ในบรรดาเทคนิควิธีการ ของการจัดการเรียนการสอนในผู้ใหญ่ รวมทั้งการใช้ SDL หรือ Self Directed Learning นั้น… ในทางปฏิบัติแล้ว มักจะหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือ หรือ Instruments อย่าง Self-diagnostic ไม่ได้เลย หรืออย่างน้อยๆ ก็มีการลดรูปแบบของเครื่องมือประเมินตนเองของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักพื้นฐานตนเอง… จุดอ่อนอยู่ตรงไหนและจุดแข็งคืออะไร
ท่านกำลังอ่านบทความชุด… ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเผยแพร่เป็นชุดความรู้แบบหลายตอน อ้างอิงหนังสือชื่อ The Adult Learner: The definitive classic in adult education and human resource development ของ Malcolm S. Knowles และคณะ… และตอนนี้เป็นประเด็น แนวทางการนำใช้ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ในแนวทางที่ 4… Core Competency Diagnostic and Planning Guide และตอนนี้เป็นตอนต่อจาก How to Develop a Learning Contracts… พัฒนาพันธการเรียนรู้ ครับ
ในการจัดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่นั้น ส่วนสำคัญที่สุดคือ ผู้เรียนรู้ว่าจะเรียนอะไรไปใช้ประโยชน์อย่างไร หรือ ผู้เรียนเข้าใจวัตถุประสงค์การเรียนเป็นอย่างดีตั้งแต่แรกนั่นเอง… ซึ่งเครื่องมืออย่าง Self-diagnostic หรือ เครื่องมือประเมินเชิงวินิจฉัยตนเอง ถือเป็นด่านสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนค้นหา “จุดยืนที่ถูกต้อง” ของตัวเอง เพื่อใช้อ้างอิงกับ “วัตถุประสงค์การเรียนรู้” หรือเป้าหมายการพัฒนาทักษะความรู้นั่นเอง
ในหนังสือ The Adult Learner: The definitive classic in adult education and human resource development ของ Malcolm S. Knowles แนะนำการประเมินเชิงวินิจฉัยตนเอง หรือ Self-Diagnostic ไว้สองบทบาทคือ Facilitator Levels หรือ ระดับการอำนวยการ และ Administrator levels หรือ ระดับการดูแลจัดการ… ซึ่งการประเมินวินิจฉัยผ่านมุมมองทั้งสองแบบ ก็เพื่อค้นหาและออกแบบ Learning Journeys ให้ตัวผู้เรียนเองได้ทราบว่า… “การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในครั้งนี้… ต้องการนำความรู้ทักษะไปใช้เอง หรือ นำความรู้ทักษะไปอำนวยความพร้อมแก่คนอื่น” โดยให้ประเมินตัวเอง และ/หรือ ให้ Peers หรือ คนใกล้ตัวช่วยประเมินด้วยเครื่องมือเดียวกันก็ได้
ก่อนอื่น… เราจำเป็นจะต้องพัฒนา “เครื่องมือ หรือ Instruments” อ้างอิงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ขึ้นมาก่อน โดยออกแบบให้เป็น Rating Scales Instruments เพื่อกำหนดระดับ… เมื่อประเมิน ให้เขียนอักษร R ลงตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาไปให้ถึง และให้เขียนอักษร P ลงตำแหน่งภูมิรู้และทักษะปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ต้องการเรียนรู้การตัดต่อวีดิโอ… ขั้นการออกแบบเครื่องมือประเมินวินิจฉัย จำเป็นต้องแยกรายละเอียด เป็นข้อๆ เช่น ประเมินความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไฟล์มัลติมีเดียแบบต่างๆ… ดูภาพประกอบเลยครับ
โดยหลักการและวิธีการมีอยู่คร่าวๆ ประมาณนี้ครับ… ท่านที่เคยออกแบบหรือใช้เครื่องมือวิจัยมาก่อนน่าจะเห็นภาพทั้งหมด ซึ่งหลักสำคัญจริงๆ ของการสร้างเครื่องมือประเมินก็ไม่ต่างจากการสร้างเครื่องมือวิจัย ซึ่งข้อคำถาม หรือ กรอบการพัฒนาเครื่องมือวัดจะมีความเป็นศาสตร์และศิลป์ปนกันอยู่มาก
นักการศึกษาผู้ใหญ่ หรือนักออกแบบหลักสูตรการสอนทั้งสำหรับ Adult Learners และ Life-long Learning ที่ให้ความสำคัญกับ Self-diagnostic โดยออกแบบเครื่องมือ Self-diagnostic ที่แม่นยำต่อเป้าประสงค์ และวางใส่ Learning Journeys ให้ผู้เรียนแทนการใช้ Pretest… ในหลายกรณีสามารถสร้าง Engagement หรือพันธะกับเนื้อหาบทเรียนและวัตถุประสงค์ได้อย่างดียิ่ง
ข้อที่น่าสังเกตุก็คือ… ในหนังสือ The Adult Learner ของ Malcolm S. Knowles ให้ชื่อหัวข้อนี้ว่า “Core Competency Diagnostic and Planning Guide” ซึ่งทั้งหมดมุ่งหวังเพื่อสร้างการตระหนักในพื้นฐานของผู้เรียน… ไปพร้อมๆ กับการวางแผนเพื่อจะเรียนรู้เพิ่มเติมในวาระเดียวกัน
งานวิจัยของ Dr. Rafi Safadi จาก Academic Arab College Of Education หัวข้อ Learning from Self-Diagnosis Activities when Contrasting Students’ Own Solutions with Worked Examples: the Case of 10th Graders Studying Geometric Optics ซึ่งมองการใช้ Self-Diagnosis Activities เพื่อสร้าง Contrasting หรือหาจุดตัดให้ผู้เรียนเห็น Solutions หรือ ชุดพื้นฐานความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้และพัฒนาเพิ่มเติม
ลองเอาไปปรับใช้ดูได้ครับ!!!
อ้างอิง