั้งถั่วไลมา (lima) และถั่วปินโต (pinto) โดยได้ส่งไปทดสอบตามดอยต่างๆ ปรากฏว่าได้ผลดีที่แม่โถ บ้านวังดิน ผาหมี สะโมง และดอยงาม และเป็นพืชสำคัญที่โครงการต่างๆ นิยมนำไปเป็นพืชหลักในการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่น โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร เนื่องจากปลูกง่ายและขนส่งผลผลิตสะดวก - สตรอเบอรี่
พ.ศ. 2515 โครงการหลวงได้นำพันธุ์สตรอเบอรี่จากต่างประเทศมาทดลองปลูกประมาณ 40 พันธุ์ คัดไว้ได้ 2 พันธุ์ นำไปให้ชาวบ้านทดลองปลูก ปรากฏว่า มีพันธุ์สตรอเบอรี่ที่เกษตรกรนิยม 1 พันธุ์ คือ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 จึงนำไปส่งเสริมให้แก่ราษฎรพื้นราบของเมืองเชียงใหม่ปลูกจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยทั่วไป ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์สตรอเบอรีเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพ แวดล้อมของประเทศไทย รวมถึงการศึกษาการปฏิบัติรักษาที่ดีขึ้น ปัจจุบันเกษตรกรในโครงการหลวงได้ปลูกสรอเบอรีพันธุ์พระราชทาน 80 ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค - กาแฟอราบิก้า
พ.ศ. 2515 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้มอบให้นักวิจัยศึกษาการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงซึ่งเป็น พื้นที่สูง พบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดี จึงได้มีการศึกษาพันธุ์กาแฟอาราบิกาต้านทานโรคราสนิม รวมถึงการศึกษาด้านการปฏิบัติรักษาการปลูกกาแฟอราบิก้าด้านต่างๆ โดยทุนการวิจัยจาก USDA/ARS
พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรต้นกาแฟอราบิก้าที่ ปลูกโดยเกษตรชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงบ้านหนองหล่ม ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง เป็นครั้งแรก นับว่าเป็นขวัญและกำลังใจต่องานวิจัยและพัฒนาการปลูกกาแฟอราบิก้าของประเทศ ไทยเป็นอย่างยิ่ง ส่งให้กาแฟอราบิก้าเป็นพืชสำคัญของเกษตรบนพื้นที่สูงในปัจจุบัน - พืชผักเขตหนาว
พืช ผักเป็นพืชที่มีระยะเวลาปลูกสั้น สามารถนำไปเป็นอาหารสำหรับริโภคและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ในขณะเดียวกันการปลูกผักใช้พื้นที่ปลูกเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการ ปลูกข้าวโพดหรือพืชไร่อื่นๆ ก่อน พ.ศ. 2524 ไม่เกษตรกรใดปลูกผักเขตหนาวในประเทศไทย จากผลการวิจัยพืชผักที่ได้รับการสนับสนุนจาก USDA/ARS รวมทั้งการสนับสนุนของไต้หวัน ในฤดูปลูกปี พ.ศ. 2524 โครงการหลวงจึงได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผักเขตหนาวที่โครงการ หลวงแม่แฮ เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น พืชผักชนิดต่างๆ ได้แก่ ผักกาดหอมห่อ ผักกาดหางหงส์ และแครอท ปรากฏว่าปลูกได้ผลดี ทำให้มีผู้นิยมปลูกผักเพิ่มขึ้นตามลำดับ - ไม้ผลเขตหนาว
ไม้ผลเขตหนาว เป็นพืชที่โครงการหลวงให้ความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เนื่องจากเป็นพืชยืนต้น ให้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีเรือนยอดปกคลุมพื้นดินได้ดีเช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไป ในระยะแรกของโครงการหลวง เริ่มจากการปรับปรุงการปลูกท้อพื้นเมืองที่ให้ผลเล็ก รวมทั้งการวิจัยและส่งเสริมไม้ผลเขตหนาวชนิดต่างๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐจีนไต้หวัน และทุนการวิจัยจาก USDA/ARS ทำให้ได้ชนิดและพันธุ์ไม้ผลเขตหนาว ไม้ผลกึ่งหนาว และไม้ผลขนาดเล็กชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับการปลูกบนพื้นที่สูงของประเทศไทยหลายชนิด เช่น พีช สาลี พลับ พลัม บ๊วย อโวกาโด กีวีฟรุต เสาวรส ฯลฯ ไม้ผลเหล่านี้สมารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร ทำให้เกษตรกรชาวเขาเลิกการทำไร่เลื่อนลอยและการปลูกฝิ่นหันมาประกอบอาชีพ เป็นชาวสวนจำนวนมาก
ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงด้วยความร่วมมือของอาสา สมัครจากหน่ายงานต่างๆ สามารถผสมและคัดเลือกพันธุ์ไม้ผลเขตหนาวหลายชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ของประเทศไทยได้ เช่น พีท(ท้อ) สาลี และสตรอเบอรี เป็นต้น - ไม้ตัดดอกและไม้ประดับ
โครงการ หลวงได้ดำเนินงานวิจัยไม้ตัดดอก โดยได้รับการสนับสนุนจาก USDA/ARS โดยนำไม้ตัดดอกชนิดต่างๆทดลองปลูก เช่น คาร์เนชัน เบญจมาศ แกลดิโอรัส ซิมบิเดียม ฯลฯ ในระยะแรกดำเนินงานวิจัยที่ห้วยทุ่งจ้อ ต่อมาเมื่อเริ่มต้นโครงการหลวงอินทนนท์ จึงย้ายงานวิจัยไม้ดอกไปที่โครงการหลวงอินทนนท์ และได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ตัดดอกเพื่อเป็นทางเลือกในกาประกอบอาชีพได้ มากขึ้นความร่วมมือโครงการหลวงและไต้หวัน
หน่วยอารักขาพืช
โครงการหลวงได้ ตั้งโครงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เมื่อ พ.ศ. 2525 ถือเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมากต่อการปลูกพืชชนิดต่างๆ ของเกษตรกร เพื่อทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนาวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมกับ พื้นที่สูงของประเทศไทย รวมถึงการให้บริการความรู้และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรของโครงการหลวง ให้ใช้วิธีการกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยอารักขาพืช เพื่อให้ดำเนินงานลักษณะงานประจำมากขึ้น และเปลี่ยนเป็นศูนย์อารักขาพืช เมื่อ พ.ศ. 2544 เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจและควบคุมการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชในพื้นที่ โครงการหลวง โดยการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่สนาม และผู้นำเกษตรกร เน้นใช้วิธีการจัดการแบบผสมผสาน ปัจจุบันทำหน้าที่ทั้งการวิจัยและพัฒนาการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การถ่ายทอดความรู้ การผลิตชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืช และการควบคุมและตรวจสอบสารพิษตกค้างในผลผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ
โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชดำริ จัดตั้งโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียเปรียบ และประสบปัญหาในการจำหน่ายผลิตผลทางเกษตรที่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางซึ่งถูกกด ราคาเป็นอย่างมาก
พ.ศ. 2515 โครงการหลวงตั้งโรงงานอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อแปร รูปผลผลิตการเกษตรที่มีมากขึ้น เริ่มจากการแปรรูปผลสตรอเบอรี่ของเกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น ต่อมาตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่บ้านยาง อำเภอฝาง เพื่อแปรรูปผลไม้ และโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่แม่จัน จังหวัดเชียงราย เพื่อทำแป้งถั่วเหลือง รวมถึงการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค้าเพิ่มให้แก่ผลผลิตชนิดต่างๆของเกษตรกร
งานพัฒนาสังคม
กล่าวได้ว่า หน่วยงานต่างๆและอาสาสมัครได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการหลวงมากมาย หลายด้าน ทั้งตั้งแต่เริ่มต้นโครงการหลวงและในปัจจุบัน ทั้งในด้านของการพัฒนาสังคม การศึกษา และสาธารณสุข กลุ่มประชาอาสา โดยการนำของ ศาสตราจารย์ นพ. เกษม วัฒนชัย กับกลุ่มแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มประชาชน ออกปฏิบัติงานให้คำแนะนำด้านสุขอนามัยและการบริการทางสังคมต่างๆ โดยออกปฏิบัติงานครั้งแรกเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2529 ที่บ้านนอแล อำเภอฝาง จังหวัด เชียงใหม่ และดำเนินการสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
- ธนาคารข้าว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานข้าวเพื่อตั้งเป็นธนาคารข้าวที่บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแห่งแรก เพราะชาวลั๊วะที่นั่นบางปีขาดแคลนข้าว ต้องยืมเงินซื้อโดยเสียดอกเบี้ยสูงมากจนไม่มีทางจะชำระหนี้ได้หมด ธนาคารข้าวที่ตั้งขึ้นนี้คิดดอกเบี้ยต่ำขนาดชาวบ้านสามารถใช้คืนได้ในฤดู เก็บเกี่ยวครั้งต่อไป หลักเกณฑ์ของธนาคารมีอยู่ว่า ชาวบ้านต้องช่วยกันสร้างยุ้งข้าวและรวมกลุ่มกันดูแลการจ่ายออกและทวงคืน มีธนาคารข้าวหลายแห่งที่สามารถสะสมข้าวได้จนเหลือใช้จึงทูลเกล้าฯ ถวายคืนเพื่อพระราชทานธนาคารอื่นต่อไป - โรงเรียน
ในระยะแรกของ โครงการหลวง เมื่อพบว่าที่ใดไม่มีโรงเรียน โครงการหลวงจะตั้งขึ้นก่อน ต่อมาเมื่อทางราชการมีความพร้อม ก็ได้มอบให้รับไปดูแลต่อไปโครงการหลวง ได้ตั้ง โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชุมชนชาวเขา เมื่อ พ.ศ. 2525 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวเขาในพื้นที่โครงการหลวงรู้คุณค่าของหนังสือ โดยดำเนินงานร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาขยายขอบเขตงานเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่และส่งเสริมการศึกษา และปรับเปลี่ยนเป็น งานพัฒนาสังคมและการศึกษา ในปัจจุบัน
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
ต้นปี พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในพื้นที่ต่างๆ ทรงพบชาวเขาซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร มีสภาพยากจน และยากแก่การเข้าถึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พัฒนาหมู่บ้านชาวเขาในพื้นที่ทุรกันดารเหล่านั้น เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ลดการปลูกฝิ่น และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้หารือกับผู้บริหารของหน่วยราชการต่างๆ เพื่อส่งอาสาสมัครไปเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารโครงการ เรียกว่า ผู้ประสานงานโครงการ เนื่องจากเห็นว่าในการพัฒนาชุมชนชาวเขานั้นจำเป็นต้องร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงาน โดยมีหน่วยงานที่มีอาสาสมัครปฏิบัติงานด้านการพัฒนาชาวเขา ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรภาคเหนือ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมประชาสงเคราะห์ ระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อเป็นงบประมาณสำหรับการดำเนินงาน เรียกชื่อโครงการการพัฒนาหมู่บ้านของชาวเขาในระยะนั้นว่า โครงการหลวง โดยโครงการหลวงแต่ละแห่งจะครอบคลุมพื้นที่ 4-9 หมู่บ้าน ได้แก่ โครงการหลวงแม่แฮ โครงการหลวงทุ่งหลวง โครงการหลวงแม่ปูนหลวง โครงการหลวงปางอุ๋ง และโครงการหลวงแม่ลาน้อย ตามลำดับ เมื่อผลจากการวิจัยเริ่มปรากฏมากขึ้น พ.ศ. 2522 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงขอความร่วมมือจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA/ARS) เพื่อให้การสนับสนุนการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขาในพื้นที่ต่างๆ รวม 5 แห่ง เพื่อให้ชาวเขามีอาชีพการเกษตรอื่นๆ ทดแทนการปลูกฝิ่น โดยเริ่มการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการหลวงแต่ละแห่ง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 ปีละ 50,000 เหรียญสหรัฐ (1 เหรียญเท่ากับ 20 บาท) ซึ่งแต่ละโครงการต้องส่งรายงานความก้าวหน้าปีละ 2 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2529 สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนหน่วยให้ความช่วยเหลือจาก USDA/ARS มาเป็นหน่วยงานด้านยาเสพติด (NAU) ของสถานเอกอัคราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยแทน
มูลนิธิโครงการหลวง
พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โครงการหลวงจดทะเบียนเป็นมูลนิธิโครงการหลวง โดยพระราชทานเงินเพื่อเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิฯ เริ่มแรก 500,000 บาท เพื่อให้เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ถาวรมั่นคง สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีระบบงานที่แน่นอนรองรับ มีการบริหารงานภายในคล่องตัว มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเกิดผลดียิ่งขึ้นในอนาคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ และหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานมูลนิธิ โดยมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นเลขาธิการมูลนิธิ
ปัจจุบันเครือข่ายโครงการหลวงประกอบด้วย…
สถานีวิจัยโครงการหลวง
- สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
- สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
- สถานีเกษตรหลวงปางดะ
- สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด
ศูนย์พัฒนาโครงการ
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางดะ
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอด
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะป๊อก
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยผักไผ่
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า
อ้างอิง