rPET หรือ Recycled PolyEthylene Terephthalate หรือ พลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลตที่รีไซเคิลมาแล้ว… ซึ่งพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลตที่เราท่านคุ้นเคยดีในนามขวดเพ็ต หรือ ขวดพีอีที ที่บรรจุน้ำดื่ม และ เครื่องดื่มเย็น รวมทั้งแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร… ซึ่งการผลิตขวด หรือ บรรจุภัณฑ์จาก PET ส่วนใหญ่จะใช้เม็ดพลาสติกใหม่ที่เรียกกันว่า Virgin Plastic… เมื่อผลิตมากขึ้น จึงเป็นการเพิ่มขยะพลาสติกขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จบ… การจะลดปริมาณพลาสติกลงจึงต้องเริ่มต้นที่การลดปริมาณ Virgin Plastic โดยนำ PET มารีไซเคิล… ซึ่งพลาสติก PET ที่ถูกรีไซเคิลกลับมาใช้จะถูกเรียกว่า rPET หรือ Recycled PolyEthylene Terephthalate โดยหลายประเทศกำลังเร่งดำเนินการผลักดันบังคับใช้บรรจุภัณฑ์ rPET ทดแทน PET หรือ Virgin PET ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy
ประเทศไทย… ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 435) พ.ศ. 2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดเศรษกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy… โดยนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอด และ สร้างมูลค่าเพิ่ม… โดยทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญกับแนวทางลดการใช้พลาสติก รวมทั้งเพิ่มการนำพลาสติกหลังการใช้งาน โดยเฉพาะขวดพลาสติก PET กลับมารีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดรับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy โดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาวัสดุสำหรับการผลิตภาชนะบรรจุ และ การวิเคราะห์ทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำกับดูแลความปลอดภัยในประเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศไทยมีศักยภาพสูง และ มีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของอาเซียน เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบทางการเกษตร ความพร้อมด้านห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรม ตลอดจนความสามารถด้านเทคโนโลยี และ ทรัพยากรบุคคล ทำให้เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจในประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีห้องปฏิบัติการ หรือ หน่วยรับบริการทดสอบประสิทธิภาพการรีไซเคิลพลาสติกและวัสดุสัมผัสอาหารจากพลาสติกรีไซเคิลที่รองรับการการตรวจวิเคราะห์ และหรือ ประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของพลาสติกรีไซเคิลเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค และ ผู้ประกอบการในการเลือกใช้พลาสติกรีไซเคิล
รศ.ดร.อำพร เสน่ห์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์… ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในทีมนักวิชาการที่ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้านวิชาการพิจารณาทบทวนข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ให้ข้อมูลว่า… อย.ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคในการใช้ rPET ทาง อย. จึงได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ในการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่ ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อร่วมกันดำเนินงานแผนการวิจัย “การพัฒนาวิธีทดสอบและประเมินความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหารเพื่อกำหนดมาตรฐานของประเทศไทย”
แปลว่า… ประเทศไทยภายใต้การกำกับดูแลของ อย. พร้อมขึ้นทะเบียนสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ rPET ที่ได้มาตรฐานไปขอ อย. เพื่อนำสินค้าวางตลาดในประเทศได้แล้ว… ส่วนสินค้าส่งออกไปยุโรปซึ่งประกาศบังคับใช้บรรจุภัณฑ์ rPET ในข้อตกลงทางการค้าอยู่แล้ว… เชื่อว่าผู้ส่งออกคงมีข้อมูลอยู่ในมือกันครบถ้วนแล้วเช่นกัน
References…
2 replies on “rPET Packaging… บรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารจากพลาสติกรีไซเคิล #CircularEconomy”
มีขายแผ่น rPET มั๊ยครับ ถ้ามีมีความหนาเท่าไร และราคาเท่าไร
ไม่เคยได้ยินว่าเขาขายเป็นแผ่นครับ… ทราบแต่ว่าเขาขายเป็นเม็ดพลาสติกที่เซอร์ว่าเป็น rPET… เม็ดพลาสติกมีขายบน Alibaba.com เยอะมากครับ