3 Great Pyramid

SCQA Methods, Barbara Minto และ McKinsey & Company

หนังสือของ Barbara Minto ชื่อ The Minto Pyramid Principle, Logic in Writing, Thinking and Problem Solving แท้จริงแล้วเป็นคู่มือการทำ Storytelling ด้วยสูตร SCQA ที่มีการแนะนำให้ใช้กันทั่วโลกในห้วงเวลาทุกคนเข้าใจแล้วว่า… Contents is King ที่ Bill Gates พูดถึงตั้งแต่ยุค 80’s คืออะไรและสำคัญยังไง 

Barbara Minto, Founder of Minto Pyramid Principle, Credit: mckinsey.com

Barbara Minto ใช้เทคนิค SCQA ถ่ายทอดเรื่องราวและนำเสนอข้อมูลงานวิจัยมาตั้งแต่เธอทำงานให้ McKinsey & Company หลังจบ MBA จาก Harvard Business School ในยุคที่ชั้นเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจที่ฮาร์วาด ไม่ปลื้มนักศึกษาสุภาพสตรีเท่าไหร่… และ Barbara Minto เริ่มงานแรกหลังเรียนจบปริญญาโทกับ McKinsey & Company สาขา Cleveland, Ohio

McKinsey & Company เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก ที่เติบโตและได้รับความเชื่อถือมายาวนานในแวดวงธุรกิจ ปัจจุบันมีสาขาอยู่ 166 เมือง ใน 66 ประเทศรวมกรุงเทพมหานครด้วย… McKinsey & Company คือต้นทางข้อมูลอ้างอิงที่ Update และเชื่อถือได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าของ McKinsey & Company หรือ ไม่ใช่ลูกค้าของ McKinsey & Company ก็ตาม… งานของ McKinsey & Company ในภาพรวมมักจะเริ่มต้นที่งานวิจัยเชิงธุรกิจเพื่อลูกค้า และนำข้อมูลจากงานวิจัยมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ทำเป็นรายงานและส่งมอบให้ลูกค้า หรือไม่ก็นำข้อมูลจากรายงาน ไปพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจให้ลูกค้า… เป็นลมใต้ปีกให้ธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั่วโลก พากราฟการเติบโตเงยชันขึ้นสูงครั้งแล้วครั้งเล่า… ซึ่งหลายครั้ง ข้อมูลที่ McKinsey & Company แบ่งปันฟรีๆ ผ่านเวบไซต์ McKinsey.com ก็เป็นประโยชน์มากมายกับธุรกิจและการศึกษามาตลอด

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ McKinsey & Company กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยรายงานการวิจัยทางธุรกิจที่โดดเด่นจนถึงทุกวันนี้… ซึ่งคน McKinsey ยกย่อง Barbara Minto กับงานตรวจแก้รายงาน หรือ Edit Report โดยเธอตั้งแต่เข้ามาร่วมงานกับ McKinsey & Company ที่สาขา Cleveland… และเปลี่ยนเธอจากนักวิจัยทางธุรกิจ ไปเป็นโค๊ชสอนการเขียนรายงานแนวทางใหม่ที่เรียกว่า SCQA Method นับแต่นั้น

SCQA Method เป็นกรอบการนำเสนอข้อมูล ที่ทำให้ข้อมูลและชื่อเรียกยาวๆ เพราะมีเงื่อนไขพ่วงชื่อมาด้วย พร้อมตัวเลขมีทศนิยม ค่าและการวัดทางสถิติ เงื่อนเวลา และสารพัดความซับซ้อน ซึ่งการสื่อสารข้อมูลจากงานวิจัย ล้วนเป็นยาขมดมเหม็นมาตลอดสำหรับทุกคนแม้แต่นักวิจัยเอง… กลายเป็นเรื่อง “เข้าใจได้ไม่ยาก” และนำไปสู่ขั้นการนำข้อมูลไปใช้อย่างได้ผล ที่หมายถึงถูกที่ถูกเวลา จนได้ผลลัพธ์สุดท้ายที่เรียกว่า “สำเร็จ” ได้ไม่ยาก

SCQA Method มาจากอักษรหน้าคำ 4 คำคือ Situation, Complication, Question และ Answer โดย…

S Situation หรือสถานะของประเด็นและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะข้อมูลหรือเรื่องราว และคนรับข้อมูลหรือผู้รับสารด้วย… โดยรูปแบบและงาน McKinsey & Company มักจะเริ่ม Situation ด้านข้อมูลและสารด้วยงานวิจัย โดยใช้ Tools & Methodology ที่ถูกต้อง… และ Situation ฝั่งผู้รับสารทั้งลูกค้า หรือแม้แต่ลูกค้าของลูกค้า ส่วนใหญ่ก็ยังต้องเข้าให้ถึง Insight ด้วยการทำวิจัยเช่นกัน เว้นแต่ว่าจะมีข้อมูลมาตรฐานที่วิเคราะห์แล้วและ Up to Date ให้เชื่อถือได้อยู่ก่อนแล้ว

C Complication หรือความซับซ้อนในสาระของข้อมูลหรือสารที่จะนำส่งหรืออธิบาย… การทำความเข้าใจกับความซับซ้อนของข้อมูลที่จะเล่าต่อ หรืออธิบายให้คนอื่นเข้าใจ… ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำรายงานที่เข้าใจง่าย โดยมุ่งไปที่ “การแปลงและแปลข้อมูลอันซับซ้อน” อธิบายให้ใครๆ เข้าใจได้ง่ายๆ ทั้งด้วยภาษาเขียนและภาษาพูด

Q Question หรือคำถามและข้อสงสัย… ซึ่งแทบทุกกรณีบนโลกใบนี้ ล้วนคลี่คลายและดีขึ้นได้จากตอบคำถามได้ชัดจน “หมดสงสัย” ที่แปลอีกชั้นได้ว่า “เข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้ว” แต่สาระของ SCQA Method เรื่องคำถามจะต่างจากแนวคิดอื่น หรือธรรมชาติของคำถามที่มักจะเกิดหลังจากมีประเด็นที่ถูกอธิบายไปแล้ว… แต่ไม่ชัดเจนจึงมีคำถาม… ซึ่ง SCQA Method จะสร้างคำถามขึ้นเองทุกแง่มุมในประเด็น ตั้งแต่ขั้นการเตรียม ที่หลายครั้ง… ย้อนไปถึงคำถามในงานวิจัยที่ต้องไปพิสูจน์คำตอบด้วยข้อเท็จจริงนั่นเลย… ในหนังสือ The Minto Pyramid Principle, Logic in Writing, Thinking and Problem Solving ของ Barbara Minto ยกเอาเรื่อง Question แยกมาเป็นหมวดที่สองของหนังสือ และเรียกหมวดนี้ว่า Logic in Thinking ใช้พื้นที่ในหนังสือจากหน้า 87-157 ของเนื้อหาหนังสือที่มีอยู่ราวๆ 176 หน้าเท่านั้น

A Answer หรือคำตอบ ที่หมายถึงการคลายประเด็นได้ทั้งหมดจนไม่เหลือคำถาม และยังต้องเอาคำตอบท้ังหมด… ไปทำประโยชน์ทางใดทางหนึ่งได้ด้วย ซึ่งทั้งหมดนั่นหมายความว่า คำตอบที่ต้องการคือคำตอบที่เป็นประโยชน์ หรือสนองประโยชน์ก่อนอื่น… ที่สำคัญกว่านั้นคือ Minto Pyramid Principle สร้างปิรามิดด้วยคำตอบที่เสริมด้วยหลักฐานยืนยัน หรือ Evidence และเหตุผลแวดล้อม หรือ Argument ที่หนักแน่นและปกป้องคำตอบได้

คร่าวๆ กับนิยามและการตีความ SCQA ที่เอียงๆ มาสนับสนุนฝั่งการเรียนรู้มากหน่อย… ท่านที่หาคำตอบ SCQA เพื่อวัตถุประสงค์อื่นอาจจะงงๆ กับการอธิบายแบบนี้… ถ้าท่านขัดข้องเห็นต่างอย่างไรก็ยินดีรับฟังเสมอเช่นเดิม โดยเฉพาะการแหกออกมาจาก SCQA เพื่อพัฒนา Contents หรือทำ Storytelling ซึ่งเป็นอาชีพสุดท้ายของ Barbara Minto ที่เดินสายเปิดคอร์สสอนเขียนด้วย SCQA Method ไปทั่วโลก

แต่ส่วนตัวของ Barbara Minto ก็มองว่าตัวเองเป็นครูที่ SCQA ช่วยเธอเตรียมสอนมาตลอด เพียงแต่เธอมองว่าตัวเองเป็น “ครูนอกคอก” เหมือนที่เธอให้สัมภาษณ์ไว้จากกรณีที่ลูกศิษย์ที่เข้าอบรมกับเธอ ชมเชยแผนการสอนและทักษะการสอนอันยอดเยี่ยมของเธอ ในขณะที่เธออกตัวว่า…

The school would very likely not have let me in had I applied these days. โรงเรียนไม่น่าจะรับใบสมัครงานของฉันหรอกในวันนี้

Barbara Minto เปิดชั้นเรียนสอนเขียนในแนวทาง SCQA ไปทั่วโลกด้วยการให้ลูกศิษย์ที่สมัครเรียน เขียนงานส่งเธอก่อนวันเปิดเรียน และเธอเอางานลูกศิษย์แต่ละคนมาวิเคราะห์ แล้วค่อยนำกลับไปสอนด้วยพื้นฐานที่ได้จากการวิเคราะห์แบบคนต่อคน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการสอนรายบุคคลตามพื้นฐานที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง… นั่นทำให้เธอรับลูกศิษย์ได้คราวละไม่กี่คนเท่านั้น

คำถามคือ… SCQA Method ของ Barbara Minto หรือที่รู้จักกันในชื่อ Minto Pyramid Principle ประยุกต์ใช้กับการศึกษาได้หรือไม่?

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts