Sensory Play และ Montessori Education… #ReDucation

ประสาทสัมผัสตั้งแต่การมองเห็นรูป ได้ลิ้มรส ได้สูดกลิ่น ได้สัมผัส และ ได้ยินเสียง ซึ่งประสาทสัมผัสทั้งห้าที่เป็นหน่วย Input ข้อมูลหลักให้สมองได้ทำความเข้าใจ เรียนรู้และสั่งการเป็นปฏิกิริยาทั้งของร่างกายและของสมองต่อเนื่องกันไป… โดยปฏิกิริยาตอบสนองทั้งในระดับสัญชาตญาณ และ ในระดับปัญญาญาณล้วนถูกขัดเกลา พัฒนา และ วิวัฒน์จากประสาทสัมผัสทั้งห้าตั้งแต่เกิดจนตายจากโลกนี้ไป

แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการที่เชื่อว่า “จำเป็นต้องทำตั้งแต่ลูกเกิด” บนรากฐานของความเชื่อเรื่องการใช้ประโยชน์จากประสาทสัมผัสทั้งห้าในเด็กให้ได้สูงสุด จึงถูกพัฒนามาเป็น “ทฤษฎีส่งเสริมพัฒนาการ” มากมาย โดยเฉพาะทฤษฎีการเล่น และ การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ หรือ Montessori ของ Dr.Maria Montessori 

การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะใช้การสังเกตพฤติกรรมเด็กรายบุคคล และ ออกแบบแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเฉพาะเด็กแต่ละคน… การสอนแบบมอนเตสซอรี่จึงไม่มี “แกนกลาง” อะไรที่ต้องบังคับหรือจูงใจจากภายนอกเป็นเป้าหมาย… การสังเกตที่ใช้ในแนวทางมอนเตสซอรี่จะทำเพื่อเรียนรู้ว่าเด็กและทารกเหล่านั้น ใช้ประสามสัมผัสทั้งห้าเพื่อพัฒนาตัวเองอย่างไร?… ซึ่งการสอนแบบมอนเตสซอรี่ถูกพัฒนาขึ้นใช้ครั้งแรกกับเด็กที่มีภาวะทุพพลภาพทางสติปัญญามาก่อน แนวทาง “การหัดอ่าน–หัดเขียน–ฝึกท่องจำ” จึงเป็นข้อจำกัดตั้งแต่แรกที่นำมาใช้เป็นหลักไม่ได้… 

ที่เหลือจึงมีการเล่น และหรือ การทำกิจกรรมเพื่อฝึกประสบการณ์ให้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก… ซึ่งวิธีการก็ไม่ได้มีอะไรยุ่งยาก นอกจากการปล่อยให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่ตัวเองสนใจ… การเรียนการสอนในแนวทางมอนเตสซอรี่จึงจัดหา หรือ ประดิษฐ์อุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการที่หลากหลายตามความสนใจ และ วุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน โดยมุ่งส่งเสริมพัฒนาการเป็นประสบการณ์ของเด็กโดยเน้นที่การกระตุ้นผ่านประสาทสัมผัส และ ทักษะชีวิต เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การใช้อุปกรณ์ในการทำงานบ้าน 

ส่วนกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์เชิงวิชาการ และ การพัฒนาสติปัญญาซึ่งสำคัญต่อการปลูกฝังในเด็กก่อยวัยเรียนนั้น… ของเล่น หรือ อุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการจะรออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และ การคิดอย่างมีระบบ มีเหตุผล เช่น ของเล่นทางคณิตศาสตร์… ของเล่นหรืออุปกรณ์ส่งเสริมทักษะภาษาและการสื่อสาร… ของเล่นและสื่อส่งเสริมการมองและสังเกตุ… ของเล่นกินได้หรือกิจกรรมทำอาหารเพื่อชิมรส… ของเล่นและอุปกรณ์ส่งเสริมการฟังและตอบโต้…  ใช้สื่อการเรียนรู้และตีความเรื่องกลิ่น เป็นต้น

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ในทางปฏิบัติจึงเป็นเรื่องการเล่นเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัส หรือ Sensory Play ด้วยการใช้ของเล่นที่แฝงกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาเอาไว้ให้เด็กได้ค้นพบและเลือกด้วยตนเอง ภายใต้การจัดการที่เหมาะสม โดยมีของใช้ในกิจกรรมมอนเตสซอรี่ หรือ Montessori Materials เป็นสื่อส่งเสริมพัฒนาที่มองอย่างไรก็เป็นของเล่นที่ออกแบบมาให้เล่น… โดยมีทักษะเป้าหมายที่ต้องการส่งเสริม และ พัฒนาเด็กวัยก่อนเรียน และ วัยอนุบาลหลักๆ ได้แก่

  • ทักษะทางภาษา 
  • ทักษะการประสานงาน
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม   
  • ทักษะการควบคุมตนเอง หรือ ทักษะด้านอารมณ์และพฤติกรรม) 
  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่
  • ฝึกสมาธิและความจำ 

Dr.Maria Montessori ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาแบบ Montessori ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องประสาทสัมผัสไว้ว่า… มนุษย์เรามีการเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสมาตั้งแต่เกิด ซึ่งการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสนี้เอง ที่จะทำให้เด็กเล็กๆ ปรับตัวกับโลกได้เร็วขึ้น มีความเข้าใจตัวเองมากขึ้น  เชื่อมโยงตัวเองกับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น และ สิ่งเหล่านี้เองคือจุดเริ่มต้นของพัฒนาการทางสมอง

วิถีประสาทที่แข็งแกร่งจะก่อตัวขึ้นในสมองที่ยุ่งเหยิงทุกขณะขณะที่เด็กๆ สำรวจและเชื่อมต่อกับโลกรอบตัวพวกเขาผ่านประสาทสัมผัส ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า… การเล่น

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts