ปราชญ์ยุคกลางช่วงปี 1287–1347 นาม William of Ockham ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎี Ockham’s Razor หรือ Occam’s Razor ในฐานะปรัชญาวิทยาศาสตร์ว่าด้วย “หลักแห่งความตระหนี่ หรือ Principle Of Parsimony” อันเป็นปรัชญาพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังการหาคำตอบ และ สร้างทฤษฎีใหม่ๆ ของนักวิทยาศาสตร์มากมาย เพื่อใช้ในการคัดเลือกทฤษฎีที่เหมาะสม… ตรงกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกต หรือ ทดลอง… โดย Occam’s Razor เสนอแนะให้เลือกแนวทางที่ง่ายโดยหลีกเลี่ยงการสร้างข้อสมมุติฐานเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น เพื่อปกป้องทฤษฎีใดๆ ให้ซับซ้อนเท่าที่จำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือยองค์ประกอบ… ตัวแปร และ ปัจจัยแวดล้อมเกินจำเป็น
สำหรับนักบริหารและนักกลยุทธ์ซึ่งคลุกคลีอยู่กับปัญหา และ ทางแก้ไขปัญหา… Occam’s Razor ถือเป็นหนึ่งในปรัชญาฐานในการคิดค้นเทคนิคกลยุทธ์สำหรับปัญหาและเป้าหมายใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน รวมทั้งการหา “กลยุทธ์ที่ง่ายกว่า” ซึ่งมีองค์ประกอบที่บ่งชี้ความง่ายดังนี้คือ
- Everyone Understands It หรือ ใครๆ ก็เข้าใจได้
- Everyone Buys In หรือ ใครๆ ก็เห็นด้วยและยอมรับ
- Your Customers Get It หรือ ลูกค้าอยากได้
- Easier To Duplicate A Simple Model Than A Complex One หรือ ทำซ้ำได้ง่ายกว่าแบบที่ซับซ้อน
- With Direct Initiatives, Results Are Easier To Measure หรือ เริ่มต้นได้ไม่ยากและให้ผลลัพธ์ที่ประเมินได้ง่าย
- Mastery Is More Difficult With Intricate Strategies หรือ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมากขึ้นถ้าใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนกว่านี้
ประเด็นก็คือ… ในปัญหาทั้งหมดที่ต้องการทางออก และ วิธีจัดการนั้น ถ้าเลือกใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วยการตั้งสมมุติฐานง่ายๆ ขึ้นมาก่อน แล้วต่อด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้น ทดลอง และ สังเกตุอย่างเป็นระบบ… สิ่งที่ได้ตั้งแต่ “กระบวนการไปจนถึงผลลัพธ์” ล้วนมีประโยชน์ในการสร้างกลยุทธ์ได้หลากหลายทางเลือกเสมอ… โดยทางที่ควรเลือกก็คือทางที่ง่าย ซึ่งไม่มีอะไรยากแล้วเมื่อถึงขั้นนี้!
References…