Skinship… แตะเนื้อต้องตัว #SelfInsight

การสัมผัสกายตั้งแต่แตะตัว โอบ กอด และ การสัมผัสร่างกายของคู่ความสัมพันธ์ถึงส่วนที่มีแต่ความสัมพันธ์ลึกซึ้งไม่กี่แบบเท่านั้นที่เป็นไปได้… ถือเป็นภาษากายที่ใช้บอกเล่าความรู้สึกระหว่างคู่ความสัมพันธ์ และ ภาวะความสัมพันธ์ของคนสองคนที่ใช้ “ภาษารัก หรือ Love Language” แบบ Nonverbal Communication หรือ สื่อสารกันโดยไม่ต้องพูดมาก… แต่มีความหมายที่ถูกรับรู้ และ ตีความได้ลึกซึ้งถึงขั้นอธิบายเป็นภาษาพูดได้ไม่หมดก็มี

ว่ากันว่า… Skinship เป็นคำที่บัญญัติขึ้นในญี่ปุ่น โดยเอาคำว่า Skin ไปผสมรวมกับคำว่า Kinship ที่แปลว่าเครือญาติ ซึ่งถูกใช้อธิบายการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างทารก กับ มารดาในช่วงเวลาที่ต้องโอบอุ้มตัวติดกัน… แต่คำว่า Skinship ในเวลาต่อมากลับถูกใช้อย่างแพร่หลายในสังคมเกาหลี เพื่อให้ความหมายถึงสัมผัสทางกายที่คู่ความสัมพันธ์ใช้สื่อแทนความรัก และ มิตรภาพระหว่างกัน ซึ่งถือเป็น “ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น” ซึ่งเป็นสายสัมพันธ์พิเศษตั้งแต่เพื่อนรักไปจนถึงคู่รัก… แต่ไม่รวมถึงการสัมผัสกายเพื่อปลุกเร้าความรู้สึกทางเพศ และ เพศสัมพันธ์

การวิจัยทางจิตวิทยาอันโด่งดังของ Harry F. Harlow นักจิตวิทยาชาวอเมริกันในต้นศตวรรษที่ 20 ผู้นำลูกลิงแรกเกิดแยกจากแม่ลิงไปเลี้ยงในกรงที่มีหุ่นห่อผ้าขนหนูนุ่มให้กอดเกาะได้อยู่มุมหนึ่ง อีกด้านหนึ่งวางจุกนมไว้กับหุ่นที่ทำจากตาข่ายโลหะ… ก่อนจะทดลองให้ลูกลิงอยู่ในภาวะหิว กลัว และ ตื่นตระหนก… ซึ่งลูกลิงจะวิ่งไปอยู่กับหุ่นผ้าขนหนูเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเวลาหิวจึงจะยอมไปเกาะหุ่นตาข่ายลวดเพื่อดูดนม… และเมื่อลูกลิงเติบโตขึ้นกับแม่ผ้าขนหนู กับ นมจากแม่ลวดตาข่ายท่ามกลางการเขย่าขวัญในวัยเด็ก ลูกลิงได้เติบโตขึ้นกลายเป็นลิงมีพฤติกรรมก้าวร้าว หวาดระแวง และ อยู่ร่วมกับฝูงลิงไม่ได้ เพราะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม และ มุ่งทำร้ายลิงตัวอื่น… การทดลองนี้ของ Harry F. Harlow เคยมีนักจิตวิทยาชื่อดังอย่าง Abraham Maslow เข้าร่วมในช่วงแรก ก่อนจะถอนตัวเพราะเป็นการทดลองที่ขัดจริยธรรมการวิจัยอย่างรุนแรง และ กลายเป็น Research Setting และ Methodology ที่ต้องห้ามจนถึงปัจจุบัน

ผลการทดลองของ Harry F. Harlow ได้กลายรากฐานของ Attachment Theory ที่นักจิตวิทยาเด็กใช้พัฒนารูปแบบการเลี้ยงดู การเอาใจใส่ทารกแรกเกิด และ ลูกหลานวัยเยาว์ เพื่อถ่ายทอด “ความรัก และ ความไว้วางใจ” ผ่านสายสัมพันธ์ที่ได้มากจากการโอบอุ้ม และ สัมผัสกายให้ถึงจิตใจ… ดั่งที่ลูกลิงโชคร้ายยืนยันให้มนุษย์เห็นอย่างชัดเจนว่าต้องการ Skinship จากมารดาเพื่อเข้าถึงความรู้สึกในรัก… ก่อนจะเติบโตไปใช้ชีวิต

ประเด็นก็คือ… Skinship เป็นพฤติกรรมระหว่าคู่ความสัมพันธ์บน “ขอบเขตพื้นที่ความส่วนตัว หรือ Personal Space” ที่กั้นอยู่ระหว่างกันกว้างมากพอสมควร… ซึ่งต้องถือว่ากว้างถึงขนาดที่ทำให้การแตะเนื้อต้องตัวกลายเป็นเรื่องไม่ง่าย และ ในหลายกรณีถือว่าเป็นการละเมิด และหรือ เป็นการคุกคามได้ด้วยถ้าการแตะเนื้อต้องตัว และ ทำ Skinship อันไม่เป็นที่ยินยอมของอีกฝ่าย

อย่างไรก็ตาม… Skinship ที่ดีงามในความสัมพันธ์มักจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของคู่ความสัมพันธ์ที่จะหาทางให้ได้แตะเนื้อต้องตัวกันเองในท้ายที่สุด… ซึ่งเป็นท้ายที่สุดที่คู่ความสัมพันธ์ต่างก็จะขยับพื้นที่ความเป็นส่วนตัว หรือ Personal Space เข้าหากันเองโดยไม่รู้ตัวก็มาก… ซึ่งขยับเข้าหากันได้ทั้งแบบที่ลดขนาดลง และ แบบที่ทับซ้อนกันจนแตะเนื้อต้องตัวกันได้… และ Skinship จำเป็นมากถ้าต้องการสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืน!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts