Why

Shared Vision Skill #ExtremeLeader

วิสัยทัศน์ หรือ Vision ขององค์กรในทางเทคนิค… จะเป็นข้อความ หรือ Message หรือ สารท่อนหนึ่งที่ใช้นิยามภาพในอนาคตขององค์กร “เพื่อสื่อสาร” กับสมาชิกทุกคน… เป้าหมายทางเทคนิคของวิสัยทัศน์องค์กรทุกกรณีจึงต้องการส่วนร่วมจากทุกคนในองค์กร อันหมายถึง การตีความวิสัยทัศน์บนภาพร่าง หรือ โครงร่างเดียวกัน และ ทุกคนที่มีหน้าที่ หรือ แม้แต่หลายคนที่ขอทำหน้าที่ “สร้าง และ ทำ” วิสัยทัศน์เหล่านั้นให้เป็นจริงทุกๆ ส่วน… สำคัญมากที่ต้องสร้างทำทุกอย่างบนวิสัยทัศน์เดียวกันทั้งองค์กร

การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน หรือ มีวิสัยทัศน์เดียวกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญของการต้องมีวิสัยทัศน์ และการที่คนในองค์กรจะมีวิสัยทัศน์ร่วมกันได้ถึงขั้น “เป็นวิสัยทัศน์เดียวกัน” จึงต้องมีการสื่อสารเกี่ยวกับวิสัยทัศน์อย่างชัดเจน และ คนในองค์กรที่ต้องทำหน้าที่สื่อสาร และ อธิบายสารเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ จึงเป็นใครอื่นไปไม่ได้นอกจากผู้นำ หรือ หัวหน้า และหรือ เจ้านาย…

คำถามคือ… การสื่อสารเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ต้องทำอย่างไร?

คำแนะนำจาก Michael K. Sahota เจ้าของโมเดลพัฒนาผู้นำด้วย ​​SELF Framework และบล็อกเกอร์ประจำ shift34.com ให้คำแนะนำว่า… ผู้ที่จะทำหน้าที่สร้างการมีส่วนร่วมบนวิสัยทัศน์เดียวกันของคนในองค์กรจำเป็นจะต้อง “เข้าใจความสำคัญ” ของการที่คนทุกคนจากต่างบทบาท และ หน้าที่ความรับผิดในองค์กร จำเป็นต้องเห็นภาพอนาคตเป็นภาพเดียวกันก่อน… โดยเฉพาะความสำคัญของงานในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง ซึ่งต้องถูกจัดวาง “ให้เกิดพลังสูงสุดในการสร้างทำวิสัยทัศน์ให้เป็นจริง” ถึงขั้นที่ทุกคนรู้ได้เลยว่า “นาทีความสำเร็จขั้นอิ่มเอิบคือตอนไหน”

เหมือนทีมฟุตบอลที่ช่วยกันทำหน้าที่จนเห็นลูกฟุตบอลหลุดเข้าประตูคู่แข่ง ซึ่งเป็นเป้าหมาย ซึ่งภาพที่ทุกๆ คนในทีมเห็นเหมือนกันมานาน และ ทุกคนในทีมตั้งแต่สปอนเซอร์และผู้บริหารทีม ไปจนถึงนักฟุตบอล รวมทั้งแม่บ้านภารโรงของทีม ต่างก็ช่วยกันเพื่อให้นักฟุตบอลได้ซ้อมเต็มที่จนถึงวันแข่ง… เพื่อสร้างโมเมนต์แห่งชัยชนะด้วยการยิงลูกเข้าประตูไป และ ทุกคนได้อิ่มเอิบกับชัยชนะและความสำเร็จนั้นพร้อมกันได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องมีใครประกาศ

นอกจากนั้น… ผู้ที่จะทำหน้าที่สร้างการมีส่วนร่วมบนวิสัยทัศน์เดียวกันของคนในองค์กรยังจำเป็นจะต้องเข้าใจ “แรงจูงใจ” ซึ่งวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมจะเต็มไปด้วย “พลัง” ที่ตรงเข้าใส่ “ความกระตือรือร้น” ของสมาชิกในองค์กร

ประเด็นก็คือ… การนำส่ง “วิสัยทัศน์” ในระดับหวังผลให้เกิด “ความสำคัญ และ แรงจูงใจ” ต่อทุกคนในองค์กร หรืออย่างน้อยกับคนส่วนใหญ่ในองค์กร… ต้องอาศัยเวลาเพื่อให้วิสัยทัศน์เติบโตในความรับรู้ของทุกคนจน “ความสำคัญ” เติบโตและเด่นชัดถึงขั้นที่ทุกคนเกิด “แรงใจ” ซึ่งจะงอกงามกลายเป็น “แรงบันดาลใจ” ต่อวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน… ซึ่งวิสัยทัศน์ร่วมกันจะเปลี่ยนเป็นความสำเร็จร่วมกันในที่สุด

ส่วนเทคนิคการสื่อสาร หรือ นำส่ง “วิสัยทัศน์” โดยหวังผลให้เกิด “ความสำคัญ และ แรงจูงใจ” อย่างทั่วถึงในองค์กรนั้น… ผู้นำต้องมีทักษะการสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจและเข้าถึง “Why? หรือ ทำไม?” อันเป็นเหตุผลของการ “มีวิสัยทัศน์ และ มีเป้าหมาย” ด้วยคำตอบเดียวกัน… ซ้ำๆ จนเติบโตงอกงาม

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts