RPA In Healthcare… ข้อมูลอัตโนมัติในการดูแลสุขภาพ #LifeSciencesAndHealthtech

อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ หรือ Healthcare Industry ถือเป็นระบบนิเวศที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลท่วมท้น และ ซับซ้อนละเอียดอ่อนเหมือนกันหมดทั่วโลก… โดยเฉพาะข้อมูลในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ หรือ Medical Industry ที่ขับเคลื่อนธุรกิจโรงพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และ การบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยมีแพทย์ พยาบาล และ โรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง… ซึ่งระบบนิเวศการให้บริการทางการแพทย์ล้วนแต่ต้องพึงพา “ข้อมูลอ้างอิง” จากหลายแหล่ง “ข้อมูลต้น หรือ Source Data” เพื่อให้การตรวจรักษาผิดพลาดน้อยที่สุด… ผลิตและนำใช้องค์ความรู้ หรือ Knowledge ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด… รวมทั้งการใช้ข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังทางสาธารณสุข และ ติดตามผู้ป่วย–คนไข้ตลอดเส้นทางการให้บริการด้านสุขภาพในทุกๆ ช่องทางและรูปแบบด้วย

มาตรฐานข้อมูลสำหรับบริการทางการแพทย์มีชื่อว่า “เวชระเบียน หรือ Medical Record” โดยพัฒนาจากบันทึกทางการแพทย์มาตั้งแต่ยุคที่ต้องเขียนด้วยลายมือทั้งหมด จนมาถึงยุคดิจิทัลที่ข้อมูลส่วนใหญ่ถูก “บันทึก–จัดเก็บ–สำเนา” ด้วยคอมพิวเตอร์แบบที่เรียกว่า “เวชระเบียนดิจิทัล หรือ Digital Medical Record หรือ DMR” ซึ่งทำให้การสำเนาข้อมูล และ แบ่งปันสำเนาข้อมูล หรือ แชร์ข้อมูล ทำได้ง่ายดายเพียงคลิกเม้าส์คอมพิวเตอร์เพียงสองสามคลิก…

แต่ข้อมูลจาก DMR หรือ Digital Medical Record ถือเป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหวทางละเมิด และ จริยธรรมสูงมากจนกลายเป็นปัญหาสำคัญเมื่อต้องสำเนา และ แชร์ข้อมูลเหล่านั้น… โดยเฉพาะข้อมูลดิบที่ผิดกฏหมายข้อมูลโดยตรงเมื่อมีไว้ หรือ ครอบครองโดยละเมิด เช่น… ข้อมูลความพิการที่ระบุและเปิดเผยตัวบุคคล… ข้อมูลการรักษาโรคของบุคคลที่อ่อนไหวต่อภาพลักษณ์ชื่อเสียง ความสัมพันธ์ และ ผลประโยชน์ รวมทั้งข้อมูลบุคคลที่ขอใช้สิทธิ์ปกปิดโดยเจตนา เป็นต้น

ปัญหาก็คือ… อุตสาหกรรมทางการแพทย์ หรือ Medical Industry “ต้องการใช้ข้อมูลทั้งหมด” ที่สามารถบันทึก และ จัดเก็บได้… โดยเฉพาะการนำใช้ข้อมูลทั้งหมดเพื่อการพัฒนาสารสนเทศ และ องค์ความรู้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์เอง… การเข้าถึง และ นำใช้ข้อมูลที่อ่อนไหวเหล่านี้จึงต้องการเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวก–รวดเร็ว–ครบถ้วน ภายใต้การจัดการข้อมูลทั้งผลิต บันทึก จัดเก็บ สำเนา แก้ไข และหรือ ลบข้อมูลโดยไม่ละเมิดในทุกกรณี

ในทางเทคนิค… ขั้นตอนการผลิต บันทึก จัดเก็บ สำเนา แก้ไข และหรือ ลบข้อมูลใน DMR หรือ Digital Medical Record ถือเป็นงานน่าเบื่อหน่ายของแพทย์พยาบาลที่ต้องทำงาน “ผลิต และ บันทึกข้อมูลลง DMR” ซึ่งหลายกรณีใช้เวลา และ ทรัพยากรยิ่งกว่าการตรวจวินิจฉัย และ การรักษามากมาย… ระบบบริหารข้อมูล DMR ยุคใหม่จึงหาทางลดความซับซ้อนของข้อมูลให้ได้มากที่สุด ซึ่ง AI กับ Machine Learning และ Automation Process ได้กลายเป็นความหวังของ Healthcare Industry… โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางการแพทย์ หรือ Medical Industry ที่ผลิตและใช้เวลาไปกับข้อมูลในโรงพยาบาลในทุกๆ วัน

หลายโรงพยาบาลที่มีวิสัยทัศน์ และ ได้ยกระดับจากเวชระเบียนแฟ้มกระดาษ หรือ การ์ดเติมคำในช่องว่างมาเป็น DMR อยู่ก่อนแล้ว… จึงเดินหน้า Upgrade ไปใช้ซอฟท์แวร์ RPA หรือ Robotics Process Automation เพื่อให้การผลิตข้อมูลทุติยภูมิ หรือ Secondary Data ที่อ่อนไหวด้านจริยธรรมน้อยกว่าข้อมูลปฐมภูมิ หรือ Primary Data หรือ Raw Data… สามารถบันทึก–จัดเก็บ–สำเนาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ Medical Industry ได้ดีกว่าเดิม โดยข้อมูลที่ผลิตผ่าน RPA ทั้งหมดจะไม่เป็นภาระต่อแพทย์พยาบาล ที่เคยต้องรับผิดชอบการ Input ข้อมูลในโรงพยาบาลเหมือนแต่ก่อน และยังผิดพลาดบกพร่องน้อยกว่าการใช้คนทำข้อมูลที่มีสัดส่วน Human Error เสมอ

อย่างไรก็ตาม… ซอฟท์แวร์ RPA ใน Healthcare Industry… โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางการแพทย์ หรือ Medical Industry ถือว่าเป็นของใหม่ที่ยังไม่แพร่หลาย ถึงแม้ในทางทฤษฎีจะชัดเจนว่า RPA “ลดงานซ้ำๆ ให้แพทย์พยาบาลลง และยังเพิ่มข้อมูลให้โรงพยาบาลได้มากกว่าเดิม” อย่างชัดเจน และ ยังเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ป่วยที่มาใช้บริการโรงพยาบาลอย่างมากมาย… แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้โรงพยาบาลลังเล และหรือ ไม่สามารถ Upgrade ระบบไปใช้ RPA ได้เร็วนัก เช่น ความพร้อมเชิงโครงสร้างที่ยังรองรับเทคโนโลยี RPA ได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงบประมาณ และ การจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งห่วงโซ่ปัญหา “ความไม่พร้อม” เป็นรายกรณีอีกมาก

กรณีศึกษาการใช้ Robotic Process Automation หรือ RPA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ โดยองค์กรธุรกิจที่ปรึกษาด้านซอฟแวร์องค์กรรายใหญ่อย่าง STL Advisory Limited ได้ยกอ้างการใช้งาน RPA ใน Healthcare Industry ไว้หลายกรณีเช่น… 

  • Electronic Records And Data Sharing หรือ บันทึกทางอิเลคทรอนิคส์ และ การแชร์ข้อมูล
  • Appointment Scheduling หรือ ระบบนัดหมาย
  • Billing, Payments And Claims Management หรือ ระบบการเงิน และ ประกันสุขภาพ
  • Tracking Assets หรือ ติดตามทรัพยากรในระบบ
  • Data Analytics And Diagnostics หรือ ข้อมูลวิเคราะห์ และ ข้อมูลวินิจฉัย
  • Post Treatment Care หรือ การดูแลหลังรักษา

รายละเอียดขอข้ามที่จะขยายความครับ! เพราะในโลกของข้อมูลจะเป็นตรรกะแบบ “ไก่กับไข่” ที่ต้องทำความเข้าใจเป็นรายกรณี… แต่ถ้าท่านกำลังหาเพื่อนคุยเกี่ยวกับ Advance RPA In Healthcare ก็สามารถทักผมทาง Line ID: dr.thum ได้ครับ

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts