kid yoga

Sleep, Diet and Exercise… กิจกรรมกอบกู้ทัศนคติ

ประเด็นใหญ่สุดที่หนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ของ Steve Oakes และ Martin Griffin รวบรวมแนวทางมากมายใส่ไว้ในผลงานชิ้นสำคัญของพวกเขาก็คือ… การพัฒนาคุณลักษณ์ของผู้เรียนให้มีบุคลิกภาพที่ประกอบด้วย Vision หรือวิสัยทัศน์… Effort หรือความเพียรพยายาม… Systems หรือระบบ… Practice หรือการฝึกฝนลงมือทำ และ Attitude หรือทัศนคติที่ถูกต้อง ซึ่งมีชื่อเรียกโมเดลนี้ว่า VESPA Model จากอักษรหน้าของคำทั้งห้า

หลายตอนในหนังสือ The Student Mindset มักจะย้ำและพูดถึง ความเพียรและการฝึกฝน หรือ Effort and Practice เพื่อใช้พัฒนาตนให้เป็นคนมีอุปนิสัยลงมือทำจนประสบความสำเร็จ… ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำหลายครั้งอย่างสม่ำเสมอเหมือนการฝึกซ้อมของนักกีฬาโอลิมปิกที่ต้องซ้อมตามตารางด้วยวินัยขั้นสุด

แต่การจะผลักดันให้คนๆ หนึ่งทำอะไรซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะการฝึกฝนซักซ้อมเพียรทำจนเกิดผลในระยะยาวนั้น ต้องการมากกว่าแค่รู้ว่า… ต้องฝึกอย่างไร และหรือ ทำอย่างไรจึงจะเพียรพยายามได้ไม่ท้อถอย โดยเฉพาะเป้าหมายระยะยาวระดับวิสัยทัศน์ หรือ Vision ซึ่งต้องทำและสร้างหลายอย่างเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายนั้น… และสิ่งที่จะ “ประคองให้การฝึกฝนซักซ้อมเพียรทำ” เกิดขึ้นจนไปถึงเป้าหมายระดับวิสัยทัศน์ ดังกล่าว ต้องการทัศนคติ หรือ Attitude ที่ไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายบนวิสัยทัศน์นั้นเป็นอย่างน้อย ซึ่งถ้าเป็นทัศนคติที่เหนี่ยวนำเข้าหาเป้าหมายบนวิสัยทัศน์นั้นด้วยแล้ว… ก็จะยิ่งส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพของการบรรลุเป้าหมายเกิดขึ้นได้ราบรื่นกว่า

หนังสือจากผลงานของสองนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2019 คือ Abhijit V. Banerjee และ Esther Duflo ชื่อ Poor Economics หรือ เศรษฐศาสตร์ความจน ได้ตีแผ่ “ทัศนคติ หรือ Attitude” จากตัวแปรสำคัญมากมายที่เกี่ยวข้องกับความยากจน ที่กลายเป็นวงจรความยากจนวนเวียนจนทำให้นักสังคมศาสตร์ทั่วโลก “ยอมทบทวนนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนครั้งใหญ่ทั่วโลก” เช่น ทัศนคติที่คนมีฐานะปานกลางขึ้นไปมองคนหรือครอบครัวยากจนว่าเรียนไม่เก่ง รู้น้อย หรือขี้เกียจ ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่คนจนทั่วโลกส่วนใหญ่ ต่างดิ้นรนเพื่อปากท้องจนทัศนคติต่อการหาอาหารให้เพียงพอ กลายเป็นเรื่องหลักเรื่องเดียวที่คนยากจนทั่วโลกโฟกัสจนลืมตัวแปรอื่นๆ ที่จะทำให้พวกเขา “ดิ้นรนหาอาหารเลี้ยงปากท้องได้มีประสิทธิภาพกว่า” โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพที่มีรายได้เพียงพอต่อพื้นฐานชีวิตอย่างเรื่องอาหาร… ตัวอย่างทัศนคติครอบครัวยากจนมีลูกหลายคน ยอมทำงานหนักทั้งบ้านเพื่อส่งลูกและพี่น้องที่เป็นความหวังหนึ่งคนไปเรียนหนังสือ เพื่อกลับมาช่วยครอบครัวพี่น้องในภายหลัง ซึ่งในสังคมไทยก็มีตัวอย่างแบบนี้มากมาย… ทั้งที่ครอบครัวแบบนี้มีอยู่มีกินมากขึ้นจากการทำงานช่วยเหลือกันในครอบครัวมากกว่า รอคนๆ เดียวจบการศึกษาได้งานดีมาอุ้มชูปากท้องทุกคนในครอบครัวต่อ… งานวิจัยเบื้องหลังหนังสือจากผลงานรางวัลโนเบลเล่มนี้ ได้ค้นพบ “ทัศนคติ” ของคนยากจนที่เลือกใช้ชีวิตตาม “ความเชื่อและแรงกระตุ้นจากสัญชาตญาณโดยสมองส่วนกลาง” อีกหลายกรณี ที่ย้อนแย้งแบบรู้ดีแต่ไม่มีแรงต้านที่จะทำ เช่น เลือกอาหารอร่อยปากแทนอาหารมีคุณค่าต่อสมองและสุขภาพร่างกาย… กินดื่มเฮฮาฉาบฉวยมากกว่าจะพัฒนาคุณภาพการพักผ่อนและออกกำลังกาย… ซึ่งคนยากจนทั่วโลกรู้ดีว่า อาหารดี พักผ่อนเพียงพอและออกกำลังกายสม่ำเสมอดีกับตัวเองในระยะยาว… แต่ด้วยทัศนคติที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง จึงโน้มน้าวตัวเองไปทำสิ่งที่ถูกต้องกว่าไม่ได้

ในหนังสือ The Student Mindset ก็ให้ความสำคัญกับทัศนคติอย่างมาก ไม่ต่างกันกับแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนที่ถูกเสนอใหม่โดย Abhijit V. Banerjee และ Esther Duflo ผ่านหนังสือ Poor Economics และงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระดับรางวัลโนเบลของนักเศรษฐศาสตร์ทั้งสอง ที่มุ่งสร้างความเข้าใจระดับเปลี่ยนทัศนคติทั้งของคนจนและคนที่อยากช่วยคนจน…

ในหนังสือ The Student Mindset ได้เสนอให้เริ่มต้นที่การปรับพฤติกรรมพื้นฐาน 3 สิ่ง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการปรับทัศนคติที่ถูกต้องให้คนส่วนใหญ่ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้โน้มเข้าหาเป้าหมายที่ถูกต้องกว่าก็คือ… การหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นกิจวัตรเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ… อีกสิ่งหนึ่งคือการ “ใส่ใจเรื่องอาหารให้พอดี และดีพอต่อร่างกาย” ซึ่งสะท้อนผ่านรูปร่างและดัชนีมวลกายที่เหมาะสม โดยคำแนะนำส่วนใหญ่ในกรณีอาหารก็คือ การควบคุมอาหาร หรือ Diet … และสิ่งสุดท้ายที่สำคัญคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย

ประเด็นก็คือ… คนเราโดยปกติต้องกินอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว ก็เพียงแค่ใส่ใจเพิ่มขึ้นให้ได้อาหารที่มีคุณค่าสูงสุดต่อตัวเอง น้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ยิ่งไม่ดี… ส่วนการนอนโดยปกติเราก็ต้องนอนหลับพักผ่อนกันทุกวันอยู่แล้ว แต่คุณภาพการนอนที่ประกอบเป็นสุขภาวะที่ดีระหว่างนอนหลับ ก็ควรใส่ใจและปรับแต่งสภาพแวดล้อมแสงเสียงและอุณหภูมิให้การนอนหลับพักผ่อนเกิดประสิทธิภาพที่เจ้าตัวรู้ดีอยู่แล้วว่า ตื่นนอนอย่างสดชื่นนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งหลายความเชื่อในปัจจุบันเชื่อว่า คุณภาพชีวิตดีๆ ในแต่ละวันเริ่มต้นตั้งแต่ตอนเราเข้านอน ไม่ใช่ตอนตื่นนอนอย่างที่เคยเชื่อกันมา… ส่วนประเด็น “การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ” เน้นว่า “อย่างสม่ำเสมอ” ซึ่งไม่ง่ายสำหรับคนส่วนใหญ่ที่ใจยังไม่พร้อม แต่ถ้าใจพร้อมก็คงไม่ยากเท่าไหร่เช่นกัน

และประเด็นสำคัญก็คือ… เมื่อใครก็ตามที่ต้องการแรงผลักดันเข้าหาวิสัยทัศน์สวยงามที่วาดไว้อยู่ไกลๆ สิ่งที่ควรทำในเบื้องต้นคือตรวจดูทัศนคติของตัวเองว่า… วิสัยทัศน์นั้นเป็นเป้าหมายพร้อมทัศนคติส่วนตัวที่จะพาท่านไปถึงแน่ แบบมั่นใจได้ว่า ท่านเพียงแค่ต้องพยายาม หนึ่ง สอง สาม สี่ รับประกันว่ามีลุ้นระดับไม่ได้มากก็ได้น้อย… หรือเป็นเพียงวิสัยทัศน์ลมๆ แล้งๆ ฝันๆ เท่านั้น… แต่ตำรามากมายยืนยันตรงกันว่า การหันกลับมา “ปรับปรุงส่วนของตัวเอง” โดยเริ่มต้นที่ปรับทัศนคติเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนเพียงพอและออกกำลังกายเหมาะสม เป็นจุดเริ่มต้นไล่ล่าฝันลมๆ แล้งๆ ให้มาอยู่ในกำมือได้เช่นกัน… ลองดูก็ไม่เสียหายอะไรไม่ใช่หรือ!!!


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ

  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset
  10. Creativity Organizer for VESPA Mindset
  11. Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
  12. Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
  13. Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
  14. Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
  15. Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น
  16. Adapting Testing and Performing… ปรับเปลี่ยน ลองเรียนและลุยเลย
  17. Information + Experience = Knowledge… สูตรเรียนเก่งแบบ VESPA Mindset
  18. Independent Effort Activity Design… ออกแบบกิจกรรมที่ต้องพากเพียรเรียนรู้และฝึกฝน
  19. K-SPA… เครื่องมือฟันฝ่าอุปสรรค
  20. Problem Solving Cycle for VESPA Mindset
  21. The Art of Reactions to Feedback… ศิลปะการรับมือกับเสียงติชม
  22. The Dip… ช่วงเวลาอันอ่อนไหวเปราะบางต่อความสำเร็จ
  23. Dalio’s 5 Step Process for VESPA Mindset
  24. The 4 Disciplines of Execution for VESPA Mindset
  25. Giving Up Habit… อุปนิสัยท้อถอยเลิกลา
  26. 3 R’s Of A New Habit… 3 ตัวช่วยสร้างนิสัยให้เป็นคนเพียรพยายาม

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts