Short Form Education Video… คลิปสั้นในโลกการศึกษา #ReDucation

ปรากฏการณ์ TikTok ที่เกิดและเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยวัฒนธรรมสื่อดิจิทัลแบบ Short Form Video หรือ คลิปวิดีโอขนาดสั้น ซึ่งได้กลืนระบบนิเวศด้านโซเชี่ยลมีเดียทั้งหมดที่มีบนโลก จนได้เห็นการเลียนแบบ TikTok ของแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียทุกค่ายทั้งเก่าใหม่ใหญ่เล็ก โดยเห็นเป็นสีสันของการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดของแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น Instagram Reels…  YouTube Shorts… Google… LinkedIn… Line… และ  Pinterest ซึ่งขยับขยายให้มีฟังก์ชั่น Short Form Video เอาไว้ตรึงผู้ใช้งานกลุ่มหลักของตน ไม่ให้ “ปันเวลา และ ปันใจ” ไปให้ TikTok จนกระทบโครงสร้างรายได้จากโฆษณาออนไลน์อันเป็นเค้กชิ้นใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตยุค 2.0

ประเด็นก็คือ… Short Form Video ได้พิสูจน์ศักยภาพของการเป็น Digital Contents หรือ วรรณกรรมดิจิทัลอันทรงพลังที่สามารถเข้าถึง “เศษเวลา” ของเป้าหมายการสื่อสาร หรือ Target Audience ได้อย่างยอดเยี่ยม และ ตรงจริตมนุษย์โลกอย่างมาก… ซึ่งเวลาน้อยกว่า 1 นาทีในการเห็นคลิปที่ปล่อยออกไปก็เกินพอที่จะสร้างแรงกระทบ หรือ Impact กับเป้าหมายการสื่อสารได้อย่างเห็นผล

คำถามสำคัญในมุมมองของนักการศึกษาจึงมีว่า… ถ้าวรรณกรรมทางการศึกษา หรือ Education Contents ถูกผลิตและใช้งานแบบ Short Form Video บ้างจะได้หรือไม่?

บทความจาก SchoolCues.com ได้เปิดเผยทัศนคติของนักการศึกษายุคดิจิทัลเอาไว้ในกรณีของ Short Form Education Video ว่า… ไม่ว่าจะใช้ Short Form Video เพื่อส่งเสริมการศึกษา หรือ เพื่อสนับสนุนธุรกิจ “วิดีโอขนาดสั้น หรือ Short Form Video” สามารถส่งสารตรงไปถึงเป้าหมายด้วยแรงดึงดูดใจต่อ “ผู้ชม หรือ Audience” ได้โดยไร้ข้อสงสัย… ถึงแม้วิดีโอขนาดยาวจะสามารถบรรจุเนื้อหาเชิงบรรยายได้ครบ และ จำเป็นต้องมี และ ต้องใช้อยู่… แต่การย่อย “วรรณกรรมทางการศึกษา หรือ Education Contents” ให้สั้นกระชับ รวมทั้งการแบ่งส่วนเนื้อหาให้เล็กพอที่จะสื่อสารได้ครบถ้วนด้วย Short Form Video และหรือ Short Form Contents… การถ่ายทอดความรู้จากหนึ่งสู่อนันต์อาจเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และ ให้คุณค่าพร้อมประสิทธิภาพได้ดีกว่าที่เคยเป็นมา

ข้อมูลจาก SchoolCues.com ยืนยันว่า… Short Form Education Video กำลังเป็นที่นิยมในการนำเสนอเนื้อหาในห้องเรียน ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เป็นวิดีโอการเรียนรู้แบบเร่งด่วน และ ในรูปแบบของโมดูลการสอน หรือ Teaching Module ซึ่งหลายกรณีเป็นกิจกรรมทางการศึกษาที่ดึงดูดผู้เรียนได้ยิ่งกว่า Gamification ในหลายๆ กรณี… ซึ่ง Short Form Education Video มีศักยภาพเหนือกว่าในการโน้มน้าวให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาแบบ Peer Education ที่โดดเด่นตามปรัชญา Peeragogy ที่ผู้เรียนเปลี่ยนเป็นผู้ถ่ายทอดส่งต่อองค์ความรู้ได้ด้วย

ส่วนการใช้ Short Form Education Video ในชั้นเรียน และ ใช้ออกแบบโครงสร้างหลักสูตรดิจิทัลเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน… นักการศึกษาสาย EdTech ล้วนมองว่ามีข้อดีที่น่าสนใจหลายประการ เช่น

  1. สามารถสรุปแนวคิด และ ประเด็นสำคัญได้อย่างกระชับ 
  2. สามารถแบ่งเนื้อหาที่ซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงได้ง่ายจากทุกที่ทุกเวลาอย่างแท้จริง
  3. สามารถทำเนื้อหาแบบเฉพาะเจาะจง เชื่อมโยงกับโครงสร้างการเรียนรู้ได้ชัดเจนในระดับเดียวกับการประเมินด้วยข้อสอบ หรือ แบบฝึกหัดรายข้อ
  4. สามารถทำ Long Form Education Video ขยายเนื้อหาขั้นสมบูรณ์ได้ง่าย รวมทั้งการเชื่อมโยง Short Form Education Video เข้ากับแพลตฟอร์ม eLearning ได้ทั้ง MOOCs และ LMS
  5. สามารถ “เน้น” เนื้อหาที่สำคัญจริงๆ ให้ผู้เรียนจดจำ และ ได้ประสบการณ์ร่วมที่ลืมยาก โดยไม่ต้องบรรยายข้อมูลส่วนที่เกินจำเป็นปนไปให้สับสน
  6. ทำให้ผู้เรียนอ้างอิงเนื้อหานอกบทเรียน และ นอกห้องเรียนที่สัมพันธ์กันได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะผูกโยงกับ “ประสบการณ์ของผู้เรียน” โดยตรง ซึ่งปรัชญาการศึกษาในแนวทาง Andragogy ที่เน้นบูรณาการประสบการณ์เดิมเข้ากับองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องทุกรูปแบบ
  7. ทำให้ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากนักบรรยาย หรือ นักสอน มาเป็นครูผู้ให้คำปรึกษา และ เป็น Facilitator ได้ดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อบทบาทผู้สอน กับ วรรณกรรมทางการศึกษา หรือ Education Contents ทั้งที่ผลิตขึ้นเอง และหรือ ปรับแต่งใช้สื่อการสอนซ้ำจาก Peer Sharing 

อย่างไรก็ตาม… การออกแบบ Short Form Education Video แตกต่างจากการออกแบบ Short Form Video เพื่อใช้เป็นสื่อ Viral Marketing และ เพื่อความบันเทิงทั่วไปในเกือบทุกแง่มุม… เพราะ Short Form Education Video ยังเป็นสื่อทางการศึกษาที่ต้องคำนึงถึงภาพรวมของสาระความรู้หลักที่ต้องการถ่ายทอด… โดยคำแนะนำแรกสำหรับการทำ Short Form Education Video ควรเริ่มต้นที่การดึงเนื้อหาจากสื่อการสอนเพียง 1 ฉากทัศน์ หรือ 1 สไลด์ที่ครูอาจารย์เคยใช้บรรยาย มาดัดแปลงเนื้อหา และ วิธีเล่าเรื่องใหม่ และ ทำเป็นหนึ่งคลิปวิดีโอขึ้นมา… ซึ่งก็ควรทำออกมาให้ครบทุกสไลด์ก่อนจะเผยแพร่ภายใต้คำแนะนำในการใช้ Playlist ในการเชื่อมโยง… รวมทั้งการเชื่อมโยงกับกลไกการประเมินความรู้ทั้งก่อนและหลังเรียน… ซึ่งต้องเตรียมงานผลิตสื่ออย่างเป็นระบบ และ เหมาะควรกับเนื้อหาการสอนแบบ Asynchronous Contents

สุดท้าย… Short Form Education Video ยังถือเป็นของใหม่ในกลไกทางการศึกษา และ ยังมีอะไรให้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันสำหรับนักการศึกษารุ่นบุกเบิกที่ต้องลองผิดลองถูกไปด้วยกัน… โดยส่วนตัวผมก็ยังไม่มี Short Form Education Video แบบ Full Playlist เต็มเนื้อหาตามหลักสูตรเป็นตัวอย่างมาแนะนำแบ่งปัน… ซึ่งถ้าท่านใดมี และ ต้องการให้ช่วยเผยแพร่ หรือ สนับสนุนการพัฒนา Contents… ทักผมทาง Line ID: dr.thum เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลเบื้องต้นครับ!

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts