Small Success

Small Wins, Small Success… คุณค่าของความสำเร็จเล็กน้อย #ExtremeLeadership

Professor Emeritus Dr.John P. Kotter ได้พูดถึง Small Win เอาไว้ในหนังสือ Leading Change ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1995 โดยเสนอให้ผู้นำองค์กรเลือกใช้กลยุทธ์ Small Win หรือ ชัยชนะเล็กๆ เป็นกลยุทธ์จูงใจทุกคนในองค์กรให้ช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลง และ Small Win ก็ได้กลายเป็นกลยุทธ์หลักในการใช้เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management อย่างกว้างขวางทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน

ชัยชนะถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของความสำเร็จที่คนส่วนใหญ่เข้าใจตรงกัน แต่ก็มีอยู่ไม่มากที่จะยกย่อง หรือ ให้ความสำคัญกับชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ หรือ ความสำเร็จแบบที่ผู้ใหญ่ลุ้นให้เด็กหัดเดินเหยียดยืนแล้วยกขาขยับไปข้างหน้า… คนส่วนใหญ่จึงมองหาแต่ความสำเร็จและชัยชนะที่เห็นชัดเจนแบบวิ่งมาราธอนเร็วและอึดมากกว่า ซึ่งมักจะเป็นเรื่องใหญ่ๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ กับใคร และ คนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกว่าจะมีชัยชนะหรือความสำเร็จอะไรเกิดขึ้นกับตัวเองมายาวนานนับสิบๆ ปีก็มี

การให้ความสำคัญกับชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารในยุค “แชร์ไว” ซึ่งมีข้อมูลความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่มโหฬารของเพื่อนร่วมรุ่น หรือ คนมีชื่อเสียงที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และ ดันมีคนแชร์มาให้ถอนหายใจใส่ตัวเองมากกว่าจะปลาบปลื้มวันแล้ววันเล่า… ภาพรวมความสำเร็จในทำนองนี้จึงทำให้คนส่วนใหญ่คุ้นชินแต่กับความสำเร็จและชัยชนะโดยภาพของคนเพียงไม่กี่คนที่ยากจะลอกเลียนได้เท่านั้นเป็นแบบอย่าง

บทความบน inc.com โดย Marcel Schwantes ชี้ว่า… ผู้นำองค์กรในยุคนี้จำเป็นจะต้อง Value the Small Wins หรือ ให้คุณค่ากับความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ของทุกคนในองค์กร โดยควรถอยห่างออกมาจากความพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่คาดหวังแรงกระเพื่อมถึงความสำเร็จชิ้นโต หรือ ความสำเร็จที่มีมูลค่าสูง… ซึ่งมักจะต้องการทรัพยากรมากมายในการสร้างความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะทรัพยากรเวลา ที่ต้องเสี่ยงกับสถานการณ์ VUCA หรือ ความผันผวนไม่แน่นนอนที่ซับซ้อนคลุมเครืออย่างในปัจจุบัน

ส่วนการจัดการองค์กรผ่านกลยุทธ์ Small Wins ก็ไม่ได้มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนไปกว่าการวางแผนโดยแยกเป้าหมายเป็นส่วนเล็กๆ ให้ได้มากที่สุด ก่อนจะกำหนดตัวชี้วัดให้แต่ละส่วนในแผน แล้วจึงมอบหมายแจกจ่ายให้คนในองค์กรรับผิดชอบไปดำเนินการ… ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็ควรกำหนดให้มี Rewards หรือ รางวัลสำหรับชัยชนะต่อเป้าหมายย่อยๆ เหล่านั้น เพื่อส่งสัญญาณให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจตรงกันถึง “Culture หรือ ธรรมเนียม” การให้คุณค่าความสำเร็จส่วนเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้นได้อีกมาก… เมื่อสะสมรวมกันได้มากพอ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts