Self Compassion And Selfish… เห็นใจตัวเองและเห็นแก่ตัวเอง #SelfInsight

งานวิจัยของ Assoc. Prof. Dr.Kristin Neff จาก University of Texas, Austin ซึ่งเธอเป็นผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาส่วนบุคคลที่ว่าด้วย Self Compassion หรือ การเห็นอกเห็นใจตนเอง อันเป็นหลักการทำความเข้าใจตนเองเมื่อคนๆ หนึ่งต้องเจอกับความล้มเหลว… ความผิดพลาด… ความผิดหวัง และ ความทุกข์จากหลายๆ สาเหตุที่จัดการ หรือ เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้อย่างยากลำบาก ซึ่งคนๆ นั้นต้องหาทางยอมรับตนเองเพื่อให้ความเครียดลดลงเหลือน้อยที่สุด หรือ หายไปเพื่อให้ตนเองเป็นอยู่ได้ดีกว่าเดิม และ เพื่อให้กลับมามีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้เท่าเดิม หรือ ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม… ซึ่งเกือบทุกกรณีของการมองกลับมาเห็นอกเห็นใจตัวเองมากขึ้น ก็มักจะมีความย้อนแย้งเรื่อง ความเห็นแก่ตัว หรือ Selfish อันเป็นรูปแบบของการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเองทั้งที่ต้องเสียไป หรือ ควรจะได้และอยากจะได้… ซึ่งการวิจัยของ Assoc. Prof. Dr.Kristin Neff ล่าสุดกลับพบว่า การเห็นอกเห็นใจตัวเองเป็นจะช่วยยกระดับจริยธรรมประจำใจของคนๆ นั้นให้สูงขึ้นกว่าเดิม

ประเด็นก็คือ คนที่มี Self Compassion หรือ ความเห็นอกเห็นใจตนเองเป็น จะมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าคนที่ขาดความเห็นใจตนเองเป็นอย่างชัดเจน… ซึ่งคล้ายแต่ไม่เหมือนกันเลยกับ Self Esteem หรือ ความนับถือภาคภูมิใจในตนเอง ที่มีเพียงความพึงพอใจในขั้นที่เป็นผลลัพธ์ และ ยังสัมพันธ์กับการประเมินคุณค่าในตนเองจากภายนอก เช่น การยอมรับจากสังคม คำชม หรือ ผลประโยชน์ที่จับต้องได้อันเป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับนับถือจากผู้ให้ ซึ่งบ่อยครั้งได้นำไปสู่การหลงตัวเอง หรือ Narcissism และ การรับรู้ตนเองที่บิดเบี้ยว หรือ Distorted Self-Perceptions ที่ส่วนหนึ่งมาจากการขาดความเข้าอกเข้าใจตนเองที่ได้จาก “ความเห็นอกเห็นใจตนเอง” อันนำไปสู่ความพึงพอใจในตนเอง… ซึ่งก่อความภาคภูมิใจในตนเอง หรือ Self Esteem ให้ต่างออกไปจากตัวตนที่แท้

งานวิจัยของ Assoc. Prof. Dr.Kristin Neff ได้ทดลองให้กลุ่มตัวอย่างเลือกว่าจะทำงานที่ง่ายและสนุก  หรือ ทำงานที่ยากและน่าเบื่อ โดยชี้แจงก่อนเลือกว่า งานที่ไม่ถูกเลือกจะถูกมอบหมายให้คนอื่นทำ… ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเลือกงานง่ายและสนุกให้ตนเอง และ นักวิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามที่ต้องบรรยายถึง “จุดอ่อนของตนเอง” ซึ่งแต่ละคนจะเข้าใจ และ มีชุดความคิดอันเป็นความห่วงใยที่ตนได้คำนึงถึงอารมณ์ความรู้สึก อันเป็นชุดอารมณ์ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกผิด รู้สึกโกรธ และ ความอิจฉาริษยา อันเป็นแง่มุมด้านจริยธรรมที่คนๆ นั้นตระหนักรู้… ซึ่งคนที่เข้าใจจุดอ่อนตัวเองจะรู้สึกผิดกับตัวเองน้อยลงแม้จะรู้ว่าตนเองผลักงานยากและน่าเบื่อไปให้คนอื่นลับหลัง

ประเด็นต่อมาจึงมีคำถามว่า… พฤติกรรมเห็นใจตนเองในทำนองนี้เป็นความเห็นแก่ตัว หรือ Selfish หรือไม่?… 

ในทางเทคนิค… Self Compassion หรือ การเห็นอกเห็นใจตนเองจะเป็นมุมมองที่ “คำนึงถึงตนเองก่อน” อันเป็นความอ่อนโยนทางอารมณ์ที่มอบความห่วงใจจากตัวเองให้ตัวเอง… ในขณะที่ Selfish หรือ ความเห็นแก่ตัวทุกรูปแบบจะเป็นมุมมองที่ “คำนึงถึงแต่ตนเอง” โดยเฉพาะผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น ซึ่งไม่มีส่วนไหนที่เกี่ยวข้อง หรือ สัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกด้านบวกเลย

การนำข้อเท็จจริงที่ค้นพบจากงานวิจัยของ Assoc. Prof. Dr.Kristin Neff ถูกนำไปแปลงเป็นกิจกรรมพัฒนาตัวเองที่ขับเคลื่อนผ่านเวบไซต์ Self-Compassion.org ซึ่งนักวิจัย และ นักกิจกรรมบำบัดภายใต้การฝึกอบรมของ Self-Compassion.org ได้ขยายมิติของผลลัพธ์จากการเพิ่มความเห็นอกเห็นใจตนเองเป็น มีผลเชิงบวกถึงความพึงพอใจในชีวิต หรือ Life Satisfaction… สติปัญญา หรือ Wisdom… ความสุข หรือ Happiness… การมองโลกในแง่ดี หรือ Optimism… ความกระหายใคร่รู้ หรือ Curiosity… เป้าหมายในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง หรือ Learning Goals… ความเชื่อมโยงทางสังคม หรือ Social Connectedness… ความรับผิดชอบส่วนบุคคล หรือ Personal Responsibility และ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ หรือ Emotional Resilience… ในขณะเดียวกันก็มีความเกี่ยวข้องกับแนวโน้มที่ลดลงสำหรับการวิจารณ์ตนเอง หรือ Self Criticism… ซึมเศร้า หรือ Depression… ความวิตกกังวล หรือ Anxiety… การหมกมุ่นครุ่นคิด หรือ Rumination… การควบคุมสติ หรือ Thought Suppression… ความสมบูรณ์แบบอันไร้แก่นสาร หรือ Perfectionism และ ทัศนคติการกินที่บกพร่อง หรือ Disordered Eating Attitudes

ฟังดูค่อนข้างเว่อวังทีเดียว แต่ส่วนตัวผมก็คิดว่าถกเถียงคัดง้างได้ไม่ง่าย… ลองพิจารณาคลิป TED TALK ของ Assoc. Prof. Dr.Kristin Neff ดูก็ได้ครับ!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts