Self Directedness

Self-directedness และ Computer Self-efficacy… หลักการออกแบบ Input สำหรับ CBI Design

การออกแบบ CBI หรือ Computer Based Instruction นั้น… โครงสร้างของชิ้นงานหรือผลผลิตสุดท้าย จะเกิดขึ้นจากทรัพยากรฝั่ง Input ในแกนส่งเสริมการเรียนรู้ หรือ แกน Support ใน Conceptual Model of Effective Computer-Based Instruction for Adults ของ Elwood F. Holton ที่ทุกท่านได้เรียนรู้มาพร้อมๆ กับผม

ซึ่งโมเดลฉบับเต็มของ Elwood F. Holton จะเรียกส่วนนี้ว่า… Input Units of The CBI Theory ซึ่งจะมีประเด็นให้โฟกัสอยู่ 2 ส่วนคือ Self-directedness หรือ ความสามารถในการควบคุมและปรับพฤติกรรมให้บรรลุเป้าหมาย  และ Computer Self-efficacy หรือ ความเชื่อในความสามารถของตนเองในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย 

ท่านกำลังอ่านบทความชุด… ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเผยแพร่เป็นชุดความรู้แบบหลายตอน อ้างอิงหนังสือชื่อ The Adult Learner: The definitive classic in adult education and human resource development ของ Malcolm S. Knowles และคณะ… และตอนนี้เป็นประเด็น แนวทางการนำใช้ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ในแนวทางที่ 6 จาก 6 แนวทางหลัก… และยังอยู่กับเนื้อหาในหัวข้อ Effective Technology-Based Adult Learning ที่ทิ้งค้างไว้จากตอน Computer Based Instructional Design…

Conceptual Model of Effective Computer-Based Instruction for Adults ของ Elwood F. Holton

ในงานตีพิมพ์ ปี 1997 ของ Dr. Randy Garrison จาก The University of Calgary ในหัวข้อ Self-Directed Learning: Toward a Comprehensive Model ซึ่งเป็นต้นธารของ Garrison’s Model of Self-Directed Learning ที่อ้างอิงเป็นหลักในทฤษฎีการศึกษาที่มีคำว่า Self-Directed ประกอบ… ซึ่ง Randy Garrison ได้นิยามคำสำคัญอย่าง Self-directedness เอาไว้ว่า… คือ แนวทางที่ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการรับผิดชอบส่วนตน และ การควบคุมตนเองร่วมกับกระบวนการทางปัญญา รวมทั้งบริบทในการสร้างผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่มีความหมาย

ส่วนดุษฏีนิพนธ์ของ Lucy M. Guglielmino หัวข้อ Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale ได้นิยาม Self-directedness เอาไว้ว่า… คือความสามารถของผู้เรียนในการวางแผนดำเนินการ และ ประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ของตนอย่างอิสระ

Credit: slideserve.com

นั่นทำให้ส่วนของ Self-directedness มีประเด็นย่อยที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีกราว 3 ประเด็นคือ Motivation to Learn หรือ การจูงใจตนให้เรียนรู้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพของความพยายามในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่… ประเด็นที่สองคือ Metacognitive Skills หรือ ทักษะขั้นอภิปัญญา ที่จะช่วยให้บุคคลเข้าใจและควบคุมประสิทธิภาพการเรียนรู้ โดยกลไกทางสมองอันทรงพลัง… นอกจากนั้นยังมี Metacognitive Competence หรือ สมรรถนะขั้นอภิปัญญา หรือความสามารถในการเปรียบเทียบ แยกแยะ ความรู้กับประสบการณ์การเรียนรู้ และ ปรับปรุงหรือยกระดับกระบวนการของการเรียนรู้… และประเด็นที่สามคือ Locus of Control ซึ่งเป็นความเชื่อในตนเองว่าสามารถการควบคุมผลลัพธ์โดยแรงขับภายในและภายนอกของตน

ส่วนประเด็น Computer Self-efficacy… หนังสือชื่อ Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory ของ Albert Bandura ได้อธิบายเรื่อง Computer Self-efficacy ไว้ว่า… Computer Self-efficacy คือความเชื่อของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับความสามารถของตนในการเรียนรู้กับ CBI ให้ประสบความสำเร็จ อ้างอิง Social Cognitive Theory หรือ ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจเชิงสังคมที่พัฒนาโดย Albert Bandura

โดยการรับรู้ Self-efficacy หรือ ความสามารถของตนเอง สามารถนิยามได้ว่า… เป็นความเชื่อที่คนๆ หนึ่ง เชื่อว่าตนเองมีความสามารถ และกล้าแสดงพฤติกรรมเฉพาะออกมา ซึ่งในกรณีนี้ก็คือพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์… ซึ่ง Albert Bandura ยังชี้ให้เห็นอีกว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองมีบทบาทสำคัญต่อแรงจูงใจและพฤติกรรม… 

กรอบการเตรียม Contents เพื่อสร้าง CBI จึงอ้างอิงจิตวิทยาการเรียนรู้ ในกลไก Self-directedness โดยมองผ่านมุมมองฝั่งผู้เรียน และระมัดระวังการเตรียม Contents โดยมุมมองผู้สอน ที่อาจจะไปขัดขวาง “แนวทางที่ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการรับผิดชอบส่วนตน และ การควบคุมตนเองร่วมกับกระบวนการทางปัญญา จนสร้างผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่มีความหมายให้ตัวผู้เรียน…

ถึงตรงนี้คงต้องขออภัยที่จำเป็นต้องตัดตอนบทความตอนนี้ไว้ที่ การนิยามและอธิบายความสำคัญของ Self-directedness… แม้การทำความเข้าใจหลัก Self-directedness จะเชื่อมโยงตรงไปที่ การออกแบบ CBI และเชื่อมโยงกับ Learning Goal Level และ LO หรือ Learning Outcome บนกรอบการทำงานในขั้นตอน CBI Design ก็ตาม… แต่ภาพรวมของ Conceptual Model of Effective Computer-Based Instruction for Adults ของ Elwood F. Holton ยังให้ความสำคัญกับ “External Support” อ้างอิง “Laws of Interaction” ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก

ตอนหน้ามาตามคลี่ดูการบูรณาการ External Support หรือ การสนับสนุนจากภายนอก เข้ากับ Self-directedness และ คนแคระทั้ง 7 ของ Elwood F. Holton ที่เป็นผู้ช่วยเจ้าหญิง CBI ในนาม Laws of Interaction ด้วยกันครับ

ขออภัยทั้งเรื่องสำนวนวิชาการอ่านยาก และ ประเด็นขาดตกบกพร่อง ที่บางท่านกรุณา Feedback ให้อย่างจริงใจ… ขอบคุณที่ติดตามครับ!

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts